ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครอง

(1) หนึ่งฤทัย ชุ่มมุณีรัตน์ (2) สุขฤดี อรัณยกานนท์ (3) พิมพ์ชนก สมอาษา (4) ปิ่นมณี การุญ

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

(1) 640112801051@bru.ac.th  (2) 640112801046@bru.ac.th (3) 640112801035@bru.ac.th (4) 40112801033@bru.ac.th  

15 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลปกครองคือ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่าง หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย โดยมีศาลรัฐธรรมนูญก็มีผลทางกฎหมายเป็นเพียงการเพิ่มองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการโดยแต่ละศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ โดย ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองและศาลยุติธรรมเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นในการฟ้องคดีต่อศาล ต้องเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าเป็นคดี ประเภทไหน และอยู่ในอำนาจของศาลไหน เพื่อที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายได้ถูกต้อง คดีที่ฟ้อง ต่อศาลปกครองไม่ได้ก็อาจต้องไปฟ้องยังศาลยุติธรรมต่อไป การจัดตั้งศาลปกครองจึงมีผลที่สำคัญประการหนึ่งคือทำให้คดีแพ่งบางเรื่องที่เคยฟ้องที่ศาลยุติธรรม ต้องมาฟ้องที่ศาล ปกครอง ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงศาลปกครองคืออะไร หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้าง ที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครอง

คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด ดังนี้

1.ศาลปกครอง คืออะไร

ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ

ฤทัย หงส์ศิริ (2560 : 5) ให้ความหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 197 “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้มีศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรอิสระซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรอิสระนั้นๆการจัดตั้ง วิธีพิจารณาคดี และการดำเนินงานของศาลปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น”

สำนักงานศาลปกครอง (2558 : 3) ให้ความหมายว่า องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า คดีปกครอง ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย ออกคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรหรือมีการกระทำละเมิดหรือต้องรับผิดอย่างอื่นใดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองด้วย

สุนันทา เอกไพศาลกุล (2560 : 9) ให้ความหมายว่า ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ

1. ศาลปกครองชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

2.ศาลปกครองสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดประกาศกำหนดคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาหรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุดและคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีปกครอง (ระบบไต่สวน ให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาและแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการพิจารณาพิพากษาคดี) กระบวนพิจารณาคดีปกครองจะมีหลักการที่สำคัญ คือเป็นกระบวนการพิจารณา ที่ส่วนใหญ่จะเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นระบบไต่สวน

กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึง องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 197 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ศาลปกครองชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก ศาลปกครองสูงสุดใช้ระบบไต่สวนและลายลักษณ์อักษรในการพิจารณาคดีปกครองในการดำเนินกระบวนการพิจารณาและแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการพิจารณาพิพากษาคดี

2.หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องต่อศาลปกครอง

หน่วยงานทางปกครอง (2557 : 8) เจ้าหน้าที่ของรัฐพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หน่วยงานทางปกครอง" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครองประเภทของหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

หลักกฎหมายปกครอง (2560 : 11)

(1) ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครองข้าราชการ ในความหมายทั่วไป หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ข้าราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่างๆ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ซึ่งสามารถแบ่งข้าราชการออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการการเมือง และข้าราชการประจำ

(2) เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลชี้งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (2) ของคำนิยาม "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีลักษณะของการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะ ออกมาจากคณะบุคคลหรือบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ โดยกลุ่มบุคคลหรือบุคคลตาม (2) ของคำนิยาม "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" นี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1)คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตัดสินหรือชี้ขาดข้อพิพาท

2) คณะกรรมการซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ

 3) บุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่ง หรือมติใดๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล

(3) เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม (1) หรือ (2 )เจ้าหน้าที่ของรัฐในความหมายของการเป็นบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือ ในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ครอบคลุมถึงบุคลากรที่ปฏิบัติงานในจัดทำบริการสาธารณะทุกประเภท โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทนี้อาจมิได้มีฐานะเป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ที่ปฏิบัติงานใน

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานของรัฐ แต่อยู่ในการบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทที่เป็นข้าราชการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป เช่น เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในการบังคับบัญชาของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อยู่ในการบังคับบัญชาของประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, การดำเนินงานของคณะกรรมการสรรหาในการคัดเลือกกรรมการ กสช. จึงอยู่ในความดูแลและดำเนินการของรัฐบาล

3. คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

สำนักงานทนายความคดีปกครอง (2558 : 1-5)การฟ้องคดีปกครองได้บัญญัติหลักเกณฑ์วิธีการไว้ใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และอีกส่วนหนึ่งกำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 การเสนอคำฟ้อง การยื่นฟ้องต่อศาล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ประเภทของคดีปกครองที่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้นั้น นอกเหนือจากคดีเพิกถอนกฎหรือคำสั่ง คดีเวนคืน หรือคดีสัญญาทางปกครอง แล้ว ยังสามารถพิจารณาโดยจำแนกประเภทของคดีปกครองออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการเวนคืน หรือการรอนสิทธิ์ เช่น

– คดีที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เช่น การกำหนดค่าทดแทนการเวนคืน ไม่ว่าจะเป็นค่าทดแทนที่ดิน ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง หรือค่าทดแทนต้นไม้ที่กำหนดให้โดยไม่เหมาะสม

– คดีที่เกี่ยวกับการกำหนดแนวเขตและการพิจารณากำหนดค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการที่ทำให้ที่ดินของเอกชนตกอยู่ในสภาพอันไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เช่น อยู่ในแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า หรืออยู่ในแนวเขตท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเจ้าของไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนได้อย่างเต็มที่

2. คดีปกครองที่เกี่ยวกับที่ดิน เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

– คดีฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอออกโฉนดที่ดิน

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการการเช่านา

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ได้ยื่นขอไว้

3. คดีปกครองที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด เช่น

– คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำละเมิดต่อเอกชน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำละเมิดต่อหน่วยงาน เช่น ก่อสร้างถนน ถมที่ดิน ตอกเสาเข็ม สร้างทาง รุกล้ำที่ดินของเอกชนและก่อให้เกิดความเสียหาย

– คดีเกี่ยวกับคำสั่งของหน่วยงานที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

4. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีการออกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกฎหมายควบคุมอาคาร

– คดีฟ้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีละเลยไม่ดำเนินการกับอาคารที่ก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคาร

– คดีฟ้องเกี่ยวกับการวางผังเมืองตามกฎหมายผังเมือง

5. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินหรือฟ้องว่าคณะกรรมการจัดสรรที่ดินละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการและกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

6. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการพัสดุและสัญญาทางปกครอง เช่น

– คดีที่เกี่ยวกับสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ อันลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญารับทุนการศึกษา สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาปรับปรุงภูมิทัศน์

– คดีที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำ การซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย รวมถึงการตัดสิทธิการเข้าร่วมดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ และระเบียบของหน่วยงานทางปกครองเกี่ยวกับการพัสดุ

– คดีที่เกี่ยวกับการริบหลักประกันซองของผู้เข้าร่วมการเสนอราคา

7. คดีปกครองที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น

– คดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทบสิทธิของราษฎรในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

– คดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับงานทะเบียนบุคคล เช่น การใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนต่างด้าว หรือกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว หรืองานทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักรหรือกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน

กล่าวโดยสรุป การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง        คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

4. คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง

           คดีที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองมักเกี่ยวข้องกับคำพิพากษาทางศาลตั้งแต่ต้นแรก ซึ่งอาจได้รับการพิจารณาและพิพากษาที่ระดับศาลอื่น ๆ ที่มีอำนาจมากขึ้นตัวอย่างของคดีที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมของประเทศมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งในกระบวนการยุดิธรรมหลักคือ การเริ่มที่พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ โดยมีทนายความเป็นผู้ตรวจสอบความยุติธรรมมีระยะเวลายาวนาน บางคดีเกินกว่า ๑๖ ปี และกระบวนการยุติธรรมมีความเหสื่อมล้ำทุกขั้นตอนจนถึงขั้นสืบพยานหลักฐานในชั้นศาลก่อนพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้น แล้วมีข้อจำกัดในการบริหารจัดการในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ที่ต้องใช้ดุลยพินิจอย่างเข้มงวดตามหลักสุจริตและหลักนิติธรรม เนื่องจากงบประมาณอันจำกัดค้านบุคลากรที่ทรงคุณค่าและการขยายหน่วยปฏิบัติที่รัฐบาลควบคุมตามน โยบายทางการเมืองผ่านรัฐสภาที่รัฐบาลคุมเสียงข้างมากมาโดยตลอด และยังส่งผลกระทบกระบวนการยุติธรรมที่ใช้อำนาจของรัฐสภาตรวจสอบรัฐบาลที่กระทำทุจริตไม่เป็นผล จนต้องอ้อมไปใช้กระบวนการตรวจสอบดำเนินคดีขององค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. ศาลปกครองสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบอีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งให้ผลเร็วกว่ากระบวนการยุติธรรมปกติเช่น การพิจารณาโดยคณะผู้พิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีผลบังคับใช้ทันทีไม่มีอุทธรณ์หรือฎีกาอีก

Thai PBS.or.h. (2565 : 7) สำหรับกระบวนการยุติธรรมและข้อกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนของประเทศไทย มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทเรื่อยมา โดยองค์กรของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการ โดยตรง คือ ศาลเยาวชนและครอบครัว กับ กรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กระทรวงยุติธรรมสำหรับ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา มีสาระสำคัญว่าการปรับเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับโทษทางอาญาของเด็กจาก 10 ปี เป็น 12 ปี เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเหตุผลทางการแพทย์ มาตรฐานของรัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการแก้ไขปัญหาเด็กตามกลไกการทบทวนสิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ การสงเคราะห์ คุ้มครองสิทธิ และสวัสดิภาพของเด็กโดยคำนึงถึงผลประ โยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องรับโทยทางอาญาหรือเป็นผู้ต้องหาที่อ่อนความรับผิดทางอาญาสามารถออกจากกระบวนการยุติธรรมได้เพิ่มขึ้น และได้รับการปฏิบัติในการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิดของเด็กตามหลักอาชญาวิทยา

การเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า.(2566 : 9) ประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีบางประเภทที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามที่กล่าวไว้แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ว่าคดีเหล่านี้เป็นดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

ได้แก่

การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยของทหาร คดีประเภทนี้อาจเกี่ยวข้องกับคำสั่งใด ๆ ซึ่งเป็นการกระทำ

ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่อาจเป็นคดีประเภทที่ฟ้องต่อศาลปกครอง แต่กฎหมายกำหนดว่าจะฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ เหตุผลเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและเด็ดขาด

การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย     ตุลาการ ดดีประเภทนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสั่งการทางด้านบริหารบุคคลของคณะกรรมการตุลาการ เหตุผลเพื่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา

คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายหรือศาลชำนาญพิเศษอื่น ผู้ฟ้องคดี

ต้องยื่นฟ้องต่อศาลชำนัญพิเศษนั้น 1 จะไปยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่ได้นอกจากคดีทั้งสามประเภทนี้แล้ว ถ้าดีเรื่องนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ก็ส่งผลให้ยื่นฟ้องคดีนั้น ๆ ต่อศาลปกครองไม่ได้

จิตฤดี วีระเวสส์. (2565 : 5) คดีอาญาที่สูงขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับความละเมิดทางอาญาที่มีความรุนแรและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบที่มากขึ้นต่อสังคมและบุคคลอื่น ๆ ด้วย. นี่คือบางประเภทของดดีอาญาที่สูงขึ้นอาชญากรรมร้ายแรง: อาชญากรรมที่มีความรุนแรงและเสี่ยงต่อชีวิตหรือสุขภาพมนุษย์มาก,เช่น ฆาตกรรม, ทรุณ, และอาชญากรรมทางเพศที่รุนแรงอาชญากรรมทางการเงิน: อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการประพฤติมิชอบทางการเงิน, เช่น การปลอมแปลงเอกสาร, การทุจริตทางการเงิน, หรือการโจรกรรม คดียาเสพติด: คดีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต, จำหน่าย, หรือใช้ยาเสพติด โดยมีมูลค่าหรือปริมาณที่สูงมากอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรม: อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหรือองค์กรที่มีลักษณะ อาชญากรรม, เช่น อาชญากรรมออนไลน์หรือการแกคดีอาญาทางการค้า: คดีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด กฎหมายทางธุรกิจ, การทุจริตธุรกิจ, หรือการโกงทางธุรกิจ.การดำเนินคดีอาญาที่สูงขึ้นมักจะถูกนำสู่ศาลอาญาที่มีอำนาจรับผิดชอบในระดับสูงขึ้น เช่น ศาลอาญาสูงสุด, ศาลอาญาจังหวัด, หรือศาลที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์

กล่าวโดยสรุป ประเภทของคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองคดีบางประเภทที่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองตามที่กล่าวไว้ แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ว่าคดีเหล่านี้เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยของทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

5. ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

       สำนักงานศาลปกครอง (2557 : 1 ) คดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้นนอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

1. เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ซึ่ง ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดหรืออาจ

2. ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วในกรณีดังต่อไปนี้ถ้าผู้มีสิทธิฟ้องกดีไม่เห็นด้วยกับการกระทำในเรื่องใดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องดำ เนินการโต้แย้งหรือกัดด้านการกระทำ ในเรื่องนั้นต่อเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการผู้พิจารณาอุทธรณ์ของฝ่ายบริหารให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้

1 ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนหรือวิธี การโต้แย้งหรือกัดค้านการกระทำ ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้โดยเฉพาะ เช่น

1.1 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดว่า ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการผู้ขอใบอนุญาตหรือผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือปลัดกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาตนั้น

2. ในกรณี ที่กฎหมายเฉพาะมิได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการ โด้แย้งคัดค้านการกระทำ ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้โดยเฉพาะ ถ้าการกระทำ นั้นมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง เช่นคำสั่งไม่อนุญาต คำวินิจฉัยอุทธรณ์ และเป็นคำสั่งที่มิได้ออกโดยคณะกรรมการหรือรัฐมนตรี ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งดังกล่าวจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่ง

3. จัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนดการทำคำฟ้อง ในกดีปกครองนั้น ไม่มีแบบฟอร์มกำหนดไว้ตายตัว กฎหมายกำหนดไว้แต่เพียงว่าจะต้องทำคำฟ้องเป็นหนังสือ ซึ่งจะเขียนด้วยลายมือหรือจะพิมพ์ดีดก็ได้แต่จะฟ้องด้วยวาจาหรือฟ้องทางโทรศัพท์ไม่ได้ ในการเขียนคำฟ้ององจะต้องใช้ถ้อยคำสุภาพในคำฟ้องจะต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

3.1 ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องกดี

3.2 ระบุชื่อหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเช่น กรมใด เทศบาลใดหรือระบุชื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเช่น อธิบดีกรมใด นายอำเภอใด โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคล

3.3 สรุปการกระทำ และข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีตามสมควร เช่น สรุปว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทำ ของหน่วยงานทางปกครองใดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดในเรื่องอะไร อย่างไร เมื่อใดและที่ใด

4. ระบุคำขอของผู้ฟ้องคดีว่าต้องการ ให้ศาลแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้อย่างไร ซึ่งคำขอนั้นจะต้องอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะกำหนดให้ได้เช่น ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด

5. ลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี นอกจากนี้ผู้ฟ้องคดีจะต้องแนบเอกสารและ พยานหลักฐานดังต่อไปนี้มาพร้อมกับคำ ฟ้องด้วย

5.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ที่รับรองสำ เนาถูกต้อง

5.2 ในกรณีที่เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีหรือดำเนินคดีแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมปีดอากรแสตมป์มาด้วย

5.3 ในกรณี ที่ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถ ต้องมีหนังสืออนุญาตหรือแสดงความยินยอมให้ฟ้องคดีมาด้วย

5.4 แนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาด้วย ในกรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นหรือเพราะเหตุอื่นใดให้ระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานไว้ด้วย

5.5 สำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนตามจำนวนของผู้ถูกฟ้องกดีโดยยื่นมาพร้อมกับคำฟ้อง

กล่าวโดยสรุป ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือผู้ซึ่งได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่จะนำมาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วจัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด ยื่นคำฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

6. ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

 สำนักงานศาลปกครอง (2553 : 2 ) หลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองทั่วไปประการหนึ่งที่ถือเป็นลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครอง คือ การดำเนินคดีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดี (Action)ต่อศาลปกครอง เพราะถือเป็นการบริการสาธารณะอย่างหนึ่ง ' โดยค่าใช้จ่ายที่สำคัญในการฟ้องคดีได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล (Court Fecs) ซึ่งหมายถึง ส่วนที่คู่ความในคดีต้องชำระให้แก่ศาลในการดำเนินคดี เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าคำร้องขอต่าง ๆ ค่าเอกสาร ค่าคำฟ้อง เมื่อชำระต่อศาลแล้วย่อมตกเป็นรายได้ของแผ่นดิน' ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า การฟ้องคดีแพ่งกับการฟ้องคดีปกครองมีหลักการเสียค่าธรรมเนียมศาลที่ต่างกัน กล่าวคือ ในการดำเนินคดีทางแพ่ง กฎหมายกำหนดให้ผู้ยื่นคำฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่มีกฎหมายยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเหตุที่ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพงเนื่องจากการดำเนินคดีแพ่งแต่ละเรื่องนั้น มีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าดำเนินการทางธุรการศาลหรือค่าใช้จ่ายในทางศาลเองแต่สำหรับการฟ้องคดีปกครองนั้น โดยหลัก คือ ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่กรณีมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 คือ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ (Desertion) ตามที่กฎหมายกำหนคให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรและคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามมาตรา 45วรรคสี่' แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง

 

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 ให้ไว้ ณ วันที่ 21 เมษายน 2559 การคืนค่าธรรมเนียมศาลกรณีศาลมีคำพิพากษา มาตรา 72/12 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559" กำหนดว่า ในการพิพากษาคดีให้ศาลปกครองมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของการชนะคดี ดังนั้นหากศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ผู้ฟ้องคดีจะไม่ได้รับค่าธรรมเนียมศาลคืน เช่น ในกรณีละเมิดหากเป็นกรณี ที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี จำนวนเท่ากับที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอ ผู้ฟ้องคดีย่อมได้รับค่าธรรมเนียมศาลคืนทั้งหมด แต่หากศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจำนวนน้อยกว่าที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอ ศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลตามสัดส่วนแห่งการชนะคดี

การคืนค่าธรรมเนียมศาลกรณีศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้น อธิบดีศาลปกครองชั้นต้นจะทำการจ่ายสำนวนคดีให้แก่องค์คณะ และตุลาการหัวหน้าคณะจะทำการง่ายสำนวนคดีแต่งตั้งตุลาการคนหนึ่งในองค์คณะเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ตุลาการเจ้าของสำนวนมีหน้าที่ตรวจคำฟ้อง หากเห็นว่า คำฟ้องสมบูรณ์อยู่ในอำนาจศาลปกครองและเป็นไปตามเงื่อนไขของการฟ้องคดี ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้อง โดยคำสั่งรับคำฟ้องสั่งโดยตุลาการเจ้าของสำนวนเพียงนายเดียว (ข้อ 42" แต่ในกรณีศาลเห็นว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการฟ้องคดี เช่น ไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีและไม่ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาล เป็นต้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งในกรณีดังกล่าวเป็นดุลยพินิจของศาลในการสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล โดยหลักศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด ในกรณีให้จำหน่ายคดีทั้งหมดและคืนค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในกรณีจำหน่ายคดีบางส่วน แต่ในบางกรณีศาลอาจไม่มีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล เพราะผู้ฟ้องคดีไม่ทำการชำระค่าธรรมเนียมศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการชำระค่าธรรมเนียมเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งในการที่ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้อง เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่มีการชำระค่าธรรมเนียมศาล ศาลจึง ไม่จำต้องมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียม

การคืนค่าธรรมเนียมศาลกรณีผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องขอถอนคำฟ้อง เมื่อผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิที่จะถอนคำฟ้อง (Withdrawal of Plaint) ได้ ตามข้อ 82 แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ตลาการศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 กำหนดว่าผู้ฟ้องคดีจะถอนคำฟ้องในเวลาใด ๆ ก่อนตาลพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดได้ การถอนคำฟ้องคดี จะถอนเฉพาะบางข้อหาหรือบางส่วนของข้อหาก็ได้ ซึ่งผู้ฟ้องคดีต้องยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องเป็นหนังสือแต่ผู้ฟ้องคดีอาจถอนคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลได้ในระหว่างการ ไต่สวนหรือนั่งพิจารณาคดี โดยการสั่งอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง ศาลต้องพิจารณาว่าเป็นคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประ โยชน์สาธารณะ หรือคดีที่หากมีการพิจารณาต่อไปจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือการถอนคำฟ้องเกิดจากการสมยอมโดยไม่เหมาะสม ศาลอาจมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนคำฟ้องก็ได้ แต่หากไม่ใช่กรณีดังกล่าว เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนคำฟ้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ตามข้อ 82" แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลเพียงใด

กล่าวโดยสรุป เมื่อมีการถอนคำฟ้อง ให้ศาลอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ผู้ฟ้องคดี แต่ในคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือคดีที่การพิจารณาต่อไปจะเป็นประ โยชน์แก่ส่วนรวม หรือการถอนคำฟ้องเกิดจากการสมยอมกัน โดยไม่เหมาะสม ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนคำฟ้องก็ได้ คำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนคำฟ้องให้เป็นที่สุด (1) กรณีศาลมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม ตามมาตรา 10 วรรถหนึ่ง (2)" และมาตรา 1 1"แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542"ศาลปกครองมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดไปยังศาลยุติธรรม(2) กรณีศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ(Arbitrator) ตามมาตรา 14 วรรคหนึ่ง* แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545"ศาลปกครองสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด

7. ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

การยื่นคำฟ้องคดีปกครองเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้งหรือข้อพิพาททางปกครอง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งโดยการยื่นคำฟ้องโดยตรงที่ศาลปกครองหรือผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตลอดจนการยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ศาลที่จะรับฟ้องสามารถเป็นศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง หรือศาลปกครองจังหวัด

ศาลปกครอง (2556 : 1) ระบุวิธีการยื่นคำฟ้องว่าการยื่นคำฟ้องอาจทำเป็นหนังสือไปยื่นต่อศาลโดยตรงหรือยื่นคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและศาลที่จะฟ้องได้แก่ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลางหรือศาลปกครองจังหวัด

สถาบันพระปกเกล้า (2559 : 1) ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นคำฟ้องได้ 2 วิธี ได้แก่

1. ยื่นคำฟ้องด้วยตนเองที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิด

2. ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2561 (ราชกิจจานุเบกษา, 2561:13) มาตรา 46 ระบุว่าคำฟ้องให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในการ นี้อาจยื่นคำฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิทัลอื่นใด หรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และเพื่อประโยชน์ในการนับอายุความ ให้ถือว่าวันที่ส่งคำฟ้องแก่เจ้าพนักงานไปรษณีย์หรือวันที่ส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สื่อดิจิทัลอื่นใดหรือโทรสารเป็นวันที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง

กล่าวโดยสรุป การยื่นคำฟ้องคดีปกครองสามารถทำได้ที่ศาลปกครองที่ตนมีภูมิลำเนาหรือที่มูลคดีเกิดโดย มีทางเลือกทั้งการยื่นคำฟ้องโดยตรงที่ศาลปกครองหรือผ่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแม้กระทั่งการยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรสารตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

อ้างอิง