ชุมชนจีน บ้านนาบอน
นาบอน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ที่แปด”
นาบอน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ที่แปด” ขณะนั้นตำบลนาบอนยังไม่มีสถานีรถไฟเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๘ มีชาวจีนฟุโจวจากรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย กลุ่มหนึ่ง นำโดย ลิ่งจื้อป้อ ลาวฮวาลิ่ง พ้างมิงอู้ กงกวางจั๊ว โดยสารรถไฟจากมาเลเซียมาลงที่สถานีรถไฟทุ่งสง ค้างที่ทุ่งสง ๑ คืน จากนั้นต่อรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟคลองจัง และเดินเท้ามาตั้งชุมชน “ที่แปด” คือสะพานรถไฟจากทุ่งสงถึงนาบอน เป็นสะพานที่แปด และต่อมาได้เรียกชื่อตามหมู่บ้านนาบอน ว่า “ตลาดนาบอน”
นาบอนเป็นคำศัพท์ที่เรียกพื้นที่ลุ่มระหว่างควนที่มีต้นบอนขึ้น ซึ่งคนสมัยก่อนทำนาเรียกโดยทั่วไปว่า “นาใน” หรือ “นาบอน”
เป็นเวลากว่า 83 ปีที่ชาวจีนฮกจิว ที่มีถิ่นฐานเดิม ณ นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เดินทางอพยพจากประเทศจีนมารับจ้างทำเกษตรกรรมในเมืองซิเทียวัน (Sitiawan) รัฐรเประ (Perak) ประเทศมาเลเซียประมาณปี พ.ศ.2444 จนเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2468 มีชาวจีนฟุโจวจากรัฐเประกลุ่มหนึ่งนำโดย ลิ่งจื้อป้อ ลาวฮวาลิ่งพ้างมิงอู้ กงกวางจั๊วโดยสารรถไฟจากมาเลเซียมาลงที่สถานีรถไฟทุ่งสงค้างที่ทุ่งสง 1 คืน จากนั้นต่อรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟคลองจังและเดินเท้ามาตั้งชุมชนที่แปดคือสะพานรถไฟจากทุ่งสงถึงนาบอนเป็นสะพานที่แปดและต่อมาได้เรียกชื่อตามหมู่บ้านนาบอนว่า “ตลาดนาบอน” ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นชาวจีนกลุ่มท้าย ๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานชุมชนในประเทศไทยจากเสื่อผืนหมอนใบมาสู่ความยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน
ยุคหลัง ๆ เมื่อคนจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาทำมาหากินกันคนไทยมักขายที่สวนไปหาที่ทำนาเมื่อยางพาราเข้ามาในเมืองไทยปลูกยางพารากันเป็นส่วนใหญ่ จึงได้สถิติเป็นเมืองปลูกยางพารามากที่สุดในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2508-2516 คำว่า “นาบอน” จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
วิถีชุมชนที่ผูกพันอยู่กับการทำสวนยางพารามีการสานสัมพันธ์กับชาวจีนชุมชนใกล้เคียงผ่านการแต่งงานมีการตั้งสมาคมจุงซัน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารภายในชุมชนมีการตั้งโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาในชุมชนและต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของรัฐไทยที่มีต่อชาวจีนในประเทศภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยเฉพาะการใช้นโยบายชาตินิยมสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ชุมชนนาบอนถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเมื่อสุขาภิบาลนาบอนได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลนาบอนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหารรวมถึงการจัดตั้งชุมชนย่อยในเขตเทศบาลโดยแบ่งตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ คือ ชุมชนตลาดบนและชุมชนตลาดล่างโดยมีทางรถไฟเป็นเส้นแบ่ง
แม้จะถูกแบ่งด้วยเขตการปกครองทว่าทั้งสองชุมชนยังคงไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิดจนเหมือนเป็นหนึ่งเดียวกันและทั้งสองชุมชนก็ยังคงวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษไว้มากมาย
การเคารพศพ
วัฒนธรรมประเพณีชาวจีนฮกกิว ในอำเภอนาบอนมีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับชาวจีนกลุ่มสำเนียงอื่น ๆ ในสังคมไทยแต่ก็มีวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อแตกต่างคือการเคารพศพด้วยหมูย่างทั้งตัวและประเพณีการกินเจที่จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี
โลงศพ แบบจีน
หน้าพิธีศพ แบบจีน
บรรพชนฮกจิวที่วายชนก็ฝังร่างในสวนยาง
เรียบเรียงโดย นางสาวฐิติมา กังสุกุล อ้างอิงจาก
https://prezi.com/ugb0ahre_-rn/presentation/
https://www.dailynews.co.th/article/204979