ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ


ชาวตำบลอ่างคีรี อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และคนในประเทศไทยจะอาศัยเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้อย่างมหาศาล
แต่ในปัจจุบันการเกษตรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมาก ส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิต ประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบ
ตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรมีแนวโน้มมากขึ้น แต่กำลังความสามารถในการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอต่อความต้องการ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลอ่างคีรี
จึงได้คิดค้นการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตร มาใช้แทนปุ๋ยเคมี และได้รับความนิยมเป็นอย่างดี

ในการทำการเกษตรจำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการเลี้ยงดินเพื่อให้ดินเลี้ยงพืช อินทรียวัตถุต่าง ๆ เช่น มูลสัตว์ เศษพืช จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย
เป็นอาหารแก่พืช โดยทั่วไปเกษตรกรจะนำมาทำเป็นปุ๋ยคอก แต่ใช้เวลาย่อยสลาย 3-4 เดือน พืชจึงนำไปใช้ได้ ปัจจุบันจึงนิยมผลิต ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้จุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพเข้ามาช่วยเร่งกระบวนการ ทำให้สามารถย่อยสลายได้เร็วขึ้น ภายใน 5-7 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพก็สามารถย่อยสลายได้สมบูรณ์ การผลิตปุ๋ยในลักษณะนี้เป็นการนำวัตถุดิบ
ในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย เช่น มูลสัตว์ รำข้าว แกลบ เศษพืช มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี ได้ปุ๋ยต้นทุนต่ำ ลดรายจ่ายในเรื่องปัจจัยการผลิต เป็นการพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง


การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อใช้ในการเกษตร และสามารถประยุกต์ให้อยู่ในสภาพของแข็งได้ หรือพัฒนาเป็นแบบน้ำ
ก็ได้ อาจเรียกว่าปุ๋ยน้ำชีวภาพ ซึ่งก็คือปุ๋ยอินทร์ชีวภาพ ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพนั้น เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น สามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถ
สืบทอดให้บุคคลรุ่นหลังได้ทำตามเป็นแบบอย่าง เพื่อลดต้นทุนทางการเกษตรได้

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวกฤษฎาพร มุนตรีประถม

ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาวกฤษฎาพร มุนตรีประถม