การทำน้ำปู

ประวัติความเป็นมา

วิถีชีวิตของชาวอำเภอแจ้ห่ม มีความเป็นอยู่แบบเครือญาติแบบพี่แบบน้อง อาชีพหลักคือการเกษตรเช่นทำนา ทำไร่ ทำสวนเป็นส่วนใหญ่ พอถึงระยะเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจะเป็นช่วงที่เป็นฤดูทำนา จนถึงเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม หลังจากนั้นชาวบ้านก็จะปลูกพืชหมุนเวียนเช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลิสง ยาสูบ พริก มะเขือ หรือบางรายก็จะทำนาหว่าน หรือไร่นาสวนผสม ตามแต่ความต้องการของแต่ละครอบครัวสนใจด้านใด แต่ในระหว่างทำนานั้น ชาวนาจะมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของปูมาก เพราะปูเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตร เพราะปูเป็นศัตรูของต้นกล้าของข้าว ทำให้ไร่นาข้าวเสียหายผลผลิตตกต่ำและปูก็แพร่หลายมากแก้ปัญหากันเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่น และอีกอย่างยากำจัดปูไม่มีในสมัยนั้น บรรพบุรุษเราใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่โดยการนำเอาปูมาประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ตามแนวคิดที่มี เช่น

แนวคิดที่ 1 คิดว่าเอาปูมาทำเป็นอาหาร เช่น ทำปูต้มเค็ม ย่าง ทอด ฯลฯ แต่ก็คงรับประทานไม่ได้ทุกวันก็ยังช่วยแก้ปัญหาไม่ได้กี่มากน้อย

แนวคิดที่ 2 แก้ปัญหาโดยการนำปูมาดองเก็บได้นานแต่ประกอบอาหารได้เป็นเพียงบางอย่างเท่านั้น เช่น ใส่ส้มตำมะละกอ อีกอย่างไม่มีตลาดรองรับ ไม่มีที่จำหน่าย ปูก็ยังมีจำนวนมาก ช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวนาได้ไม่เท่าที่ควรแนวคิดที่ 3 ต่อมายังเกิดแนวคิดอีกว่าเราน่าจะเอาปูถนอมเป็นอาหารที่เก็บได้นานโดยไม่บูดไม่เสียมีความคิดการณ์ไกลและได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมาจึงเกิดแนวความคิดใหม่ว่าเมื่อปูมีเยอะน่าจะนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่เก็บไว้ได้นาน และประกอบอาหารได้หลากหลาย ซึ่งมีรสชาติอร่อย มีคุณค่าทางอาหารสูง และปลอดสารพิษอีกด้วย

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

2.1.1 ปูนา 3 - 5 กิโลกรัม หรือ (ตามความต้องการ)

2.1.2 ใบข่า ตะไคร้ ประมาณ 2 ขีดหรือขึ้นอยู่กับจำนวนปูนามีมากหรือน้อย

2.1.3 เกลือ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะหรือขึ้นอยู่กับจำนวนปูนามีมากหรือน้อย

ขั้นตอนการผลิต

2.3.1 เก็บปูในนาข้าวมาประมาณ 3 -5 กิโลกรัม

2.3.2 นำปูมาล้างน้ำให้สะอาดประมาณ 2 - 3 ครั้ง หรือจนกว่าจะสะอาด

2.3.3 นำปูที่ล้างมาใส่เครื่องปั่นหรือใส่ครกตำด้วยมือในกรณีที่ไม่มีเครื่องปั่นและเติมใบข่าและตะไคร้

ตำเข้าด้วยกัน

2.3.4 ปูที่ตำหรือปั่นละเอียดแล้วนำมาคั้นกรองเอาแต่น้ำ

2.3.5 นำน้ำปูที่คั้นน้ำแล้วทิ้งไว้ 1 คืนแล้วตั้งไฟเคี่ยวจนเหนียวจนได้ที่ชิมดูทิ้งไว้ให้เย็น

2.3.6 นำน้ำปูบรรจุกระป๋องไว้จำหน่ายหรือเก็บไว้รับประทานได้นานแรมปี