อาชีพท้องถิ่น




กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่


กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ที่ตั้ง : กลุ่มจักสานบ้านดงยางน้อย หมู่ที่ 5
ตำบลดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

ประธานกลุ่ม : นางทองน้อย อุ่นแสง เบอร์ติดต่อ 096 - 4123396

กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ประชาชนบ้านดงยางน้อย ส่วนใหญ่เกือบทุกหลังคาเรือนจะสานกระติบข้าวไว้ใช้ในครัวเรือน มีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย สืบทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตของคนในชุมชน จนทำให้การสานกระติบข้าวเป็นรายได้เสริมของครอบครัว การรวมกลุ่มกันของคนชุมชน ที่มีความรู้ ความชำนาญ

การจักสานจากไม้ไผ่ ก่อให้เกิดการตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ โดยมีหน่วยงานของทางราชการเข้ามาให้การสนับสนุน อาทิ พัฒนาชุมชนอำเภอพิบูลย์รักษ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพิบูลย์รักษ์ เป็นหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนต่อยอดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ชั้นเรียนวิชาชีพ จำนวน 40 ชั่วโมง หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ เช่น ตะกร้าไม้ไผ่ลายขิด แจกันดอกไม้ กระจาด ต่างหูจิ๋ว

ลายขิด เป็นการจัดลวดลายทีละตำแหน่งจึงทำให้เกิดลวดลายที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ วัสดุที่ใช้มาจากธรรมชาติ กรรมวิธีย้อมสีเกิดจากการหมักบ่มด้วยกรรมวิธีที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์เกิดจากความคิดสร้างสรรค์มีหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบล้วนมีความเป็นเอกลักษณ์

ดังนั้น กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ จึงเป็นอาชีพเสริมรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวได้การทำหัตถกรรมไม้ไผ่ ซึ่งถือเป็นอาชีพที่สืบทอดกันมานาน ซึ่งคนในชุมชนได้ประกอบเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและคนในชุมชน

ขั้นตอนวิธีสานกระติบข้าว

ขั้นตอนที่ 1 นำไม้ไผ่มาสั้น/ยาวของปล้องตามความต้องการมาจักเป็นเส้นให้ได้ขนาดเส้นที่เท่ากัน


ขั้นตอนที่ 2 นำเส้นไม้ไผ่ที่จักเตรียมไว้แล้วนั้น มาแช่น้ำประมาณ 10-15 นาที แล้วนำมาเหลาให้เรียบเพื่อความสวยงาม บางเสมอกันและได้ขนาดเท่ากัน นำเส้นไม้ไผ่ที่เหลาแล้วไปตากแดดเพื่อกันการเกิดรา


ขั้นตอนที่ 3 นำเส้นไม้ไผ่ไปย้อมด้วยสีย้อมกก เลือกสีตามใจชอบ ประมาณ 1 หรือ 2 สี ล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปผึ่งลมให้สีแห้ง


ขั้นตอนที่ 4 นำเส้นไม้ที่ย้อมสีแล้วมาสานต่อกันยาวตามขนาดที่ต้องการ (ในกรณีนี้ต้องทำเป็นเลขคู่ ) การทำกระติบข้าว 1 อันจะมีตัวกระติบข้าวและฝากระติบข้าว ส่วนที่จะทำเป็นฝากระติบข้าวจะต้องใช้เส้นตอกมากกว่า ตัวกระติบข้าว 2-3 คู่


ขั้นตอนที่ 5 นำเส้นไม้ไผ่ ที่สานต่อกันได้ตามขนาดแล้วนำมาสานต่อกันเป็นวงกลมและมัดอีกด้านหนึ่งไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งให้สานต่อขึ้นตามแนวตั้งจนสุด เสร็จแล้วสานอีกด้านที่มัดไว้ให้สุดเช่นเดียวกัน


ขั้นตอนที่ 6 ตัดปลายของเส้นตอกที่เป็นส่วนเกินจากส่วนที่เป็นตัวและฝากระติบข้าวออกนำกระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วทั้งตัวและฝา มาจัดแต่งโดยการพับให้เหลือครึ่งหนึ่งเลือกด้านที่สวยงามออกมาด้านนอกเพื่อความสวยงามกระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วทั้งตัวและฝา มาจัดแต่งโดยการพับให้เหลือครึ่งหนึ่งเลือกด้านที่สวยงามออกมาด้านนอกเพื่อความสวยงาม

ขั้นตอนที่ 7 การเย็บตัวและฝากระติบข้าวเข้ากับฐานรอ

ขั้นตอนที่ 8 อุปกรณ์ทั้งหมดรวมกัน ก็จะได้กระติบข้าวที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม



สถานที่ตั้ง บ้านดงยางน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลดอนกลอย อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูล/เรียบเรียง /ภาพประกอบ นางสาวจิตราวดี นิลาล้น นิลาล้น ครู กศน.ตำบล