แหล่งเรียนรู้
"วัดอัมพวัน วัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย"

แหล่งเรียนรู้ โบราณสถาน วัดอัมพวัน


วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่ 38 หมู่ที่ 8 ตำบลบางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก
“วัดอัมพวัน”แปลว่าสวนมะม่วงเนื่องจากในอดีตบริเวณนี้มีต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่มากวัดอัมพวันสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและเป็นวัดร้างอยู่ช่วงหนึ่งระหว่างเสียกรุงครั้งที่2ในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มมีพระ
มาจำพรรษาอยู่เท่าที่ปรากฏหลักฐานว่าหลวงปู่จันทร์(พระครูวิสุทธิธรรมธาดา)ได้มาทำการบูรณะร่วมกับชาวบ้านบางอ้อและหม่อมราชวงศ์จำรัศอิศรางกูรณ อยุธยาได้ล่องเรือแพมาและได้ถวายให้แก่วัดอัมพวันเมื่อพ.ศ.2451 และได้ร่วมกับชาวบางอ้อและหลวงปู่จันทร์วางศิลาฤกษ์อุโบสถเมื่อพ.ศ.2458
แต่มาเสร็จเมื่อพ.ศ.2466ที่ประตูไม้แกะสลักด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของอุโบสถมีชื่อของผู้สร้างสลักอยู่คือนายวอนนางแม้นเป็นบุตรเขยและ
บุตรสาวของผู้เริ่มก่อสร้างอุโบสถรวมทั้งหลวงนาและขุนวารีซึ่งหลวงนา
เป็นพ่อของขุนวารีผู้ซึ่งอุทิศที่ดินสร้างโบสถ์และเป็นธุระจัดช่างมาจาก
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

ระหว่างปีพ.ศ.2461พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จมาทางชลมารคและสร้างพลับพลาที่หน้าโบสถ์แต่ทรงประทับอยู่ในเรือและทรงพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้และด้านล่างภาพเขียนว่าพระองค์ผู้ทรงพระราชทานสันติสุขและสันติภาพให้แก่สยามประเทศนอกจากนี้สมเด็จพระมหาสมณ
เจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้เคยเสด็จวัดอัมพวันและพระราชทานพระฉายาลักษณ์ซึ่งในภาพ
ลงวันที่16ตุลาคมพ.ศ.2465จากข้อมูลของสำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าวัดอัมพวันตั้งวัดเมื่อพ.ศ.2456
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2521

วัดอัมพวันเป็นวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำนครนายกแวดล้อมด้วยท้องทุ่ง
มีโบสถ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นงดงามน่าชมและมีกุฎิเรือนไทยที่เคยเป็นแพมาก่อนมีสิ่งที่น่าสนใจน่าเรียนรู้ภายในวัดได้แก่พระอุโบสถวัดอัมพวันสร้างเมื่อพ.ศ.2458เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนหลังคาหรือเครื่องมุงหลังคาเป็นหลังคาลดสองชั้นเครื่องไม้มุงกระเบื้องว่าวต่อมาได้เสริมเชิงชายที่มุขหลังคาเพื่อกันฝนหน้าบันไม้แกะสลักรวงผึ้งสาหร่ายหน้าอุดปีกนก
กรอบประตูปูนปั้นประตูไม้บานคู่แกะสลักงดงามเพดานอุโบสถ
มีดาวเพดานลงรักปิดทองติดกระจกขาวน้ำเงินเหลืองและค้างคาวส่วนผนังภายในไม่มีภาพจิตรกรรมหน้าต่างมีกรอบลายปูน
ด้านละสี่บานส่วนที่เป็นบานไม่แกะสลักเครื่องไม้มุงกระเบื้องขนาดความยาว20.4เมตรกว้าง9เมตรสูง12เมตรอยู่ภายในกำแพงแก้วยาว20.4เมตรกว้าง11.4เมตรสูง50เมตรลักษณะโบสถ์
มีมุขด้านหน้าหรือด้านตะวันออกและด้านหลังหรือด้านตะวันตกตรงส่วนมุขทั้งสองด้านมีเลาขนาดใหญ่รองรับมุขละ4ต้น
ขนาดเสา40X40 เซนติเมตร

ซุ้มเสาก่ออิฐถือปูนทำเป็นมณฑปยอดปราสาทกรอบด้านข้างเป็นลายปูนปั้น
แบบลายประจำยามมีซุ้มลงโค้งเป็นลายปูปปั้นรูปเกลียวกนกทั้งสี่ด้านด้านล่างเป็นฐานปัทม์บนฐานแข้งสิงห์ส่วนบนของหลังคามณฑปทำเป็นรูปเศียรนาคทั้งสี่มุมลักษณะเป็นเสาลบมุมซึ่งลักษณะเสาแบบที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่3พระอุโบสถใช้ผนังด้านข้างรับน้ำหนักมุขด้านหน้าและหลังใช้เลาก่ออิฐรับน้ำหนักเครื่องบนหลังคาลักษณะสำคัญของอุโบสถคือประตูไม้ทั้ง2ด้านแกะสลักเป็นรูปบุคคลเป็นรูปเทวดายืนถือพระขรรค์หันหน้าเข้าหากันยืนอยู่บนพญานาคตรงกลางดอกไม้ติดกระจกสีแดง
พื้นติดกระจกสีเหลืองและสีขาวที่พื้นแข้งสิงห์แกะสลักอุโบสถก่ออิฐถือปูนมีขนาดใหญ่ยาว20.50เมตรกว้าง9เมตรสูงประมาณ12เมตรขนาดห้าห้องหลังคา
เป็นเครื่องพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบศิลปะรัตนโกสินทร์

ใบเสมาทำจากหินแกะสลักเป็นรูปพญานาคหันเศียรออกทั้งสองด้านตรงกลางเป็นลายกลีบดอกไม้ลงรักปิดทองและติดกระจกสีซุ้มเสมาทรงมณฑปยอดปราสาทมีเฉพาะตรงกลางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมุมทั้งสองด้านของเสาด้านตะวันออกตั้งอยู่บนฐานปัทม์ลักษณะบัวหงายทำเป็นกลีบซ้อนกันโดยรอบด้านล่างเป็นฐานแข้งสิงห์รองรับอีกชั้นหนึ่งไม่มีซุ้มมณฑปเช่นเดียวกับฐานเสมาตรงมุมตะวันตกส่วนด้านข้างไม่มีทั้งสองด้านอาจเป็นเพราะอยู่ภายในกำแพงแก้วแล้วลานประทักษิณอยู่ภายในกำแพงแก้วโดยรอบอุโบสถกำแพงแก้วด้านตะวันออกและตะวันตกอยู่ในแถวกับเสามุขดังนั้นความยาวของกำแพงแก้วจึงเท่ากับความยาวของอุโบสถ

เจดีย์ราย อยู่ทางด้านตะวันออกของอุโบสถ ห่างออกไปประมาณ 10 เมตร เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน ส่วนยอดชำรุด ฐานกว้างประมาณ 2 เมตร สูง 3 เมตร
หอระฆัง (เก่า) เป็นเครื่องไม้ สูง 6 เมตร กว้างด้านละประมาณ 2 เมตร เครื่องบนหลังคามุงกระเบื้อง หางหงส์ หน้าบันแกะสลักเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ล้อมรอบด้วยลายก้านขดและลายเกลียวกนกในกรอบสามเหลี่ยม ลงรัก
ปิดทอง ติดกระจกสีน้ำเงินเป็นพื้นของลาย เพดานมีลายดาวเป็นรูปกลีบบัวใหญ่อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบบด้วยกลีบบัวสี่มุม ลงรักปิดทองประดับกระจกสีเขียว พื้น เพดานทาสีแดง เครื่องไม้ประกอบตัดเส้นสีเหลือง มีคันทวยไม้แกะสลักเป็นรูปนาคห้อยเศียรลงมารับกับเสา หางรับเชิงชาย ส่วนเศียรและหางนาค ทาสีแดง มีลายดอกสี่กลีบอยู่กลาง
ลำตัว มีนาคมุมละสามตัว รวมสิบสองตัว หอระฆังยกพื้นสูงประมาณ 2 เมตร
เสาทั้งสี่ด้านมีลักษณะสอบขึ้นด้านบน และเข้าสลักเครื่องไม้เช่นเดียวกับเรือนไทย

ศาลาการเปรียญเป็นอาคารเครื่องไม้มุงกระเบื้องขนาดกว้างประมาณ16เมตรยาวประมาณ18เมตรสูงประมาณ12เมตรอาคารยกพื้นสูงหนึ่งชั้นประกอบด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์เป็นเครื่องไม้หน้าบันแกะสลักรูปพระพุทธรูปส่วนเชิงชายเป็นเท้าแขนทำด้วยเหล็กโครงสร้างบางส่วนช่วงระหว่างเชิงชายใช้เหล็กยึดแต่ส่วนอื่นเข้าสลักไม้ เสาไม้ด้านบนสอบเข้าหากัน

หมู่กุฎิเรือนไทย เป็นเรือนไทยขนาดสามห้องฝาแบบสายบัวคือฝาไม้กระดานตีตามแนวตั้งและทับแนวด้วยไม้เส้นเล็กด้านล่างมีร่องตีนช้างรองรับซึ่งมักพบในฝาปะกนส่วนเท้าแขนเป็นโครงเหล็กหลังคามุงกระเบื้องว่าวปั้นลมเป็นไม้หน้าบันแบบใบปรือตัวเรือนยกพื้นสูงด้านล่างเป็นที่เก็บเกวียนหรือเรือได้

กุฎิเรือนแพ เดิมเป็นเรือนแพอยู่ในกรุงเก่าได้ถวายแก่วัดอัมพวันเมื่อปีพ.ศ.2451เพื่อทำเป็นกุฎิโดยปล่อยส่วนที่รับน้ำหนักแพให้จมลงและใช้อิฐก่อเป็นเสาตั้งรับบแทนเป็นเรือนแพแฝดแบ่งเป็นสองส่วนส่วนในเป็นห้องพักส่วนนอกเป็นชานประตูเป็นแบบฝาเฟี้ยมซึ่งนิยมกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯหลังคาแฝดเพื่อรับความกว้างของแพ ซึ่งเป็นลักษณะแบบพิเศษ

บั้มลงด้านละสองข้างหน้าบันแบบใบปรือเช่นเดียวกับหมู่กุฎิเรือนไทยฝาผนังแพด้านนอกเป็นแบบฝาถังวางตามขวางเรือนแพ กว้าง 9.25 เมตร ยาว11.20เมตรสูง2.50เมตรมีหน้าต่างด้านข้างๆละสองบาน

ธรรมมาสน์เป็นไม้แกะสลักขนาด1.50x1.50

เมตรสูง2.40เมตรเสาเป็นเกลียวเลียนแบบเสาแพมีลวดลาย
แกะสลักคล้ายก้านขดแบบเดียวกับบานประตู

หอไตรเก่าเป็นเรือนไม้แบบหกเหลี่ยมตั้งอยู่กลางสระใหญ่
มีสะพานไม้พาดไปจากขอบสระปัจจุบันรื้อออกแล้วจากข้อมูล
ที่กล่าวมาเป็นวัดที่เหมาะกับการมาเรียนรู้เรื่องของลักษณะและการก่อสร้างของโบสถ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ถือได้ว่าเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในตำบลบางอ้อที่น่าเรียนรู้

เรียบเรียงและเขียนโดย : นางสาวจุฑาภรณ์ หอมละออ

ภาพประกอบ : นางสาวจุฑาภรณ์ หอมละออ