ประวัติ คณะศึกษาศาสตร์

      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เดิมชื่อคณะครุศาสตร์ ถือกำเนิดมาจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2483 โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประโยคครูประถม (ป.ป.) และนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 8 มาศึกษาต่อ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะจากครู ป.ป.ให้สูงขึ้นไปสู่ประโยคครูมัธยม (ป.ม.)
      ในระยะเริ่มแรกโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมยังไม่มีอาคารเรียนจึงไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ต่อมาได้ใช้อาคารริมถนนในเขตพระราชวังจันทรเกษมซึ่งอยู่ด้านหลังกระทรวงศึกษาธิการเป็นสถานที่เรียนจึงเรียกกันติดปากว่า “ป.ม. หลังกระทรวง”
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะ “โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม” เป็น “วิทยาลัยครู” และเปลี่ยนหลักสูตรการผลิตครูประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) เป็นการผลิตครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง)
      พ.ศ. 2502 กระทรวงศึกษาธิการจัดสร้างสถานที่ทำการคุรุสภา โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม จึงต้องย้ายจากหลังกระทรวงศึกษาธิการมาอยู่ที่ซอยสังขะวัฒนะ2 (ลาดพร้าว 23)แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครตั้งชื่อใหม่ว่า “วิทยาลัยครูจันทรเกษม” เพราะเคยอยู่ในเขตพระราชวังจันทรเกษมมาก่อน
      พ.ศ. 2517 ได้เปิดสอนนักศึกษาภาคปกติ ระดับประกาศนียบัตรอุดมศึกษา (ป.อ.) ซึ่งเทียบเท่าปริญญาตรี วิชาเอกคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยใช้หลักสูตรวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน)
      พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 มีผลให้ส่วนราชการในวิทยาลัยคร ประกอบด้วย สำนักงานอธิการบดี และคณะวิชาซึ่งได้แก คณะวิชาครุศาสตร์ คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิชาแบ่งส่วนราชการเป็นภาควิชาคณะวิชาครุศาสตร์จึงได้ถือกำเนิดอย่างเป็นรูปธรรมในปีนี้และได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
      พ.ศ. 2519 งดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะส่งเสริมวิทยฐานะ ผู้ประกอบวิชาชีพครูให้สูงขึ้นและได้เปิดสอน ระดับปริญญาตรี วิชาเอกเกษตรกรรม หลักสูตร 2 ปี เพิ่มขึ้นอีก 1 วิชาเอก
      พ.ศ. 2522 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี วิชาเอกการประถมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พลศึกษาและเปิดรับนักศึกษาตามโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี
      พ.ศ. 2523 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป และพลศึกษา
      พ.ศ. 2525 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์(สาขาช่างก่อสร้าง และศิลปหัตถกรรม) เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาและได้จัดการศึกษาต่อเนื่องระดับ ป.กศ.ชั้นสูง สายวิชาชีพครูโดยเรียนระหว่างเวลา 15.30 – 20.30 น.
      พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี วิชาเอกศิลปศึกษา บรรณารักษศาสตร์ จิตวิทยาและการแนะแนว พ.ศ. 2529 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการวัดผลการศึกษา และธุรกิจศึกษาและเปิดหลักสูตร 2 ปี วิชาเอกดนตรีศึกษาคอมพิวเตอร์ศึกษา และสุขศึกษา
      พ.ศ. 2530 เปิดสอนตามหลักสูตรวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2530 ซึ่งแบ่งเป็น 3 สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาศิลปศาสตร์ โดยสาขาวิชาการศึกษาได้เพิ่มวิชาเอกในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ได้แก่ การประถมศึกษา บรรณารักษศาสตร์ อุตสาหกรรมศิลป์ คหกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เคมี เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา ส่วนหลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) ได้เปิดวิชาเอกประวัติศาสตร์
      พ.ศ. 2531 เปิด ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกดนตรีศึกษา คณิตศาสตร์ ชีววิทยาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
      พ.ศ. 2533 เปิดสอนระดับอนุปริญญาครุศาสตร์ (อ.คศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาเอกการศึกษาปฐมวัยและระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) วิชาเอกนาฏศิลป์และการละคร
      พ.ศ. 2534 เปิดศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต่อมาได้ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม”
      พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
      พ.ศ. 2537 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
      พ.ศ. 2538 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ในราชกิจจานุชเบกษา วิทยาลัยครูจันทรเกษม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏจันทรเกษม คณะครุศาสตร์ จึงมีภารกิจและบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 คือให้การศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู โดยแบ่งออกเป็น 7 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว ภาควิชาทดสอบและการวิจัย ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ และภาควิชาหลักสูตรและการสอน ต่อมาในปีการศึกษา 2542 สภาประจำสถาบันราชภัฏจันทรเกษมเห็นชอบให้คณะต่างๆบริหารการเรียนการสอนแบบโปรแกรมวิชา สถาบันจึงมีประกาศให้คณะครุศาสตร์บริหารงานแบบโปรแกรมวิชาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2542 มี 7 โปรแกรมวิชา ได้แก่
      1. โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
      2. โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
      3. โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
      4. โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา
      5. โปรแกรมวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
      6. โปรแกรมวิชาธุรกิจศึกษา
      7. โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา
      ในปี พ.ศ. 2547 คณะครุศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะศึกษาศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
      ในปี พ.ศ. 2549คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรการผลิตบัณฑิตด้านสายการศึกษาจากเดิมหลักสูตร 4 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีนเป็นแห่งแรกมีการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาเป็น 3 แขนงวิชา และปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 3แขนงวิชา
แขนงวิชามัลติมีเดีย
แขนงวิชาการจัดการความรู้และฝึกอบรม
แขนงวิชาถ่ายภาพ(เปิดรับนักศึกษา 2 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชามัลติมีเดีย และแขนงวิชาถ่ายภาพ)
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
สาขาวิชาภาษาไทย
สาขาวิชาคณิตศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาสังคมศึกษา
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
สาขาวิชาศิลปกรรม
      3. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549
สาขาวิชาภาษาจีน
สาขาวิชาพลศึกษา
      4. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
      5. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549
สาขาวิชาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การประถมศึกษา)
      6. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
      7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลกสูตร 4 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549
สาขาวิชาจิตวิทยา
      ในปี พ.ศ. 2554 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
      3. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554
สาขาวิชาพลศึกษา
      4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554
สาขาวิชาจิตวิทยา (เปิดทั้งในภาคเวลาราชการและภาคนอกเวลาราชการ)
      ในปี พ.ศ. 2555 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(หลักสูตร 5 ปี) ดังนี้
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรบูรณาการ)
สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรบูรณาการ)
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรบูรณาการ)
      พ.ศ. 2559 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) และหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาพลศึกษา
      3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาจิตวิทยา (เปิดทั้งในภาคเวลาราชการและภาคนอกเวลาราชการ)
      พ.ศ. 2560 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาพลศึกษา
      3. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรบูรณาการ)
      4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
สาขาวิชาจิตวิทยา (ภาคเวลาราชการ และภาคนอกเวลาราชการ)
      5. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
      พ.ศ. 2561 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู จำนวน 1 หลักสูตร ดังนี้
      1. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาวิชาชีพครู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
      ในปี พ.ศ. 2562 คณะศึกษาศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตร จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้
      1. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
      2. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 สาขาวิชาพลศึกษา
      3. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
      4. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
      ในปี พ.ศ. 2562 คณะศึกษาศาสตร์ได้รับการโอนย้ายหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 จากบัณฑิตวิทยาลัยมาสังกัดคณะศึกษาศาสตร์

      ทำเนียบผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์
      1. ดร.สุวรรณ นาคพนม
      2. อาจารย์ศิริราช อำไพภักดิ์
      3. อาจารย์กัมพล นรพัลลภ
      4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเลิศ กลางใจ
      5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คำนึง ภูริปริญญา
      6. รองศาสตราจารย์สุวรรณี ศรีคุณ
      7. รองศาสตราจารย์ภัทรา นิคมานนท์
      8. ดร.อรุณ สำเภาทอง
      9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยโรจน์ บุญญานุวัตร
      10. รองศาสตราจารย์มัณฑรา ธรรมบุศย์
      11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำรัส มีกุศล
      12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไสว ฟักขาว
      13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประไพ บวรฤทธิเดช
      14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษมศรี อัศวศรีพงศ์ธร
      15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติวัสส์ สุขป้อม (ปัจจุบัน)

ปรัชญา (Philosophy) วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) 

      ปรัชญา (Philosophy)

"ครูดี มีปัญญา สร้างคุณค่าในแผ่นดิน"

ครูดี : มีจิตวิญญาณความเป็นครู และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู

มีปัญญา : รอบรู้ เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ มีทักษะการจัดการเรียนรู้และทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21

สร้างคุณค่าในแผ่นดิน : เป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพครูและทำประโยชน์ให้กับชุมชน สังคม

      วิสัยทัศน์ (Vision)

คณะศึกษาศาสตร์เป็นผู้นำในการผลิต พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีมาตรฐาน สอดคล้องกับประชาคมอาเซียนและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21

      พันธกิจ (Mission)

1. บริการวิชาการ สู่งานวิจัย สร้างเครือข่ายการให้บริการทางการศึกษาตามความต้องการของท้องถิ่น และชุมชนเมือง ที่สอดคล้องกับแนวทางตามพระราชดำริ และนโยบายการพัฒนาประเทศ
2. พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู
3. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้ได้มาตรฐาน และส่งเสริมนักศึกษาให้มีมีทักษะด้านพหุภาษและวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล

      อัตลักษณ์บัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ (Identity)

“บัณฑิตดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู รอบรู้วิชาชีพ”

บัณฑิตดี : มีคุณธรรม จริยธรรม

มีความเป็นครู : มีความศรัทธาในวิชาชีพ

รอบรู้วิชาชีพ : มีความรู้ และทักษะในวิชาชีพ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพตามศาสตร์ของตนและมีความรู้พหุภาษา

      เอกลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์ (Uniqueness)

“ผลิตครูและบัณฑิต ที่สามารถสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ได้”

      รายละเอียดเชิงยุทธศาสตร์

แผนกลยุทธ์คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 11 ตัวชี้วัด และ 7 กลยุทธ์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาท้องถิ่น

เป้าประสงค์

พัฒนาท้องถิ่น และชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยมีการบูรการกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย

ตัวชี้วัด

1. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่บริการ
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ต่อจำนวนผู้รับบริการวิชาการตามแผน

กลยุทธ์

สร้างความร่วมมือในการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ และดำเนินโครงการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเป้าหมายพื้นที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนาครู

เป้าประสงค์

1. บัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มีสมรรถนะทางวิชาชีพที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
2. คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมไทย ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนท้องถิ่น และชุมชนเมือง

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละการได้งานทำภายในระยะเวลา 1 ปี ของผู้สำเร็จการศึกษา
2.ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต และผู้ประกอบการ ที่มีต่อบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์
3. ร้อยละของนักศึกษาผ่านเกณฑ์การวัดผล IC3 (DIGITAL LITERACY CERTIFICATE)
4. ระดับความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้น
5. ร้อยละของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ตอบแบบสำรวจที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในรูปแบบออนไลน์

กลยุทธ์

1. พัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการและวิชาชีพของนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์
2. ส่งเสริม รักษาวัฒนธรรมไทยในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่ชุมชน และท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษา

เป้าประสงค์

พัฒนาคุณภาพการศึกษา และการเรียนรู้ ทางด้านภาษาและด้านวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

ตัวชี้วัด

ร้อยละของนักศึกษาผ่านเกณฑ์การวัดผล CEFR ไม่น้อยกว่า B1

กลยุทธ์

พัฒนาทักษะด้านพหุภาษาส่งเสริมนักศึกษาให้มีความสามารถ ทักษะด้านวิชาชีพ

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

เป้าประสงค์

สร้างระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล การประกันคุณภาพ พร้อมรับการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21

ตัวชี้วัด

1. ผลการประเมินผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาล
2.ผลคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษา
3.ร้อยละของบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์ได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 

กลยุทธ์

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
2. พัฒนาระบบบริหารงานตามประกันคุณภาพการศึกษาพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการและสนับสนุนวิชาการสู่ความเป็นเลิศมืออาชีพสอดคล้องกับสังคมศตวรรษที่ 21

ค่านิยม

ค่านิยมองค์กร คณะศึกษาศาสตร์ มาจากคำว่า CRU ซึ่งประกอบด้วย

C มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

R มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsibility)

U มีความเป็นเอกลักษณ์ในแบบศึกษาศาสตร์ (Unique)

สีประจำมหาวิทยาลัย และคณะศึกษาศาสตร์

สีเหลือง มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

สีเทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

สีฟ้า คณะศึกษาศาสตร์

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นแคฝรั่ง : (Gliricidia sepium (Jacq.) Steuq Kunth ex Walp.) เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่จะสูง 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีตั้งแต่สีเทาขาวไปจนถึงสีน้ำตาลแดง มีถิ่นกำเนิดที่อเมริกากล
และแม็กซิโก ดอกแคฝรั่งจะมีสีชมพูสดหรือสีม่วงแต้มขาว แคฝรั่งออกดอกช่วงฤดูหนาวให้ดอกสวยงาม