บ้านเมืองเตย

ประวัติความเป็นมาบ้านเมืองเตย

ประวัติความเป็นมา : บ้านเมืองเตย หมู่ที่ ๘ เป็นหมู่บ้านที่แยกออกจากบ้านสงเปือย เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยมีบรรพบุรุษมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๑๘๐ กองทัพจากกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพไปตีเมืองลาวจนได้รับชัยชนะกลับมา จึงกวาดต้อนผู้คนจากเมืองลาวมาเป็นเชลย บางกลุ่มนำไปอยู่ในเมืองหลวงบางกลุ่มก็นำมาในเขตไทย กลุ่มหลังได้มายึดครองบ้านสงเปือย เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้ดงเมืองเตยซึ่งเป็นเมืองร้างสมัยขอม มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ใกล้ลำน้ำชีและห้วยกะหล่าวประชากรส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่อยู่กันมาแต่เดิมไม่มีการย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากพื้นที่อุดมสมบูรณ์ดีทำให้มีคนย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นแบบพี่น้อง มีความสนิทสนมกันทั้งหมู่บ้านให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสมัคคีกันดี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพรองคือ การปลูกผักสวนครัว,เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ฯลฯ

ที่ตั้ง อาณาเขต สภาพพื้นที่

ทำเลที่ตั้ง : โบราณสถานดงเมืองเตยตั้งอยู่ภายในชุมชนโบราณดงเมืองเตย ทางทิศใต้ของบ้านดงเมืองเตย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

จากตัวจังหวัดยโสธร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๓ (ถนนแจ้งสนิท) มุ่งหน้าทางทิศใต้หรือมุ่งหน้าต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เลี้ยงขวามุ่งหน้าบ้านสงเปือย ประมาณ ๔.๗ กิโลเมตร ถึงตัวหมู่บ้าน เลี้ยวซ้ายใช้ถนนภายในหมู่บ้านประมาณ ๕๕๐ เมตร เลี้ยวซ้ายอีกประมาณ ๖๕๐ เมตร ถึงตัวเนินดงเมืองเตยและสำนักสงฆ์ดงเมืองเตย โบราณสถานดงเมืองเตย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเนิน

ลักษณะภูมิประเทศ : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ทุ่งนา สภาพดินร่วนปนทราย มีพื้รชนที่ป่าบริเวณสถานดงเมืองเตยจำนวน ๑๕๐ ไร่ แหล่งน้ำธรรมชาติและใกล้ลำน้ำชี

การคมนาคม : การเดินทางโดยใช้ รถจักรยานยนต์ รถยนต์