คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

วิชาความลับของธาตุ รหัสวิชา ว31221                      กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1                      เวลา  60 ชั่วโมง   จำนวน 1.5 หน่วยกิต

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       ศึกษาและสืบค้นข้อมูล บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนัก   ในการทำปฏิบัติ สารเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำ ปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย  นำเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง บอกปฏิบัติตน เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เขียนรายงานการทดลอง

 สืบค้นข้อมูล สมมติฐาน การทดลองหรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม  เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และระบุจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป อธิบายแบบจำลองอะตอมที่มีความสัมพันธ์สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุกับอนุภาคภายในอะตอมและไอโซโทป อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยเมื่อทราบเลขอะตอมของธาตุ ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของกลุ่มธาตุธาตุเรพรีเซนเททีฟ และธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุวิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ตามหมู่และตามคาบ อธิบายความสัมพันธ์ของการจัดเรียงอิเล็กตรอน สมบัติของธาตุ ตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุ บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ  อธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี  สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อธิบาย เปรียบเทียบ สมบัติ ธาตุโลหะแทรนซิชัน ธาตุเรพรีเซนเททีฟ และกับธาตุโลหะและการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์ อธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก อธิบายการเกิด การเขียนสูตร การเรียกชื่อ คำนวณพลังงานจากวัฏจักร-บอร์นฮาเบอร์ สมบัติ และการเขียนสมการไอออนิกสุทธิของสารประกอบไอออนิก   อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​รวมทั้งคำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ  อธิบายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะ   โคเวเลนต์( VSEPR )  การเขียนสูตร การเรียกชื่อ ความยาวพันธะและการคำนวณพลังงานพันธะ-

โคเวเลนต์  คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์อิเล็กตรอนและระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือด และการละลายน้ำ ของสารโคเวเลนต์ สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ คาดคะเนรูปร่างโมเลกุล ระบุสภาพขั้ว ชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือด และการละลายน้ำ ของสารโคเวเลนต์และอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ

เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะได้อย่างเหมาะสม เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้ระหว่างทาง

1. บอกและอธิบายข้อปฏิบัติเบื้องต้น และปฏิบัติตนที่แสดงถึงความตระหนักในการทำปฏิบัติ สารเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัย ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิด อุบัติเหตุ

2. เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำ ปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. ระบุหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสาร และเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วย
การใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

4. นำเสนอแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง

5. บอกปฏิบัติตน เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เขียนรายงานการทดลอง

6. สืบค้นข้อมูล สมมติฐาน การทดลองหรือผลการทดลองที่เป็นประจักษ์พยานในการเสนอแบบจำลอง-อะตอมของนักวิทยาศาสตร์และอธิบายวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอม

7. เขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ และระบุจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์รวมทั้งบอกความหมายของไอโซโทป

8. อธิบายแบบจำลองอะตอมที่มีความสัมพันธ์สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุกับอนุภาคภายในอะตอมและไอโซโทป

9. อธิบายและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อยเมื่อทราบ
เลขอะตอมของธาตุ

10. ระบุหมู่ คาบ ความเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ของกลุ่มธาตุธาตุเรพรีเซนเททีฟ และธาตุแทรนซิชันในตารางธาตุ

11. วิเคราะห์และบอกแนวโน้มสมบัติของกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ ตามหมู่และตามคาบ

12. อธิบายความสัมพันธ์ของการจัดเรียงอิเล็กตรอน สมบัติของธาตุ ตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุ

13. บอกสมบัติของธาตุโลหะแทรนซิชัน และเปรียบเทียบสมบัติกับธาตุโลหะในกลุ่มธาตุเรพรีเซนเททีฟ

14. อธิบายสมบัติและคำนวณครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี

15. สืบค้นข้อมูลและยกตัวอย่างการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

16. อธิบาย เปรียบเทียบ สมบัติ ธาตุโลหะแทรนซิชัน ธาตุเรพรีเซนเททีฟ และกับธาตุโลหะและการนำธาตุมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

17. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

18. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

19. คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์

20. อธิบายสมบัติของสารประกอบไอออนิก

21. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

22. อธิบายการเกิด การเขียนสูตร การเรียกชื่อ คำนวณพลังงานจากวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์ สมบัติ และการเขียนสมการไอออนิกสุทธิของสารประกอบไอออนิก

23. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส

24. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

25. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​รวมทั้งคำนวณพลังงาน
ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

26. อธิบายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะ โคเวเลนต์( VSEPR )  การเขียนสูตร การเรียกชื่อ
ความยาวพันธะและการคำนวณพลังงานพันธะโคเวเลนต์

27. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์อิเล็กตรอนและระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

28. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือด
และการละลายน้ำ ของสารโคเวเลนต์

29. สืบค้นข้อมูลและอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

30. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุล ระบุสภาพขั้ว ชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือด และการละลายน้ำ ของสารโคเวเลนต์และอธิบายสมบัติของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

31. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ

32. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

33. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

ได้อย่างเหมาะสม

34. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

 

รวม 26 ผลการเรียนรู้ระหว่างทาง

รวม 8 ผลการเรียนรู้ปลายทาง