พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ

จัดทำโดย

นายธราเทพ บำเพ็ญพงษ์ รหัส 045

นายศักดิ์สิทธิ์ เจิงรัมย์ รหัส 052

นายสนธยา ล้านทอง รหัส 053

นายสุรศักดิ์ นามประโคน รหัส 055

นางสาวกันทิยา ไชยเพ็งจันทร์ รหัส 059

นางสาววรรณภา สร้างไร่ รหัส 074

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปี 3 หมู่ 2


ทนำ

ข้อมูลข่าวสารของราชการมีการพัฒนาหลายยุคหลายสมัยเพื่อให้เข้ากับการบริหารงานเป็นสิ่งที่สำคัญต่อลักษณะหรือสิทธิในการยึดถือข้อมูลข่าวสารนั้นว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจการครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือเอกชนใดๆ ก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนส่งผลต่อการบริหารงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริหารภาครัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจึงต้องมีการจัดตั้งพระราชบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือการดำเนินงานต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในปัจจุบันซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540


ลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รับรู้ และเข้าถึงได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ได้ด้วยตนเอง หรือ รับรู้จากผู้อื่นที่ส่งข้อมูลต่อ ๆ กันมา ซึ่งหนึ่งในข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น ก็จะมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับความไม่โปร่งใส หรือการทุจริตภายในหน่วยงานภาครัฐ รวมอยู่ด้วย จากข่าวสารที่เกิดขึ้น หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ทำไมถึงมีการตรวจสอบรายละเอียดเหล่านั้นได้ และทราบได้อย่างไรว่ามีความไม่โปร่งใส หรือการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 58 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสีย อันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ในที่นี้ระบอบประชาธิปไตย ได้มีการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นเป็น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขึ้นมา


นวคิด

1.รับรองสิทธิได้รู้ หรือได้รับทราบของประชาชน (Right to Know) ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”

1.1 การปกป้องประโยชน์ส่วนบุคคล

1.2 การปกป้องประโยชน์ส่วนสาธารณะ

2. การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารสำคัญภายใต้หลักการ “ความจำเป็นในการคุ้มครอง” คือ

2.1 การคุ้มครองความลับของทางราชการ โดยมีระเบียบกำหนดไว้แน่ชัดว่าข้อมูลข่าวสารใดจะกำหนดชั้นความลับได้บ้าง

2.2 การคุ้มครองประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน เช่น ความลับทางการค้าสูตรผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต ฯลฯ

2.3 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ภายใต้หลักการ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” มิให้มีการละเมิดซึ่งจะกระทบต่อสิทธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว


ระเภทข้อมูลข่าวสารของราชการ

1. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป

1.1 ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว (มาตรา 7)

1.2 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ตามมาตรา 7 (4) ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบก จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้ว เป็นเวลาพอสมควร (มาตรา 8)

1.3 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9

1.4 ข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกเหนือจากข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 ตามมาตรา 11

1.5 ข้อมูลข่าวสารที่คัดเลือกไว้ให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า เอกสารประวัติศาสตร์ ตามมาตรา 26

2. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยเป็นการเฉพาะ

ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคลเช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติ

อาชญากรรมหรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมายรหัสหรือ สิ่งบอกลักษณะอื่นที่

ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ รูปถ่าย ตามมาตรา 4 และ มาตรา 21

3. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย

ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยไม่ได้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้ ตามมาตรา 14 และ กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 15


รุป

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกฎหมายที่รองรับสิทธิได้รู้ของประชาชน ที่เกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับข้อมูล หรือข่าวสารนั้น และเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านประชาชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยตรงสามารถแสดงความคิดเห็นของตนและสะท้อน ความต้องการของตนและชุมชนจากข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ ในด้านของหน่วยงานรัฐ ทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี มีระบบข้อมูลที่ช่วยการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้บริการต่าง ๆ รวดเร็ว เป็นธรรม และถูกต้อง และในด้านสังคมส่วนรวมทำให้เกิดค่านิยมและวิถีปฏิบัติที่ดี มีการส่งเสริมแนวความคิดของสังคมแบบประชาธิปไตย