อาชีพท้องถิ่น

ชาวประมงพื้นบ้านคือ ประชาชนที่อาศัยอยูบริเวณริมน้ำ ดำรงชีพด้วยการจับสัตว์น้ำ เพื่อการบริโภคเป็นอาหาร และจำหน่ายเป็นการสร้างอาชีพ ชาวประมงพื้นบ้านเป็นการทำการประมงที่ต้องอาศัยและพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยเริ่มจากการต้องเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำขึ้นน้ำลง ดูดวงจันทร์และดวงดาว อาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว ศึกษาและเรียนรู้ เพราะธรรมชาติทุกสิ่งรอบตัวล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตทั้งสิ้น เนื่องจากในอดีตนั้น การจะออกจับปลาต้องมีการศึกษาสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่นสภาพอากาศเพราะอาชีพประมงพื้นบ้านถือว่าเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยง เวลาออกไปทำการประมงต้องเผชิญกับคลื่นลม และพายุในการทำการจับสัตว์น้ำโดยไม่มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการป้องกัน และในการประดิษฐ์เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำของชาวประมงพื้นบ้าน จะเลือกนำอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นของตนมาทำ ส่งผลให้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ ในแต่ละที่นั้นมีลักษณะเฉพาะถิ่นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัสดุที่มีในแต่ละท้องที่ ขนาดของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการประมงแบบพื้นบ้านจะเป็นเครื่องมือขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางเนื่องมาจากการทำการประมงชายฝั่งเป็นการทำการประมงขนาดเล็กเพราะการทำประมงในครัวเรือน ใช้แรงงานของคนเป็นหลัก อีกทั้งในการออกแบบเครื่องในการจับสัตว์น้ำเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำประเภทปล่อยและรอดักจับ ซึ่งสามารถจับสัตว์น้ำได้ในปริมาณ จำกัด และสามารถทำได้ในบริเวณชายฝั่ง ในระยะไม่กิน 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง เครื่องมือประมง พื้นบ้านจึงถูกออกแบบให้มีความเหมาะสมกบการจับสัตว์น้ำแต่ละชนิดได้อยางมีประสิทธิภาพและที่สำคัญไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

การทำประมงพื้นบ้านของชาวบางทรายนั้น ใช้แรงงานจากคนภายในครอบครัว ผลผลิตที่ได้ไม่มีความ แน่นอนทั้งในขนาดของสัตว์น้ำที่ต้องการ หรือแม้แต่กระทั่งปริมาณเนื่องมาจากวิถีชีวิตการทำประมงในอดีตคือการจับสัตว์น้ำในแบบที่ปล่อยและรอดักจับ ชาวประมงนั้นจะมีการเปลี่ยนการจับสัตว์น้ำไปตามช่วงเวลา ไม่ได้จับสัตว์น้ำชนิดใดจำเพาะเจาะจงสัตว์น้ำที่ชาวประมงจับได้จะมีทั้ง กุ้ง หอย ปู ปลา มีการปรับเปลี่ยนถ้าหากช่วงเวลาดังกล่าวนั้น หอยแมลงภู่ เจริญเติบโตพร้อมที่จะจำหน่ายก็จะจับหอยแมลงภู่จำหน่าย แต่ถ้าหากช่วงเวลานั้นหอยแมลงภู่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตไม่พร้อมที่จะจำหน่าย ก็จะหันไปจับสัตว์น้ำทั่วไปริมชายฝั่งแทน และเมื่อได้สัตว์น้ำมา จะมีพอค้าคนกลางเป็นผู้ ที่ทำหน้าที่ในการรับซื้อและนำไปขายปลีกให้กับลูกค้าปลายทางอีกทอดหนึ่ง แต่มีชาวประมงบางรายจะนำไปขายเอง หรือแปรรูป โดยการ นำไปต้ม ตากแห้ง โดยรายได้ของชาวประมงพื้นบ้านบางทรายในการจำหน่ายอาหารทะเลจะมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 1,000 – 2,000 บาทต่อวัน ราคาเริ่มต้นกุ้งอยู่ที่กิโลกรัมละ 120 บาท ถึง 200 บาท หอยแมลงภู่อยู่ที่กิโลกรัมละ 25-35 บาท หอยแครงอยู่ที่กิโลกรัมละ 80-150 บาท ปลาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-100 บาท

ชาวประมงพื้นบ้านบางทรายได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น การรู้ทิศทางลม เพื่อกำหนดเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ กำหนดเวลาการจับตามลักษณะ ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความหลากหลายในการใช้เครื่องมือทำมาหากิน ได้แก่ อวน เป็ด แห ลอบ มีอิทธิพลต่อชาวประมงในการวางแผนการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม แต่ละช่วงของแต่ละเดือน จะจับปลาได้แต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ทำให้ชาวประมงได้เรียนรู้ชีวิตและการสรรหาอุปกรณ์เครื่องมือในการหาปลาให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา