ชมรมลูกเสือชาวบ้าน

เทศบาลเมืองเขารูปช้าง

ประวัติลูกเสือชาวบ้าน

ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มของชาวบ้านที่มาทำประโยชน์ให้แก่สังคมผ่านการลูกเสือ โดยที่มีการทำงานหรือการเข้าค่ายต่าง ๆ คล้ายกับลูกเสือที่มีการเรียนการสอนตามโรงเรียน เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น (เพื่อป้องกันการคุกคามของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) โดยการฝึกได้นำเอาหลักในการฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังได้รับการขยายไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคและทุกจังหวัดของพื้นที่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นองค์กรที่สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้มีผู้ใช้ชื่อของลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วย เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นต้น

เจตนารมณ์ อุดมการณ์ พระบรมราโชบาย

เจตนารมณ์ คือ ความตั้งใจในการดำเนินกิจการลูกเสือชาวบ้านให้เป็นกิจการของคนทั้งชาติมุ่งประสานประโยชน์ในอันที่จะปลูกฝังอุดมการณ์ให้ลูกเสือชาวบ้านมีความจงรักภักดีในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปฏิบัติตามกฏ คำปฏิญาณของลูกเสือ เจตนารมณ์ของลูกเสือชาวบ้านมี 11 ข้อ ดังนี้

1. ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกิจการของคนทั้งชาติ

2. ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกิจการที่บริสุทธิ์ มีความจริงใจ

3. ลูกเสือชาวบ้าน มุ่งหมายให้ทุกคนประสานประโยชน์

4. ลูกเสือชาวบ้าน รักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเอกลักษณ์ไทย

5. ลูกเสือชาวบ้าน ยึดอุดมการณ์ร่วมกับลูกเสือทุกประเภท

6. ลูกเสือชาวบ้าน อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์

7. ลูกเสือชาวบ้าน เสริมสร้าง ระบบหมู่และกระบวนการหมู่พวก

8. ลูกเสือชาวบ้าน ปฏิบัติตาม กฏ - คำปฏิญาณของลูกเสือ

9. ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกิจการที่ละเอียดอ่อนต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง

10. ลูกเสือชาวบ้าน เป็นของประชาชน ดำเนินการโดยประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชน

11. ลูกเสือชาวบ้าน ยึดมั่นและปฏิบัติตามอุดมการณ์ 5 ข้อ พระบรมราโชบาย 12 ข้อ ภารกิจ 7 ข้อ คำปฏิญาณ 3 ข้อ กฏลูกเสือ 10 ข้อ เจตนารมณ์ 11 ข้อ

อุดมการณ์ คือ ความมุ่งหวัง ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวลูกเสือชาวบ้านทุก ๆ คน กระบวนการปลูกฝังอุดมการณ์จึงเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่อง ลูกเสือชาวบ้านแต่ละคนจะต้อง (หนึ่ง) ทำหน้าที่ (สอง) มีอุดมการณ์ อุดมการณ์ของลูกเสือชาวบ้านมี 5 ข้อ

1. ลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนกลางในการสร้างความสามัคคี

2. ลูกเสือชาวบ้านสร้างสรรค์ตนเอง สังคม หมู่คณะ และประเทศโดยกระบวนการปลูกฝัง

3. ลูกเสือชาวบ้านยึดมั่นและปฏิบัติตามระบบการปกครองประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

4. ลูกเสือชาวบ้าน ดำรงตนเป็นพลเมืองดี จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรักษาเอกลักษณ์ไทย

5. ลูกเสือชาวบ้าน ยึดมั่นและปฏิบัติตาม พระบรมราโชบาย ภารกิจ กฎ คำปฏิญาณ และธรรมเนียมประเพณีของลูกเสือชาวบ้าน

พระบรมราโชบาย คือ นโยบายหรือทิศทางในการดำเนินกิจการลูกเสือชาวบ้าน นโยบายอาจจะมีหลายระดับ แต่นโยบายที่เป็นหลักสำคัญคือ พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานให้ไว้สำหรับการดำเนินกิจการลูกเสือชาวบ้าน หลักการของลูกเสือชาวบ้านมี 12 ข้อ

1. ห้ามมิให้นำกิจการลูกเสือชาวบ้านไปเกี่ยวข้องกับการเมือง

2. ห้ามมิให้มีการแสดงแสนยานุภาพในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

3. ห้ามมิให้นำระบบราชการไปใช้ในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

4. ลูกเสือชาวบ้านไม่มีเครื่องแบบ แต่มีเครื่องหมายเพียงอย่างเดียว คือ ผ้าผูกคอ ห่วงรัดผ้าผูกคอ และหน้าเสือ ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องแบบและเครื่องหมายอื่นๆ ทุกชนิด

5. ทรงปรารถนาให้กิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

6. ทรงให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ และพัฒนาท้องถิ่น

7. ทรงให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการสร้างระเบียบ วินัย และประหยัด

8. ห้ามมิให้มีการใช้จ่ายในการฝีกอบรมลูกเสือชาวบ้าน หรือการแสดงรอบกองไฟอย่างฟุ่มเฟือยและห้ามเสพเครื่องดองของเมาทุกชนิดในระหว่างฝึกอบรม

9. ให้ยึดมั่นและเผยแพร่ของลูกเสือเข้าสู่ประชาชนเพื่อสร้างความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัดน

10. ห้ามใช้งบประมาณทางการเมืองในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

11. ให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการใช้ของไทย และบริโภคอาหารที่ผลิดขึ้นในประเทศไทย

12. ให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการฟื้นฟู และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีของแต่ละท้องถิ่น

ลูกเสือ นำเสนอ.pptx

ภาพโครงการอบรมพัฒนา และศึกษาดูงาน

ที่เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา