ทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนชุมแสงชูทิศ 

(ปีการศึกษา 2566 - 2570)

วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ

วิสัยทัศน์

     

“ โรงเรียนมาตรฐานสากล เยาวชนมีคุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา เทคโนโลยีล้ำหน้าพัฒนาสู่ศตวรรษที่ 21 ” 

อัตลักษณ์

ผู้เรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนชุมแสงชนูทิศมีคุณลักษณะ ดังนี้

“แต่งกายสะอาด     มารยาทงาม     น้ำใจดี     มีคุณธรรม”

พันธกิจ

1.      ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การเป็นพลโลกที่ดีมีทักษะในศตวรรษที่ 21

2.      พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

3.      พัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ

4.      พัฒนาระบบเทคโนโลยีให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

5.      ส่งเสริมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

1.      ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ดำรงชีวิตตามศาสตร์พระราชา เป็นพลโลกที่ดี และมีทักษะในศตวรรษที่ 21

2.      ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

3.      โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ

4.      โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

5.      ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

กลยุทธ์

1.      ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะทางด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

2.      ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา

3.      ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

4.      ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนตามพระบรมราโชบาย “มีงานทำ มีอาชีพ”

5.      ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ

6.      ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียน

1.      ส่งเสริมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยของข้าราชการครู และเป็นผู้มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

2.      ส่งเสริมให้ครูมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย

3.      ส่งเสริมและพัฒนาทักษะครู ในการสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย

4.      ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีสมรรถนะในการทำงาน ทำงานอย่างเป็นระบบ และเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

1.      บริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

2.      สถานศึกษามีการกระจายอำนาจตามโครงสร้างบริหารงานอย่างเป็นระบบ

3.      พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน

4.  พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

5.      ปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้ “น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย”

พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยสามารถตอบสนองต่อการบริหารจัดการและการเรียนรู้ตลอดเวลา

ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา