แหล่งท่องเที่ยววัดศรีดาราม บ้านคำสีดา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
วัดศรีดาราม หมู่ที่ ๓ ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

เป็นอีกแหล่งพุทธบูชาสิ่งลี้ลับของพญานาค ที่ชาวบ้านคำสีดา ให้ความศรัทธาและมีความเชื่อว่า พญานาคให้ความอุดมสมบูรณ์แก่หมู่บ้าน น้ำในสระไม่เคยแห้ง เพราะมีน้ำพุดขึ้นมาจากบ่อ ขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้น้ำในสระไม่เคยแห้ง โดยผู้คนมากราบไหว้ และฝันว่ามีพญานาคยาวจากท้ายหนองมาถึงวัด โดยมีคุณหมอคริต ชาวบ้าน และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างองค์พญานาคขึ้นมา ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีความยาว ๑๓๑ เมตร
คำขวัญ บ้านคำสีดา
" คำสีดา แดนศักดิ์สิทธิ เนรมิต แหล่งน้ำคู่บ้าน ศาลเจ้าคำสีดา นำพาสู่ความสามัคคีร่มเย็น "

ลักษณะเด่น

เป็นสถานที่เที่ยว สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การ มาทำบุญ เป็นอย่างมากพอเข้ามาถึงวัด ก็จะเจอกับพระพุทธรูป ตั้งเรียงกัน อย่างสวยงาม และ จุดเด่นภายในวัด ก็จะเจอกับ องค์พญานาค ๙ เศียร องค์ใหญ่ ลักษณะคล้าย กำลังเลื้อยขึ้นจากหนองน้ำ ความยาว ๑๓๑ เมตร ตั้งลอยอย่างเด่นสง่า ที่ใกล้จะแล้วเสร็จ และภายในวัด ก็ยังมีศาลเก่า เช่น ศาลพ่อปู่ศรีสุทโธนาคราช และ ศาลอื่นๆ

วัดคือสถานที่

วัด ไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ สถานที่ใดๆ ย่อมเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ หากใครเข้าไปสัมผัสถึงความร่มรื่น สะอาด สงบ คามน่าเคารพกราบไหว้ของพระรัตนตรัย ทั่วบริเวณ ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งการประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมาจับใจ พร้อมที่จะละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบความเพียรอย่างเคร่งครัด เพื่อทำใจให้ผ่องใสทันที

เป้าหมายแท้จริงในการสร้างวัด

วัดทั้งน้อยและใหญ่ ไม่ว่าจะสร้าง ณ แห่งหนตำบลใด ต่างมีเป้าหมายหลักๆ ๔ ประการ คือ

๑. เพื่อเป็นสถานที่สร้างพระภิกษุดี มีคุณภาพให้พระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัย และทำการอบรมสั่งสอนประชาชนไปพร้อมๆกันด้วยโดยย่อ วัดคือสถานที่สร้างพระให้เป็นพระดีตามพุทธประสงค์

๒. เพื่อเป็นสถานที่สร้างประชาชนในชุมชนนั้นๆ ให้เป็นพุทธศาสนิกดีทั้งหญิงและชาย โดยอาลัยพระภิกษุในวัดนั้นๆ ที่ได้รับการอบรมดีแล้ว ช่วยเมตตา สั่งสอน อบรมให้ โดยย่อคือเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมในพระพุทธศาสนาให้แก่มหาชนทุกระดับ รวมทั้งพระภิกษุเองด้วย

๓. เพื่อเป็นสถานที่ประพฤติปฏิบัติธรรมร่วมกันทั้งชุมชน ตั้งแต่ให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ เจริญภาวนา ฯลฯร่วมกัน ตลอดจนร่วมประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชาเข้า-ออกพรรษา เป็นต้น

๔. เพื่อเป็นสถานที่ปลูกฝังวัฒนธรรมการสร้างบารมีร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นของชาวพุทธอย่างทั่วถึงพร้อมเพรียงทั้งประเทศ โดยยึดหลักการปฏิบัติตนตามหน้าที่ประจำทิศ ๖ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดมิตรแท้ หรือพลเมืองดี พร้อมๆกันทั้งประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลวัดเป็นรากฐานการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ประจำท้องถิ่นนับตั้งแต่โบราณกาลมา

ศาสนกิจเหล่านี้ ยิ่งมีมากยิ่งทำมากเท่าใด ยิ่งเป็นเหมือนหลักประกันความร่มเย็นเป็นสุขของครอบครัว ชุมชน สังคมในท้องถิ่นนั้นๆ มากเท่านั้น เพราะเมื่อความรู้เกิดขึ้นกับคนดีแล้ว ย่อมแสดงว่า บ้านเมืองย่อมมีแต่ "มิตรแท้" มากกว่า "มิตรเทียม" มีคนใจบุญมากกว่าคนใจบาป

เมื่อท้องถิ่นทุกแห่งมีแต่มิตรแท้อยู่เป็นจำนวนมาก อาสาสมัครที่จะทำงานด้วยความเสียสละเพื่อท้องถิ่น ด้วยหัวใจรักบุญกุศลย่อมมีอยู่จำนวนมาก ความทุ่มเทชีวิตจิตใจด้วยความรักบ้านเกิดเมืองนอน จึงกลายเป็นแรงผลักด้นให้เกิดการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง มีทั้งความเจริญก้าวหน้าในการประกอบสัมมาอาชีพ และความเจริญร่มเย็นเป็นสุขในการอยู่ร่วมกันด้วยศีลธรรมประจำใจ

วัดในท้องถิ่นใดที่มีศักยภาพในการสร้างคนในชุมชนให้เป็น"มิตรแท้" วัดแห่งนั้นย่อมกลายเป็น "ศูนย์กลางการสร้างอาสาสมัครพัฒนาท้องถิ่น" ไปโดยอัตโนมัติ

เมื่อสังคมได้รับประโยชน์จากการสร้างมิตรแท้ของวัดเพิ่มมากขึ้นเท่าใด วัดจึงไม่ได้มีฐานะอยู่แค่เป็นโบราณสถานที่เก็บของเก่าประจำท้องถิ่นเท่านั้น แต่กลายเป็น "ศูนย์กลางสถาบันการศึกษาประจำท้องถิ่น" ไปโดยอัตโนมัติ โดยท่าหน้าที่วางรากฐานศีลธรรมลงไปในจิตใจคนในท้องถิ่นนั้นๆ ในทุกระดับการศึกษาทุกระดับฐานะความเป็นอยู่ เพื่อให้คนในท้องถิ่นนั้นๆประกอบสัมมาอาชีพด้วยความสงบ ต่างดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นคนดีของสังคม พร้อมที่จะโอบอุ้มหอบหิ้วกันและกันป่าเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม บังเกิดเป็นบุญกุศลต่อๆ ไป

วัดเป็นรากฐานการพัฒนาบ้านเมือง

ชาวพุทธในยุคก่อน แม้ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ท้นสมัยเหมือนยุคนี้ แต่จับประเด็นความเจริญรุ่งเรืองของสังคมได้ถูกต้องว่า การพัฒนาที่แท้จริงต้องเริ่มจากการพัฒนาใจของประชาชนส่วนใหญ่ให้ละอายความชั่ว กลัวความบาป รักบุญกุศลยิ่งด้วยชีวิต จึงใช้วัดเป็นศูนย์กลางการปลูกฝังศีลธรรมให้กับประชาชนทั้งบ้านทั้งเมือง

ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะท่าให้วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน ประจำท้องถิ่น ประจำประเทศแล้ว ยังทำให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในยุคนั้น กลายเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ประจำทวีปขึ้นมาทันที

ทั้งนี้ เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ในบ้านเมืองเป็น "ผู้มีศีลธรรม"แล้ว แม้มิใช่ญาติโดยสายโลหิต ย่อมกลายเป็น "มิตรแท้" ต่อกัน เมื่อผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองเป็น "มิตรแท้" ต่อกันโดยญาติธรรมแล้ว ย่อมทำในสิ่งที่ตรงกับ "หัวใจการศึกษา" ที่กล่าวว่า

"ความรู้ที่เกิดขึ้นกับคนดีนั้น ย่อมมีแต่นำความเจริญรุ่งเรืองมาให้ เพราะมีแต่จะใช้ ความรู้ไปในทางที่ถูกที่ควร"

ผลที่ตามมาก็คือ บรรยากาศของการส่งเสริมศีลธรรม ย่อมเกิดขึ้นทั่วบ้านทั่วเมือง อบายมุข ซึ่งเป็นอาชีพที่หากินบนความวิบัติของผู้อื่น จะไม่ถูกปล่อยให้ระบาดท่วมบ้านท่วมเมืองเป็นอันขาด

ความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและความร่มเย็นด้านศีลธรรมได้เจริญรุ่งเรืองไปคู่ก้น ผู้คนก็มีศีลมีธรรม มีปกติยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายไหว้ก่อน ไม่หน้าหงิกหน้างอใส่ก้น ไม่คิดจ้องจะกินเลือดกินเนื้อกันวัดวาอารามก็ไม่ถูกทิ้งร้างมีแต่สร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอกับประชากรในหมู่บ้าน

การเลี้ยงชีพของคนส่วนใหญ่ในยุคนั้น ก็ไม่เอารัดเอาเปรียบก้น มีแต่สงเคราะห์ช่วยเหลือก้น การจัดการระบบเศรษฐกิจของบ้านเมือง ก็วางแผนเพื่อความอยู่รอดร่วมก้น ไม่ใช่แบบปลาใหญ่ไล่กินปลาเล็ก ประชาชนทั้งประเทศก็มีความรักก้นเหมือนพี่น้อง เพราะต่างก็เต็มใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ยินดีที่จะอิ่มด้วยกันอดด้วยกัน และตังใจไปสวรรค์อย่างพร้อมหน้าพร้อมตาก้น

การเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนรวมในบ้านเมืองนี้จึงเป็นสิ่งที่ทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่การขู่เข็ญบังคับ เพราะทำด้วยความรักความห่วงใยพี่น้องร่วมชาติของตน และไม่ใช่เป็นการทำเพียงลำพังคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการช่วยกันคนละไม้คนละมือ "ความสามัคคี"จึงเกิดขึ้นเป็นปีกแผ่นทั้งบ้านทั้งเมืองโดยมีสายบุญ สายธรรมเป็นเครื่องร้อยรัดมัดใจ

บ้านเมืองที่มีแต่ความสามัคคีนั้น จะเกิดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อมี"วัดเป็นศูนย์กลางการสร้างมิตรแท้ให้กับสังคม" เพราะฉะนั้น วัดที่เป็นวัดตรงตามพุทธประสงค์ยิ่งมีจำนวนมากเท่าใดยิ่งเป็นการเพิ่ม "สถาบันการศึกษา ด้านศีลธรรมสำหรับสร้างมิตรแห้ให้แก่บ้านเมือง" มากเท่านั้น

วัดเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง

ด้วยเหตุที่วัดเป็นทั้งรากฐานการศึกษาประจำท้องถิ่นและรากฐานการพัฒนาบ้านเมืองนี้เอง วัดจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านจิตใจ

บ้านเมืองใดที่มีอบายมุขระบาด บ้านเมืองนั้นย่อมมีแต่ความแตกแยก ประชาชนย่อมไร้ศิลธรรมแม้อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ก็ประพฤติต่อกันเยี่ยงศัตรู อาณาจักรใหญ่ๆ จึงถึงกาลล่มสลายหายไปจากแผนที่โลกครั้งแล้วครั้งเล่า

ดังนั้นการสร้างวัดทั้งน้อยและใหญ่ทั้งใกล้และไกลบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรมตามอริยประเพณีจึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธทุกคนต้องศึกษา ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะได้ช่วยกันสร้าง-พัฒนา-รักษาวัดประจำท้องถิ่น ให้เป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมที่เหมาะสมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบครัว ชุมชน สังคมในท้องถิ่นนั้นๆ มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ลูกหลานชาวพุทธในย่านนั้นๆ ก็จะได้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีศีลธรรมประจำใจย่อมนำความรู้วิชาการทางโลกไปสร้างความดีให้เกิดความเจริญกัาวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และความเจริญรุ่งเรืองของศีลธรรมในจิตใจ โดยไม่ยอมให้สถานประกอบอบายมุขทั้งหลายเป็นแหล่งเพาะคนพาล ซึ่งเป็นต้นตอแห่งมิตรเทียมลอยหน้านำความวิบัติเสียหายมาทำลายความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของท้องถิ่นและประเทศชาติในภายหลังนั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัดศรีดาราม บ้านคำสีดา หมู่ที่ ๓ ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เป็นสถาน

ที่เที่ยว สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การ มาทำบุญ เป็นอย่างมาก ไม่ไกลจาก อ.บ้านดุง เพียง ๒๑ กิโลเมตร อยู่ติดถนนสาย บ้านดุง-หนองเม็ก ที่ ( วัดศรีดาราม บ้านคำสีดา ต.นาชุมแสง อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี )

ความร่วมมือกับ กศน.

- วัดศรีดาราม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณสถานโบราณวัตถุ ที่ขึ้นทะเบียนแหล่งเรียนรู้กับ กศน.ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝน จังกวัดอุดรธานี

ข้อมูล เนื้อหา เรื่องราว

โดยนายธนา บุญชาญ มคทายกที่วัดศรีดาราม / คณะครู กศน.ตำบลนาชุมแสง

เรียบเรียงโดย คณะครู กศน.ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ คณะครู กศน.ตำบลนาชุมแสง / นายนา บุญชาญ

ข้อมูลTKP อ้างอิง