ขนมไทย

วิชาชีพการทำขนมไทย หลักสูตร ๒๐ ชั่วโมง

ขนมไทย เป็นขนมที่บ่งบอกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วนมีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะการเรียนรู้และอนุรักษ์การทำขนมไทย ให้ประชาชนในชุมชนเป็นผู้สืบทอด ร่วมทั้งภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดและคงไว้ ตลอดจนเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ที่มีมาช้านานบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชน

ดังนั้น กศน.ตำบลบางพลีน้อย จึงได้จัดโครงการฝึกวิชาชีพการทำขนมไทยหลักสูตร ๒๐ ชั่วโมง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน หรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม หรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

โครงสร้างหลักสูตร

เรื่องที่ ๑ ช่องทางการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๑.๑ ความสำคัญในการประกอบวิชาการทำ

๑.๒ ความเป็นไปได้ในการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๑.๓ แหล่งเรียนรู้การประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๑.๔ การตัดสินใจเลือกประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

เรื่องที่ ๒ การบริการจัดการในการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๒.๑ การประชาสัม

๒.๒ การกำหนดราคาในการขาย

๒.๓ ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

เรื่องที่ ๓ โครงการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๓.๑ ความสำคัญของโครงการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๓.๒ ประโยชน์ของโครงการประกอบวิชาการทำ

๓.๓ บรรจุภัณฑ์ขนมไทย

๓.๔ การตลาดและการขาย

เรื่องที่ ๔ ทักษะในการประกอบวิชาการทำธุรกิจขนมไทย

๔.๑ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการใช้ในการทำขนมไทย

๔.๒ การทำขนมไทย จำนวน ๔ ชนิด

๔.๓ สรุปและอภิปรายผล

การจัดกระบวนการเรียนรู้

๑.ศึกษาทฤษฎีจากเอกสารและการบรรยายจากวิทยากรผู้สอน

๒.การฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนในหลักสูตร

๓.การทดสอบทักษะที่ได้รับการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

วิทยากร

นางระเบียบ ไกรเชย อายุ ๖๓ ปี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๔๖ หมู่ที่ ๒ ตำบลคลองนิยมยาตรา อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ ๑๐๕๖๐ เบอร์โทร ๐๘๓-๖๐๘๓๓๗๙