วัดพระธาตุจอมปิง

ประวัติวัดพรธาตุจอมปิง

วัดพระธาตุจอมปิง เป็นวัดที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากล้านนา โดดเด่นเห็นได้ชัดที่ลักษณะตัวของพระธาตุที่สวยงามอร่ามด้วยสีทอง ฐานเป็นลักษณะย่อมุม องค์พระธาตุภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ มีความเชื่อกันว่าวัดพระธาตุจอมปิงได้รับการสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี แต่มาสำเร็จในช่วงสมัยพระเจ้าติโลกราช

ความน่าสนใจของวัดพระธาตุจอมปิงนี้ นอกจากความงดงามขององค์พระธาตุแล้ว ลวดลายของหลังคาโบสถ์ และหน้าเป็นลวดลายโค้งตามสิลปะล้านนาที่มีความอ่อนช้อย งดงาม และที่เป็นจุดโดดเด่นที่ไม่ควรพลาดของวัดพระธาตุจอมปิง คือ เงาของพระธาตุ

ภายในโบสถ์เก่า สามารถมองเห็นเงาพระธาตุจอมปิงตกกระทบทอดตัวลงบนพื้นโบสถ์ได้อย่างชัดเจน และที่แตกต่างจากเงาพระธาตุที่วัดพระธาตุลำปางหลวง นอกจากความงดงามและสมบูรณ์ของเงาพระธาตุแล้ว ภายในโบสถ์เก่าของวัดพระธาตุจอมปิงนี้ มีเงาพระธาตุให้ชมถึงสองเงาในโบสถ์หลังเดียว (แสงหักเหจากหน้าต่าง 2 บาน เกิดเป็นเงาพระธาตุ 2 เงา) วิธีการชมเงาพระธาตุนั้น อย่างแรกคือต้องปิดประตูโบสถ์ให้สนิท เห็นเพียงแสงที่ลอดผ่านบานหน้าต่าง (ดังนั้นการชมเงาพระธาตุต้องเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดด) ภายในโบสถ์จะมีชาวบ้านที่ได้มอบหมายให้มาแนะนำให้การชมเงาพระธาตุ จะนำผืนผ้าใบสีขาวที่ขึงไว้ มารองรับเงาพระธาตุ และเลื่อนผ้าใบถอยเข้าถอยออกให้เห็นว่า เงาพระธาตุมีการปรับขนาดได้ นอกจากนั้นการวางผ้าใบในแนวตั้ง หรือแนวนอนยังสามารถทำให้เงาพระธาตุที่ปรากฏเปลี่ยนรูปแบบได้อีกด้วย เงาพระธาตุที่เห็นนั้นคาดว่าเกิดจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ของกล้องรูเข็ม

เมื่อชมความงดงามของเงาพระธาตุแล้วภายในโบสถ์ยังมีพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเคารพนับถือ (พระพุทธจอมพิงค์ชัยมงคล) กราบไหว้ขอพรก่อนเดินทาง หากหันหน้าเข้าไปทางพระอุโบสถใหญ่ทางด้านซ้ายของกำแพงวัดมีแบ่งสถานที่เป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องมือทางการเกษตรสมัยดั้งเดิม แต่สถานที่ยังไม่ได้รับการดูแลปรับปรุงอาจชมได้ไม่สะดวก

การเดินทาง

จากอำเภอเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ขับตรงไปทางอำเภอเกาะคา พบทางแยกซ้ายไปทางหลวงหมายเลข 1274 มุ่งไปทางอำเภอเสริมงาม เมื่อถึงสี่แยกวัดนาแก้วตะวันตกให้ขับรถตรงต่อไปประมาณ 2 กม.จะพบวัดพระธาตุจอมปิง

CR: ขอขอบคุณ ข้อมูล จาก http://www.thongteaw.com/Travel_tour_content_

บรรยากาศโดยรอบวัดพระธาตุจอมปิง

พระธาตุจอมปิง และเงาพระธาตุในแนวตั้ง - แนวนอนตามลำดับ

พระประธาน ลูกนิมิต ธรรมมาสน์ศิลปะล้านนาโบราณภายในพระอุโบสถ และพระจอมพิงค์ชัยมงคล