นวัตกรรมสังคม

คือ แนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและตอบสนองต่อความหลากหลายของความต้องการทางสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับจากสังคมสามารถนำไปปฏิบัติใช้จริงเป็นวงกว้าง และพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน

ทักษะนวัตกรรมสังคม

ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1. การมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ 2. การประสานงานอย่างจริงจัง 3. การคิดเชิงระบบ 4. การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น และ 5. การเป็นผู้ประกอบการ โดยมีหลายละเอียด ดังนี้

1. การมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์

1. การมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การมีจินตนาการ การระดมความคิด การมีวิสัยทัศน์ และความกล้าหาญ

1) การมีจินตนาการ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการสร้างมโนทัศน์ที่ตนเองต้องการให้มีหรือต้องการให้เป็น มีความริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นสิ่งดีที่แตกต่างไปจากสิ่งเดิม

2) การระดมความคิด หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการกระตุ้นให้ถ่ายทอดความคิดออกจากตนเองหรือผู้อื่นในคณะทำงาน

3) การมีวิสัยทัศน์ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการสร้างมโนทัศน์ที่ต้องการให้เป็น ในอนาคต สามารถเป็นไปได้โดยกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน มองโลกด้านบวก และมองการณ์ไกล

4) ความกล้าหาญ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากับปัญหาหรือสถานการณ์เสี่ยงและสามารถหาทางออกให้กับปัญหาหรือสถานการณ์ได้

2. การประสานงานอย่างจริงจัง

2. การประสานงานอย่างจริงจัง หมายถึง การสื่อสาร การทำงานเป็นหมู่คณะ การสร้างเครือข่าย และความเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารี

1) การสื่อสาร หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับถ่ายทอดสารทั้งการรับและการส่ง โดยตั้งใจและจริงใจต่อฝั่งตรงข้าม

2) การทำงานเป็นหมู่คณะ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการร่วมทำงานกับผู้อื่นให้เกิดเป็นชิ้นงานหรือผลงานที่มีคุณภาพมากกว่าทำผู้เดียว ใช้การยืดหยุ่น ปรับตัวเข้าหากัน และต้องใช้ทักษะที่หลากหลายในการทำงาน

3) การสร้างเครือข่าย หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการเข้าสังคม สามารถโน้มน้าวใจหรือชักชวนผู้อื่นให้สมัครใจร่วมทำงานได้

4) ความเอื้อเฟื้อ โอบอ้อมอารี หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการแบ่งปัน ความเห็นใจ ความเข้าใจผู้อื่น

3. การคิดเชิงระบบ

3. การคิดเชิงระบบ หมายถึง การคิดแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ การคิดเชื่อมโยง และการวิเคราะห์ย้อนกลับ

1) การคิดแก้ไขปัญหา หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการหาทางออกให้ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้ความรู้และความสามารถของตนเอง หรือสืบค้นแนวทางแก้ไขจากแหล่งต่าง ๆ

2) การคิดวิเคราะห์ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการพิจารณารายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ที่หลากหลายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์นั้น ระหว่างสาเหตุและผลกระทบได้

3) การรวบรวม หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ

ที่หลากหลาย โดยใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลถึงความเหมาะสมในการเก็บข้อมูล

4) การวิเคราะห์ย้อนกลับ หมายถึง คุณลักณะของบุคคลเกี่ยวกับการวิเคราะห์โดยมองจากผลมาที่เหตุ หรือปลายทางมาต้นทาง

4. การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น

4. การเปลี่ยนแปลงสังคมที่เข้าใจและเห็นใจผู้อื่น หมายถึง ความเป็นผู้นำ ความเห็นอกเห็นใจ และการเปลี่ยนแปลง

1) ความเป็นผู้นำ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการนำความคิดของผู้อื่น

ในคณะทำงาน โดยแสดงออกถึงทักษะการบริหารที่ดี

2) ความเห็นอกเห็นใจ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการคำนึงถึงผู้อื่น

ความเข้าใจ ความตระหนักถึงส่วนรวม

3) การเปลี่ยนแปลง หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับความคิดเชิงรุกและเป้าหมายของความสำเร็จ โดยต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิมให้ดีขึ้น

4) ความอยากรู้อยากเห็น หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการให้ความสนใจ

ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยตั้งใจศึกษาค้นคว้าหาแก่นสารของเรื่อง

5. การเป็นผู้ประกอบการ

5. การเป็นผู้ประกอบการ หมายถึง การมีมุมมองทางธุรกิจ และความเป็นผู้ประกอบการ

1) การมีมุมมองทางธุรกิจ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับความเข้าใจในความเป็นไปตามกลไกธุรกิจ มีการลงทุน การดำเนินการ และการได้มาซึ่งผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ

2) ความเป็นผู้ประกอบการ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับการสร้างสิ่งใหม่หรือแนวทางการทำงานใหม่ซึ่งเป็นไปในเชิงธุรกิจ โดยสามารถเทียบเคียงได้กับคู่แข่งขันและก่อให้เกิดความสำเร็จต่อตนเองหรือองค์กรได้


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม

กลยุทธ์หลักที่ 1 เสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักเรียนตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 3 ด้าน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์รองที่ 1.1 ส่งเสริมการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนานักเรียนด้านการคิดเชิงระบบ และการมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และกลยุทธ์รองที่ 1.2 ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติการในการพัฒนานักเรียนด้านการเป็นผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับผลลัพธ์การพัฒนานักเรียนตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 3 ด้านประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์รองที่ 2.1 เพิ่มผลลัพธ์นักเรียนที่มีทักษะด้านการคิดเชิงระบบ และการมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และกลยุทธ์รองที่ 2.2 ปรับปรุงผลลัพธ์นักเรียนด้านการเป็นผู้ประกอบการ

กลยุทธ์หลักที่ 3 สร้างสรรค์กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักเรียนตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 3 ด้าน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์รองที่ 3.1 เพิ่มกลยุทธ์การพัฒนานักเรียนด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และกลยุทธ์รองที่ 3.2 ปรับปรุงกลยุทธ์การพัฒนานักเรียนด้านการเป็นผู้ประกอบการ และการคิดเชิงระบ

กลยุทธ์หลักที่ 4 ปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารสู่ความเป็นเลิศด้านบุคลากรตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 3 ด้าน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์รองที่ 4.1 สนับสนุนบุคลากรให้เป็นผู้มีทักษะด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์และการคิดเชิงระบบ และกลยุทธ์รองที่ 4.2 ปรับปรุงกระบวนการบริหารบุคลากรด้านการเป็นผู้ประกอบการ

กลยุทธ์หลักที่ 5 ขับเคลื่อนการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ตามแนวคิดทักษะนวัตกรสังคม 3 ด้าน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์รองที่ 5.1 ส่งเสริมการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ และกลยุทธ์รองที่ 5.2 ปรับปรุงการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ให้นักเรียนมีบทบาทในการวัดและประเมินผลตนเองด้านการคิดเชิงระบบ และการเป็นผู้ประกอบการ