แหล่งเรียนรู้
ประวัติความเป็นมา”กู่คันธนาม”
ข้อความจากศิลาจารึกกู่คันธนาม“โรคทางกายของประชาชนนี้เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง พระองค์พร้อมด้วยแพทย์ทั้งหลาย ผู้แกล้วกล้าและคงแก่เรียนในอายุรเวทและอัสตรเวท ได้ฆ่าศัตรูคือโรคของประชาชนด้วยอาวุธ คือ เภสัช…..พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรส ทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป…”
การประกาศขึ้นทะเบียน
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกู่คันธนาม พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๓๕ ตารางวา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ส่วนกำแพงที่ล้อมรอบปราสาททั้ง ๔ ด้าน ส่วนที่จมอยู่ในดินยังคงอยู่ในสภาพเดิม มีการทรุดเนื่องจากการยุบตัวของดินที่รองรับตัวกำแพง แต่แนวกำแพงด้านทิศใต้ยังคงสมบูรณ์ดี แนวกำแพงด้านทิศตะวันออก บริเวณมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้แนวกำแพงทำเป็นรางน้ำไหลออกไปลงสระที่อยู่นอกกำแพงกึ่งกลางของแนวกำแพงมีโคปุระตั้งอยู่ โคปุระมีลักษณะเป็นรูปกากบาทมีประตูทางเข้าซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก ไปทะลุออกไปทางด้านตะวันตก ตรงกลางเป็นห้องโถง มีห้องกำแพงเป็นห้องเล็ก ๆ อยู่ทางด้านเหนือและใต้
ในการขุดแต่งพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๔ กร ในบริเวณห้อง
โถงกลางถัดจากโคปุระไปทางด้านทิศใต้ มีประตูเล็ก ๆ อยู่บนแนวกำแพงด้านทิศตะวันออก โคปุระทางด้านทิศตะวันตกและปราสาทประธานถูกเชื่อมต่อกันโดยลานศิลาแลงซึ่งมีแผนผังเป็นรูปกากบาท ลานหินนี้มีร่องลอยของหลุมเสาต่อเนื่องจากมุขหน้าปราสาทประธานมาจนถึงประตูด้านทิศตะวันตก ของโคปุระซึ่งแต่เดิม น่าจะทำเป็นหลังคาคลุมเนื่องจากสภาพพื้นที่โบราณสถานเป็นเนินทรายจึงทำให้ลานหินมีลักษณะเป็นลูกระนาด จากการทรุดตัวของพื้นที่เช่นเดียวกับอาคารอื่น ๆ หลังจากรื้อถอนหินปราสาทประธานที่ก่อเรียงใหม่ออกหมดแล้วพบว่าเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมทางด้านทิศตะวันออกก่อเป็นมุขยื่นออกมาเชื่อมกับลานหิน
มุขมีลักษณะเตี้ยกว่าตัวปราสาทโดยอยู่ในระดับเดียวกับลานหินภายในมุขทำเป็นบันใดเข้าไปใน ห้องปราสาทประธาน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานก่อสร้างเป็นอาคารบรรณาลัย ใกล้กับลานหินทางด้านทิศใต้ มีแผ่นหินทรายสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมปักอยู่ ๓ แผ่น (เดิมอาจจะมี ๔ แผ่น) พบจารึกจากการยกหินตั้งที่หน้าบรรณาลัยลักษณะแบบเดียวกับจารึกที่พบตามอโรคยาศาลหลาย ๆ แห่ง ภายในบรรณาลัยพบว่ามีการปูพื้นด้วยศิลาแลงแต่บางส่วนถูกรื้อออกจากการขุดหาของมีค่า
ของปราสาทประธานก่อสร้างเป็นอาคารบรรณาลัย ใกล้กับลานหินทางด้านทิศใต้ มีแผ่นหินทรายสีเขียวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมปักอยู่ ๓ แผ่น (เดิมอาจจะมี ๔ แผ่น) พบจารึกจากการยกหินตั้งที่หน้าบรรณาลัยลักษณะแบบเดียวกับจารึกที่พบตามอโรคยาศาลหลาย ๆ แห่ง ภายในบรรณาลัยพบว่ามีการปูพื้นด้วยศิลาแลงแต่บางส่วนถูกรื้อออกจากการขุดหาของมีค่าบริเวณโดยรอบยังพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมทั้งที่เป็นหินแลง และหินทรายอยู่บ้าง โดยเฉพาะบริเวณหน้ากุฏิเจ้าอาวาส มีชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมที่ทำจากหินทรายสีชมพูอยู่หลายชิ้น แบะยังพบชิ้นส่วนแท่นฐานรูปเคารพด้วย
จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่า โบราณสถานแห่งนี้ น่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานที่สร้างขึ้นตามรับสั่งของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานประจำ อโรคยศาลา ที่โปรดให้สร้างขึ้นตามชุมชนต่าง ๆ กว่า 117 แห่ง ตามที่ปรากฏในจารึก ณ ปราสาท พระขรรค์ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมแบบเขมรได้เสื่อมลงในราวพุทธศตวรรษที่ 19 สถานที่แห่งนี้จึงถูกทิ้งร้างไป เมื่อกลุ่มชนเชื้อสายลายได้อพยพเข้ามา และมาพบเห็นจึงนำนิทานพื้นบ้านในกลุ่มของตนมาเล่าอธิบายโบราณสถานที่ตนเอง ได้พบเห็น เพื่ออธิบายถึงความเป็นมาตัวปราสาท ซึ่งชาวบ้านในแถบนี้ยังคงมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ และยังคงมีพิธีสรงกู่กันในเดือน 6 – 7 อยู่จนปัจจุบัน