ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม

ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

ความงดงาม ความประณีตบรรจงและความมีเสน่ห์ ซึ่งปรากฏบนผืนผ้าที่สวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจ ความพิถีพิถัน ความอดทน ความมีศิลปะและความละเอียดอ่อนในหัวใจของผู้ทอ ผ้าทอจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของผู้คน มาตั้งแต่โบราณกาล และเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความมีเอกลักษณ์ ความเจริญ และอารยธรรมของชนเผ่าได้เป็นอย่างดี

เกือบทุกหมู่บ้านของไทยได้สืบทอดประเพณีการทอผ้าสำหรับใช้ในครัวเรือนมาเป็นเวลายาวนาน โดยการนำเอาพืชหรือวัสดุที่พึงหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้เป็นวัตถุดิบ งานทอผ้าส่วนใหญ่จะเป็นงานของผู้หญิง แม้ว่าผู้ชายจะมีส่วนในการผลิตอุปกรณ์การทอ แต่ผู้หญิงจะต้องเป็นผู้ลงมือดำเนินการเอง เริ่มแต่การเตรียมเส้นฝ้ายหรือไหม การย้อมสี การทอ และการตัดสินใจนำผ้าเหล่านี้ไปใช้อย่างเหมาะสม

แม้ว่าโลกจะเจริญก้าวหน้าไปไกล เพราะการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี แต่การทอผ้าพื้นเมืองของชาวไทยก็ยังคงปฏิบัติกันอยู่ตามกลุ่มชนต่างๆ ซึ่งมีทั้งการทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย ส่วนเทคนิคในการทำลวดลายบนผืนผ้านั้น ก็มีความโดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาคอิสานก็คือ ผ้ามัดหมี่และผ้าขิด

สีคราม จากธรรมชาติ ยังคงมีการอนุรักษ์ไว้โดยกลุ่มชนในหลายท้องที่ของภาคอิสาน เช่น อุดรธานี สกลนคร มุกดาหาร ชัยภูมิ เสน่ห์และความงดงามบนผืนผ้าฝ้ายชาวอิสานเรียกว่า “ผ้าย้อมหม้อนิล”

สีคราม ได้จากใบคราม สามารถย้อมได้หลายวิธีและหลายเฉดสี เช่น การย้อมใบครามสดก็จะได้สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวหยก เป็นต้น

สตรีแม่บ้านในตำบลเขือน้ำ มีภูมิปัญญาในการทอผ้ามัดหมี่มายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามขึ้น เพื่อเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน


“มือแม่ช่วยถักทอ มือพ่อช่วยหว่านไถ

พ่อ แม่ ลูกร่วมใจ ใช้เศรษฐกิจพอเพียง”

นางสมจิตร เพชรประยูร ได้รวบรวมสมาชิกจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ทอผ้ามัดหมี่ย้อมครามขึ้น ในปี 2546 มีสมาชิกทั้งสิ้น 19 คน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ได้แก่ ผ้าไหมสีพื้นย้อมสีธรรมชาติ,

ผ้าไหมมัดหมี่ (ไหมแกมฝ้าย),ผ้าฝ้ายมัดหมี่ และตีนซิ่น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

- OTOP Product Champion 2549 ระดับ 4 ดาว

- OTOP Product Champion 2552 ระดับ 2 ดาว

- พรีเมี่ยม ระดับ B ของอุตสาหกรรม

- มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จาก อุตสาหกรรม

ความสัมพันธ์กับชุมชน

ชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาซึ่งรายได้เสริมจากการทอผ้า และปลูกต้นคราม

วัตถุดิบและแรงงานทั้งหมดมาจากชุมชน ก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจ มีสามัคคี และพึ่งพาตนเอง ไม่เกิดการว่างงาน รู้จักใช้วิถีชีวิตที่พอเพียง

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

วัตถุดิบประกอบด้วย

1. เส้นด้ายไหมแท้

2. เส้นด้ายฝ้าย

3. เส้นด้ายใยประดิษฐ์

4. เส้นด้ายใยผสม (TR)

อุปกรณ์ประกอบด้วย

1. เชือกฟาง

2. สีธรรมชาติ

3. อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับทอผ้า

ขั้นตอนการผลิต

1.. เตรียมวัสดุเพื่อทำเส้นยืนและเส้นพุ่ง ได้แก่ เส้นไหม เส้นฝ้ายธรรมชาติ เส้นฝ้ายใยประดิษฐ์และเส้นใยผสม โดยเส้นไหมจะต้องฟอกกาวก่อนย้อมสี ส่วนเส้นฝ้ายธรรมชาติต้องต้มแยกไขมันก่อนย้อม

2. เตรียมเส้นไหมและเส้นฝ้ายก่อนย้อมสี โดยขจัดสิ่งสกปรกออกจาเส้นใย

3. การย้อมครามสีธรรมชาติ ต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

4. หลังการย้อม

- ซักล้างให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้ง

- นำมากรอ เพื่อเดินด้ายค้นหูก เรียกว่า เครือหูก

- นำเครือหูกเข้าฟันหวี

- นำเส้นยืนที่ต่อเสร็จแล้วเข้ากี่ ปรับแต่งเครือทอ

5. เตรียมลวดลายมัดหมี่และฟางสำหรับมัดหมี่

- มัดหมี่ตามลวดลายที่เลือกไว้ เสร็จแล้วนำหัวหมี่ไปย้อม

- ล้างหัวหมี่ให้สะอาด แช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม

- ผึ่งให้แห้ง แกะฟางออกจะได้ลายหมี่

ตามลวดลายจากการมัดหมี่

- นำหัวหมี่มาปั่นร้อยเรียงไว้เป็นเส้นพุ่ง

6. การทอผ้ามัดหมี่

- เส้นยืนทุกเส้นต้องยาวเท่ากัน

- ระยะห่างของเส้นพุ่งต้องเท่ากัน

- ต่อด้ายให้ถูกวิธี

- ริมผ้าต้องสวย ดูดี

- ลวดลายถูกต้อง ต่อเนื่องและคมชัด

- ไม่มีเศษด้ายในผืนผ้า

- นำต้นครามมามัดและหมักแช่ในโอ่ง 2 – 3 คืน

- เอากากต้นครามออก เหลือไว้เฉพาะน้ำคราม

- เติมปูนขาว และใช้ไม้กระซงตีจนหมดฟอง ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน

- เทน้ำออก ตะกอนที่เหลือคือ “เนื้อคราม”

- กรองเนื้อครามด้วยผ้า จะได้ก้อนครามเก็บไว้ใช้การย้อมคราม

- นำก้อนครามมาผสมปูนขาวและน้ำด่าง คนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้รอย้อม

- นำหัวหมี่ที่มัดลวดลายมาแช่น้ำ บิดออกให้หมาด

- นำหัวหมี่ลงย้อมในหม้อครามที่เตรียมไว้ ใช้มือขยำให้สีติดด้ายอย่างทั่วถึงและบิดน้ำออกให้หมาด

- หมักหัวหมี่ที่ย้อมครามแล้วในถุงพลาสติก 3 – 4 ชั่วโมง โดยมัดปากถุงให้แน่นป้องกันไม่ให้อากาศเข้า

- นำหัวหมี่ลงบ้อมและหมักตามขั้นตอนข้างต้นอีก 5 – 6 ครั้ง เพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ

- นำหัวหมี่ไปล้างน้ำทำความสะอาดประมาณ 10 ครั้ง และแช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม

- ผึ่งให้แห้ง แกะฟางออกจะได้หัวหมี่ตามลวดลายจากการมัด

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

1. คัดเลือกวัสดุที่ดีมีคุณภาพ เหมาะสม เช่น เส้นยืนจะต้องแข็งแรง เหนียว คงทน และยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่ง

2. เส้นพุ่งควรเลือกขนาดใกล้เคียงกับเส้นยืน เพื่อความเรียบเนียนของเนื้อผ้า

3. ลวดลายผ้า ต้องเหมาะสมกับงานที่ใช้ ลายชัดเจนและต่อเนื่อง

4. สีย้อม สีของเส้นยืนและเส้นพุ่ง ควรกลมกลืนกัน ความสม่ำเสมอของสีย้อม ความคงทนของสี ควรเป็นสีธรรมชาติ

5. การทอ ควรเป็นไปในลักษณะทอผ้าที่ดี ควรทอให้แน่น

6. การดีไซด์แบบ ควรเป็นแบบร่วมสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด

7. เน้นถึงการประยุกต์ใช้งานหรือพัฒนารูปแบบในด้านการสร้างสรรค์

8. มีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อลูกค้าทุกคน

ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

กลุ่มทอนิศาพัฒนา 02

ที่อยู่ 1 หมู่13 - - ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160

042-150-627 ,08-6646-6200

-

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ

xxx

ที่อยู่ 1 หมู่13 - - ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 41160

042-150-627 ,08-6646-6200

-

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

กลุ่มทอผ้านิศาพัฒนา 02

1 ม. 13 ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ

จ. อุดรธานี