ความเป็นมาของการจักสานไม้ไผ่
เกิดขึ้นโดยการใช้ไม้ไผ่นำมาจักผ่าฉีกให้เป็นเส้นบางๆแล้วนำมาขัดสานสอดไขว้ขึ้นโครงเป็นรูปทรงทำเป็นภาชนะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมและหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความผูกพันและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของ คนไทยมาอย่างยาวนานแสดงได้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบรรพบุรุษมีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ มีอยู่ในทุกภาคของประเทศด้วยเป็นทั้งหัตถกรรมที่เป็นของใช้ในในครัวเรือนและ ชีวิตประจำวันจนถึงเป็นอาชีพที่เป็นแหล่งรายได้อีกด้วย การสร้างสรรค์งานจักสานไม้ไผ่ต้องใช้ทั้งภูมิปัญญา ความประณีตความละเอียดอ่อนและทักษะฝีมือเชิงช่างตั้งแต่การรู้จักคุณสมบัติของไม้ไผ่แต่ละชนิดที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสาน การเตรียมเส้นเพื่อการสานที่เหมาะสมกับการสานผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด แต่ละรูปแบบ และที่สำคัญคือการสานขึ้นรูปจนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ที่นำไปประโยชน์ใช้สอยตามที่ต้องการงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผจึงยังคงเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ยังคงมีการสืบทอดต่อกันมานับจากอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน
อุปกรณ์ที่ใช้
มีด (ใช้สำหรับตัดต้นไผ่)มีดสาหรับจักตอก มีดสำรับเหลาขอบ
ไม้ไผ่ อาทิ ไผ่สีสุก ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ตง หรือ ไผ่นวล
ค้อน
ตัวหนีบ พิมพ์สำหรับขึ้นโครงต่างๆ
วิธีการทำ
1.ตัดไม้ไผ่
2. ผ่าไม้ไผ่เป็นส่วน ขานาดความยาว 20 เซนติเมตร ความหนา ประมาณ 1-2 เซนติเมตร
3. เหลาไผ่ให้ผิวเรียบ
4.เมื่อได้อุกรณ์ เริ่มสานได้ ตามลวดลายที่เราต้องการ
ความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับทรัพยากรในท้องถิ่น
ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นซึ่งชาวบ้านหมู่บ้านดอยวงค์นิยมปลูกไผ่ไว้ในบริเวณบ้านเพื่อให้บ้านมีอากาศที่ร่มเย็นในฤดูร้อนมากไปกว่านั้นปลูกไว้เพื่อใช้บริโภคและนำหน่อไม้มาประกอบอาหารชาวบ้านมักนำไผ่ที่ปลูกไว้ในบรเวณบ้านนำมาสร้างประโยชน์หลายอย่างเช่นนำมาสร้างบ้านรั้วบ้านอีกทั้งยังนิยมมาสร้างเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆภายในบ้านเช่นใช้ไผ่สานเป็นตะกร้ากระด้งเสื่อตะกร้าเก็บสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเสื่อที่ทำจากไม่ไผ่ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวบ้านเกือบทุกบ้านที่ปลูกข้าวนาหรือข้าวไร่จำเป็นต้องมี เพราะจะต้องใช้ในขั้นตอนการตีข้าวเนื่องจากสภาพเสื่อมีขนาดที่กว้างและเเข็งแรงฉีกขาดยากชาวบ้านนิยมให้เสื่อที่สานจากไม้ไผ่มาใช้มากกว่าเสื่อที่ซื้อมาจากท้องตลาดอีกทั้งชาวยังสามารถสร้างเป็นรายได้เสริมเพิ่มรายได้ให้กับตนเองเเละครอบครัว
ผู้เรียบเรียงข้อมูล
นางสาวอรอนงค์ ขวัญอยู่ถาวร (ครูอาสาสมัคร กศน.) ศศช.บ้านดอยวงค์
ที่อยู่ของผู้ประกอบอาชีพ
บ้านดอยวงค์ หมู่ 12 ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน