Empowering Local Story

การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
และความคิดสร้างสรรค์ครั้งสำคัญในรอบ 20 ปี

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC)
ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
บนรากฐานการใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีความพร้อมสำหรับการก้าวสู่อนาคต

TCDC กำลังขยายเครือข่ายไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
เพื่อต่อยอดคุณค่าสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม พร้อมสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์ 



ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงราย

โดย 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ แพร่

โดย 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อุตรดิตถ์

โดย 

มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พิษณุโลก

โดย 

เทศบาลนครพิษณุโลก

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ นครราชสีมา

โดย 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สุรินทร์

โดย 

เทศบาลเมืองสุรินทร์

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศรีสะเกษ

โดย 

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ อุบลราชธานี

โดย 

เทศบาลนครอุบลราชธานี

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภูเก็ต

โดย 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ปัตตานี

โดย 

เทศบาลเมืองปัตตานี

Checklist 

ส่งผลงานประกวดแบบ 

สำหรับนักออกแบบทุกท่านที่สมัครรับข้อมูล Design Brief การประกวดแบบศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งใหม่ (New TCDC) ใน 10 จังหวัด 

ส่งผลงานภายใน 30 มิถุนายนนี้ 

อ่านรายละเอียด


ดาวน์โหลดข้อมูลของโครงการจัดตั้ง TCDC ส่วนภูมิภาค


 

มีคำถามหรือข้อสงสัย?

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ขอคำแนะนำในการกรอกใบสมัคร
รวมถึงมีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการจัดตั้ง TCDC 

ติดต่อ new@tcdc.or.th หรือ Line: @tcdc

โทร 02 105 7400 ต่อ 203 หรือ 242

 คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ)

การร่วมประกวดแบบปรับปรุง New TCDC ทั้ง 10 จังหวัด 

Q : หากสนใจส่งใบสมัครเพื่อประกวดแบบเพิ่มเติม สามารถทำได้หรือไม่ 

A : ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากปิดรับสมัครไปแล้วเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ผู้ที่สามารถส่งประกวดแบบได้จะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2567 และได้รับฟัง Design Brief ในวันที่ 7 มิถุนายน 2567 เท่านั้น

Q : ผู้สมัครเข้าร่วมประกวดแบบสามารถเลือกออกแบบผลงานได้อย่างไรบ้าง

A : นักออกแบบสามารถเลือกออกแบบพื้นที่ในภูมิภาคใดก็ได้ และสามารถส่งผลงานในจังหวัดเดียวกันได้ แต่มีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกเพียง 1 ผลงาน/ จังหวัด และจำนวนผลงานที่ส่งทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 3 ผลงาน / 3 จังหวัด โดยมีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกสูลสุด 3 จังหวัด 

Q : ในกรณีที่สมัครเข้าร่วมประกวดแบบนิติบุคคลในการขอรับข้อมูล Design Brief แต่ในวันส่งผลงานสามารถเปลี่ยนเป็นส่งแบบบุคคลได้หรือไม่

A : ผู้สมัครสามารถเลือกยื่นเอกสารทั้งในรูปแบบนิติบุคคล หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดาได้ ซึ่งจะต้องแนบรายชื่อทีมและใบประกอบวิชาชีพของทุกคนในทีม โดยจะมีแบบฟอร์มออนไลน์ ให้กรอกและแนบเอกสารต่างๆ พร้อมจัดส่งผลงานอีกครั้งหนึ่ง (ภายใน 30 มิถุนายน 2567) 

**ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะผู้ที่สมัครเข้าร่วมรับฟัง Design Brief จำนวน 153 ทีมเท่านั้น**

Q : ผู้สนใจเข้าร่วมประกวดแบบสามารถส่งผลงานในนามกิจการร่วมค้า (Joint Venture) กับบริษัทหรือบุคคลที่ลงทะเบียนแล้วได้หรือไม่ 

A : ผู้สนใจที่ลงทะเบียนไม่ทันในวันที่ 5 มิถุนายน 2567 สามารถร่วมส่งผลงานในนามกิจการร่วมค้าได้ โดยจะต้องประสานงานกับบริษัทหรือบุคคลที่ได้สมัครเข้าร่วมด้วยตนเอง และระบุข้อมูลผู้ร่วมออกแบบในขั้นตอนการส่งผลงาน

Q : สมาชิกในทีมประกวดแบบต้องมีใบประกอบวิชาชีพของบุคคลใดบ้าง 

A : ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม (อย่างน้อยด้านละ 1 คน) โดยจะต้องเป็นใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ

Q : ค่าก่อสร้างรวมค่าเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว (Loose Furniture), เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน (Built-in Furniture) และระบบปรับอากาศด้วยหรือไม่

A : ค่าก่อสร้างจะรวมทั้งราคาค่าเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ค่าเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน และค่าระบบปรับอากาศ

Q : การส่งผลงานในรอบแรก (Prelim) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

A : 1) เอกสารที่จัดส่งทางไปรษณีย์ หรือ จัดส่งด้วยตนเอง


    2) เอกสารที่ต้องแนบเพิ่มเติมในแบบฟอร์มออนไลน์ 

(ห้ามแสดงโลโก้ ชื่อบริษัท หรือชื่อนักออกแบบบนเอกสาร ให้ระบุเฉพาะรหัสที่ได้รับตอนลงทะเบียนเท่านั้น หากพบชื่อหรือโลโก้ ถือเป็นโมฆะทันที)

     2.1 ระบุรายชื่อคนในทีม (ทั้งในรูปแบบนิติบุคคลและบุคคล)

         - รายชื่อสถาปนิกในทีม พร้อมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ยังไม่หมดอายุของทุกคน

         - รายชื่อวิศวกรในทีม เช่น ไฟฟ้า โครงสร้าง (ถ้ามี) สุขาภิบาล (ถ้ามี) พร้อมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่ยังไม่หมดอายุของทุกคน

         - รายชื่อนักออกแบบในสาขาอื่น ๆ ถ้ามี เช่น สาขากราฟิก การออกแบบแสงสว่าง เป็นต้น

     2.2 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่เป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิศวกรรมที่ยังไม่หมดอายุ (กรณีสมัครในนามนิติบุคคล ที่ระบุไว้ตามพรบ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ปี พศ. 2560 มาตรา 87 วรรค 2)

     2.3 หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน (กรณีสมัครในนามนิติบุคคล)

     2.4 Portfolio ของบริษัทหรือบุคคล ที่ระบุรายละเอียดประวัติการทำงาน ตัวอย่างผลงานที่เคยทำ และ ผลงานการออกแบบที่สร้างแล้วเสร็จในระยะเวลา 5 ปี (นับจากวันที่สร้างแล้วเสร็จ) มูลค่าไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท จำนวน 2 ผลงาน พร้อมระบุรายละเอียด รูปภาพประกอบ ขอบเขตรับผิดชอบ ขนาดพื้นที่ (ตร.ม.) และมูลค่าก่อสร้างโครงการ (ไม่สามารถรวมมูลค่าของหลายผลงานเพื่อให้ได้ 5 ล้านบาทได้) 

     2.5 ใบลงทะเบียนระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (E-gp) (ถ้ามี)

Q : ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะต้องทำอย่างไร 

A : ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 3 ทีม/จังหวัด รวม 30 ทีม ต้องเตรียมนำเสนอแบบกับคณะกรรมการที่ TCDC กรุงเทพฯ เป็นเวลาทีมละ 15 นาที โดยไม่จำกัดวิธีการและจำนวนผู้นำเสนอ และตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการ 10 นาที ในวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2567 (แจ้งลำดับการนำเสนอรายจังหวัดในภายหลัง) 

*ผู้ที่ไม่สามารถมานำเสนอผลงานในวันและเวลาดังกล่าว จะถือว่า สละสิทธิ์*

การสมัครเข้าร่วมเป็น NEW TCDC

Q : ต้องเป็นหน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่นระดับใดจึงจะสมัครได้ 

A : องค์กรส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบสามารถเข้าร่วมได้ แต่การดำเนินงานและกิจกรรมของ TCDC จะดำเนินการครอบคลุมทั้งจังหวัด

Q : ภาคเอกชน หอการค้า สถาบันการศึกษาสามารถสมัครเข้าร่วมได้หรือไม่

A : สามารถเข้าร่วมได้แต่ควรมีความร่วมมือที่เข้มแข็งกับหน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และต้องมีการกำหนดแผนงบประมาณสนับสนุนรายปี ร่วมกับ TCDC ในส่วนกลาง 

Q : ต้องวางแผนงบประมาณ หรือเตรียมค่าใช้จ่ายอย่างไร

A : องค์กรส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเตรียมแผนงานโครงการสำหรับปีงบประมาณ 2569 เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกับการดำเนินกิจกรรมของ TCDC ได้แก่

Q : TCDC ในส่วนกลางสนับสนุนในส่วนใดบ้าง

A : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะจัดเตรียมแผนงานและคำของบประมาณ เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น อาทิ

Q : พื้นที่อย่างไรที่เรากำลังมองหา

A : พื้นที่ในการจัดตั้ง TCDC ควรเป็นพื้นที่เปิดเป็นสาธารณะ เพื่อให้ประชาชน นักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย อยู่ในทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง และมีชุมชนใกล้เคียงสนับสนุนเพื่อการจัดกิจกรรมเชิงพื้นที่สร้างสรรค์ โดยหน่วยงานร่วมจัดตั้งจะต้องมีสิทธิ์ในการใช้งาน และมีความพร้อมในการอนุญาตให้ปรับปรุงอาคารสถานที่ดังกล่าวภายในปีงบประมาณ 2567 เพื่อจัดให้เกิดการบริการในรูปแบบที่กำหนด 

Q : ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้างในการตอบแบบฟอร์มสมัครเพื่อคัดเลือก

A : โดยหลักข้อมูลที่ต้องใช้เพื่อตอบแบบฟอร์มสมัคร จะเกี่ยวข้องกับการแสดงความเชื่อมั่นในความพร้อมด้านสถานที่ ความพร้อมด้านการสนับสนุนงบประมาณที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ รวมถึงเครือข่ายนักสร้างสรรค์ และกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ โดยสามารถดูแนวทางของคำถามทั้งหมดได้ ที่นี่