กฎหมายปกครอง 

(1) รัฐศาสตร์ กระจ่างจิต (2) วิภา เถาว์ยา (3) สุภาวดี เขียมรัมย์  (4) วิรัชญาภรณ์ ขานรัมย์

นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

(1)650112801122@bru.ac.th (2)650112801154@bru.ac.th (3)640112801049@bru.ac.th (4)640112801043@bru.ac.th

9 กุมภาพันธ์ 2567

กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารของรัฐการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดบริการสาธารณะและวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนและฝ่ายปกครองด้วยกันเองรวมทั้งกำหนดสถานะและการกระทำทางปกครอง


ประเด็นที่ 1 ศาลปกครองคืออะไร

ปัจจุบัน ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบที่เรียกว่า ศาลคู่ ประกอบด้วย “ศาลยุติธรรม” ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น และ“ศาลปกครอง” ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง”

ศาลปครองและสำนักงานศาลปกครอง (2558 : หน้า 7)ให้ความหมายศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเอกเทศจากศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งคดีปกครองหมายถึง คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่างล่าช้าเกินสมควร การทำละเมิดหรือมีความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่นหรือจากการบะเลยต่อหน้าที่ ที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

ฤทัย หงส์สิริ (2566 : 4) สรุปได้ว่าศาลปกครองครองคืออะไรนั้น คงต้องเปรียบเทียบกับศาลยุติธรรมที่เป็นศาลชำนัญพิเศษ หรือศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ศาลภาษีอากร หรือศาลแรงงาน เป็นต้น ตามกฎหมาย ศาลภาษีอากร ได้แก่ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีภาษีอากร หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวกับภาษีอากร เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร การขอคืนค่าภาษีอากร เป็นต้น ส่วนศาลแรงงาน ได้แก่ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน เช่น คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบกับศาลภาษีอากรหรือศาลแรงงานแล้ว จะเห็นได้ว่าศาลปกครองคือ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง อันได้แก่ คดีหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวง่ายๆก็คือ โดยหลักศาลปกครองเป็นศาลอีกระบบหนึ่ง แยกต่างหากจากศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือข้อพิพาทระหว่างบรรดาหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ด้วยกันหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่กับประชาชน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ ไม่ใช่คดีหรือข้อพิพาทระหว่างประชาชนด้วยกัน หรือคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเจ้าหน้าที่

จเร พันธุ์เปรื่อง (2559 : 1) ให้ความหมายเป็นมาและเจตนารมณ์ในการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะ อันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น

การจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทยนั้น ได้มีการดำเนินการและพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยสามารถแบ่งช่วงสำคัญในการวิวัฒนาการออกเป็นสี่ช่วง ดังนี้ คือ

ช่วงแรก นับตั้งแต่ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติเคาร์ซิลออฟสเตด คือ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน การร่างกฎหมายและเป็นผู้พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานเคาร์ซิลออฟสเตด หรือเรียกว่า เปรสสิเด้น (President) ดังนั้น อำนาจหน้าที่ส่วนหนึ่งของสถาบันนี้ ความจริงแล้วก็คือภารกิจของศาลปกครอง

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 1 ศาลปกครอง เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรมและมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอีกกรณีหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติ


ประเด็นที่ 2 หน่วยงานทางปกครอง หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้

เรื่องที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่

1.1 การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น

1.2 กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร

1.3 เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

1.4 คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

1.5 คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.6 คดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

นันทวัฒน์ บมานันท์ (2560 : 96) กล่าวโดยหน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค การจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาคของไทยเป็นไปตามผลของกฎหมาย ๒ ฉบับ โดยพระราชบัญญัติบริหารส่วนราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ กำหนดให้มีการจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค ๒ ระดับ คือ จังหวัดและอำเภอ ส่วนพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ กำหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคอีก ๓ ระดับ คือ กิ่งอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

ชาญชัย แสวงศักดิ์  (2561 : 128)  กล่าวโดยส่วนหน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง ได้แก่ กิจการที่กระทรวง ทบวง กรม และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทำ เช่น งานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการในกิจการนั้นๆ

โภคิน พลกุล (2564 : 61) กล่าวโดยส่วนท้องถิ่น องค์การปกครองอื่น ๆ (เช่น องค์การ ส่วนจังหวัด สุขาภิบาล เทศบาล ฯลฯ) ที่ไม่ใช่ส่วนกลาง จะมีสภาพเป็นนิติบุค จะมีอำนาจตัดสินใจทางการปกครองบางประการ แล้วแต่ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้อย่างไร แต่ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นเรื่องทางปกครอง คือ ในการจัดดำเนินการบริการสาธารณะเท่านั้น มิใช่อำนาจตัดสินใจทางการเมืองอันเป็นข้อแตกต่างกับระบบรัฐรวม                                                                                               

จิรนิติ หะวานนท์ (2560 : 13) กล่าวโดยรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานของรัฐเกิดขึ้นมาโดยกฎหมายเฉพาะบาง รัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้ง บางรัฐวิสาหกิจเกิดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งอาศัยอำนาจตราตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่ ประกอบกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม คือประกอบกิจการผลิตสินค้า จัดจำหน่ายสินค้าและให้บริการนั้นด้วย เช่น องค์การแก้ว องค์การอาหารสำเร็จรูป ผลิต สินค้าและจำหน่าย องค์การขนส่งมวลชนดำเนินกิจการในทางให้บริการ กิจการของ รัฐวิสาหกิจบางเรื่องอยู่ในกฎหมายเอกชน บางเรื่องอยู่ในกฎหมายปกครอง

เชาวนะ ไตรมาศ (2565 : 1) กล่าวโดยหน่วยงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตุลาการที่มีหน้าที่และอำนาจต่างจาก ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร กล่าวคือ มีหน้าที่และอำนาจ ในการวินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมายการกระทำและกรณีอื่นที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือเรียกว่า“คดีรัฐธรรมนูญ”  โดยรูปแบบศาลรัฐธรรมนูญ

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 2 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง 

ประเด็นที่ 3 คดีปกครองประเภทใดที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้  

คดีปกครอง คือ คดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางการปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองและเป็นคดีในเรื่องดังต่อไปนี้

1.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางการปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าพนักงานท้องถิ่นปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกรณีผู้ฟ้องคดีเห็นว่าผู้บังคับบัญชามีคำสั่งลงโทษทางวินัยโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น

2. คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นละเลยต่อหน้าที่ไม่ตรวจตรา และออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนที่ก่อสร้างหรือต่อเติมไม่ได้รับอนุญาตกรณีเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินล่าช้าเกินสมควร เป็นต้น

3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจล่าช้าเกินสมควร เช่น การที่เจ้าพนักงานที่ดินออกคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับเสียหาย และผู้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายดังกล่าว หรือการฟ้องเรียกค่าทดแทนการเวนคืน หรือการรอนสิทธิจากการวางท่อประปา หรือเสาไฟฟ้าแรงสูงเป็นต้น

4.คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างเอกชน ก่อสร้างถนน อาคารเรียน หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าสัมปทานตามสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนหรือสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองทำกับข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อเป็นต้น

5.คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลกระทำการหรือละเว้นการกระทำ เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางน้ำฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อมีคำสั่งให้เอกชนรื้อถอนสะพาน หรือบ้านที่ปลูกรุกล้ำแม่น้ำ กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อมีคำสั่งให้จับกุม และกักขังบุคคล ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ เป็นต้น

6.คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เช่น กรณีที่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด หรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

ชูชาติ อัศวโรจน์ (2562 : 218) กล่าวโดยการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในเก้าสิบวัน นับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น เวันแต่คำสั่งทางปกครองจะได้ทำขึ้นเพราะการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่หรือการซักจูงใจโดยการให้ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ครองธรรม ธรรมรัฐ (2558 : 87) กล่าวโดยข้ออ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ว่าการสร้าง สะพานจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วน มาก นอกจากจะไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ แล้ว ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเมื่อเทียบ กับผลกระทบที่ผู้ฟ้องคดีจะได้รับ เห็นได้ชัด ว่าจะทำให้ฝ่ายผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือด ร้อนหรือเสียหายมากกว่า

จิรนิติ  หะวานนท์ (2564 : 31) กล่าวโดยการวางกฎเกณฑ์ควบคุมเพื่อความมั่นคง เพื่อการจัดการเรียบร้อย เพื่อความสะดวกอยู่ดีกินดี นอกจากวางกฎเกณฑ์แล้วยังรวมถึง กิจกรรมที่บังคับให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นั้นด้วย แสดงออกโดยการใช้อำนาจฝ่ายเดียวที่จะ กำหนดใช้เอกชนปฏิบัติแล้วบังคับให้เอกชนที่ฝ่าฝืนต้องปฏิบัติ เช่น พระราชบัญญัติ จราจรฯ ให้อำนาจทางตำรวจออกกฎจราจร ห้ามขับรถเร็ว การออกกฎจราจรเป็นกิจกรรมของฝ่ายปกครองในทางควบคุม เพราะฉะนั้น เป็นกฎหมายปกครอง ขึ้นศาลปกครอง แต่ กฎจราจรยังบอกว่าถ้าฝ่าฝืนกฎจราจรมีโทษปรับ การบังคับตามกฎที่ตัวเองออกโดยมีโทษ ทางอาญานี้เป็นกิจกรรมทางอาญาขึ้นศาลยุติธรรม กิจกรรมในทางควบคุมเหมือนกันแต่ การควบคุมโดยการออกกฎใช้กฎหมายปกครอง ถ้าฝ่าฝืนกฎจะต้องบังคับมีโทษทางอาญา เป็นกิจกรรมทางอาญา เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มีอำนาจ ออกระเบียบ เช่น ห้ามสร้างอาคารห่างจากถนนระยะเท่านั้นเท่านี้ของความกว้างถนน ห้าม สร้างอาคารสูงเกินเท่านั้นเท่านี้ ออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกิจกรรมในการ ควบคุมที่ใช้กฎหมายปกครอง เมื่อมีการฝ่าฝืนเจ้าพนักงานท้องถิ่นบังคับ โดยเข้ารื้ออาคาร เป็นกิจกรรมทางปกครอง เพราะการรื้ออาคารไม่ใช่โทษทางอาญา แต่ถ้าจะฟ้องเรียกค่า ปรับเป็นกิจกรรมทางอาญา

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2561 : 74) สรุปได้ว่าการจัดองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของเอกชน กรณีต้องแยกแยะระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้สิทธิ เสรีภาพของเอกชนซึ่งมีอำนาจในการออกกฎเกณฑ์และดำสั่งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง กับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐบางองค์กรอาจมีทั้งอำนาจในการออกกฎเกณฑ์และดำสั่ง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและมีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย แต่องค์กร เจ้าหน้าที่บางองค์กร (เช่น ผู้บริหารท้องถิ่น) อาจมีแต่เพียงอำนาจในการออกกฎเกณฑ์และคำสั่งโดยไม่มี อำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

นันทวัฒน์ บมานันท์. (2560 : 543) กล่าวโดยคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดทางปกครองหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือการละเลย หน้าหรือการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร และขอให้ศาลปกครองพิพากษาสั่งให้มีค่าเสียหาย

       กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 3 คดีที่นำมาฟ้องต้องเป็นคดีปกครอง และต้องเป็น กรณีตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ได้แก่ การกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นออกคำสั่งผิดวิธี ไม่ดำเนินการตามระเบียบ เป็นต้น กรณีนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครองละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานหรือ เจ้าหน้าที่ทางปกครอง มาฟ้องคดีต่อศาลปกครองคดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง


ประเด็นที่ 4 คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง

ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง (2558 : 27-32) สรุปได้ว่าอำนาจของศาลปกครองคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมีทั้งหมด 6 ประเภท

1. คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครอง แต่ มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติยกเว้นไว้ไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

2. คดีที่มีกฎหมายตัดอำ นาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 บัญญัติว่า มิให้นำ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง มาใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออก ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง คำวินิจฉัย การอนุญาต และการกระทำอื่นใด ของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร อันเกี่ยวกับการบริหาร สินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดนี้

3.คดีที่คู่กรณีมิใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัด

4.คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ แต่การกระทำ ดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำ ที่ใช้อำนาจ ทางปกครองหรือดำเนินกิจการปกครอง หรือเป็นการกระทำส่วนตัว

5.คดีแพ่ง หรือคดีอาญา ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งหรือทางอาญาอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม

6.คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษ ทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องที่อยู่ ในอำนาจของผู้บังคับบัญชา ส่วนการลงโทษทางอาญาเป็นอำนาจ ของศาลยุติธรรม ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

ศรุต นิติรัชและเพื่อน (2566 : 1) สรุปได้ว่าคดีที่ไม่อยู่ในศาลปกครอง คือ คดีที่ไม่ได้รับการพิจารณาในศาลปกครองสามารถเป็นคดีที่ไม่ได้ถูกยื่นฟ้องหรือไม่ได้ถูกพิจารณาโดยหน่วยงานทางกฎหมาย เช่น คดีที่มีลักษณะเป็นคดีอาญาที่ไม่ถูกส่งสำนักงานอัยการหรือคดีที่เกี่ยวกับการร้องเรียนทางประชาชนที่ยังไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายอย่างเป็นทางการคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง  ตามมาตรา 9 วรรค 2
    1. การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
    2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
    3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ

– ศาลเยาวชนและครอบครัว            – ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

– ศาลแรงงาน                                – ศาลชำนัญพิเศษอื่นๆ
– ศาลภาษีอากร
            

ชูชาติ อัศวโรจน์ (2562 : 320) กล่าวโดยการหน่วยงานของรัฐที่เป็น "รัฐวิสาหกิจ" อาจพิจารณาได้จากบทบัญญัติในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งอาจเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๗ หรือจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐพ.ศ. ๒๔๙๖ เช่น องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๐ หรือจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ชาญชัย แสวงศักดิ์  (2561 : 226)  กล่าวโดยการคัดเลือกและการแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองสูงสุดให้ ก.ศป. พิจารณาคัดเลือกบุดคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๓ และมีความเหมาะสมที่จะแต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด แล้วให้เสนอรายชื่อต่อนายกรัฐมนตรี ให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อดังกล่าวเสนอขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภาภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายชื่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง)ผู้ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งตุลาการในตาลปกครองสูงสุดผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ ต้องลาออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพหรือการใด ๆ อันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้วต่อนายกรัฐมนตรีภายใน ๑ ๕ วันนับแต่วันที่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ (มาตรา ๑๖)

วัฒน์ บมานันท์ (2560 : 443) กล่าวโดยด้วยศาลปกดรองเป็นศาลที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งหมายถึง คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนกรณีหนึ่ง และข้อพิพาทระหว่างงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเองอีกกรณีหนึ่ง โดยที่รอพิพาทเหล่านั้นการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ลำช้าเกินสมควร หรือเป็นคดีอันเนื่องมาจาก การกระทำละเมิดหรือ ความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรืออันเนื่องจากสัญญาทาง

ครอง ในการดำเนินงานของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่างๆ จำเป็นที่ต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ ประเทศไทยซึ่งก็เหมือนกับประเทศทั้งหลายที่อยู่ในระบบนิติรัฐ (Legal state) คือ เป็นรัฐที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเดียวกันทั้งสิ้น

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 4  มีคดี 3 ประเภทที่กฎหมายบัญญัติมิให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ และคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษสังกัดศาลยุติธรรม ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น

ประเด็นที่ 5 ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

       เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีวิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๓ อาจแยกเงื่อนไขการฟ้องคดีได้ ๙ เงื่อนไข ดังนี้ คดีที่ฟ้องเป็นคดีข้อพิพาททางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง เงื่อนไขที่เกี่ยวกับเขตอำนาจ เงื่อนไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดี เงื่อนไขความสามารถในการดำเนินคดีและการมีตัวแทนในคดี (มาตราท๔๕ วรรคห้า) เงื่อนไขประเภทคำฟ้อง เงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายครบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว (มาตรา ๔๕ วรรคสี่)

       สุริยา ปานแป้น (2558 : 312-345) กล่าวโดยการที่ศาลปกครองจะรับคำฟ้องในคดีใดไว้พิจารณาพิพากษาในเนื้อหาแห่งคดีได้นั้น ศาลปกครองจำต้องพิจารณาถึงเขตอำนาจของศาลปกครองและเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองเป็นประเด็นเบื้องต้นเสียก่อนเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองปรกอบด้วยเงื่อนไขย่อยหลายประการ ได้แก่

1.เงื่อนไขเกี่ยวกับศาลปกครองที่มีเขตอำนาจ การพิจารณาเพื่อให้ทราบว่าคดีนั้นจะต้องเริ่มฟ้องที่ศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองชั้นสูงสุด

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับผู้มีสิทธิฟ้องคดี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยผลของกฎหมาย            

2.2 ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามความเป็นจริง

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะการฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวและหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สั่งการตามกฎหมายนั้นหรือมิได้สั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนดตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

4.เงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถของผู้ฟ้องคดี โดยหลักแล้วผู้ฟ้องคดีปกครองต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการทำนิติกรรมตามที่ ป.พ.พ. ว่าด้วยความสามารถบัญญัติไว้ และการฟ้องคดีมีข้อยกเว้นที่อนุญาตให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ สามารถฟ้องคดีปกครองได้ด้วยตนเองถ้าศาลเห็นสมควร

5.เงื่อนไขเกี่ยวกับคำฟ้อง พ.ร.บ. จั้งตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 45 บัญญัติให้คำฟ้องต้องใช้ถ้อยคำสุภาพ

6.เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดี การฟ้องคดีปกครองจะต้องกระทำภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา

7.เงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเนียมศาล  คดีปกครองที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือชำระไม่ครบถ้วน ศาลจะสั่งให้ผู้ฟ้องคดีชำระค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด

8.เงื่อนไขเกี่ยวกับการฟ้องซ้อน การฟ้องซ้ำ และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ การฟ้องซ้อน การฟ้องซ้ำ และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นไปตามระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 36 (1) ข้อ 97 และข้อ 96 แล้วแต่กรณี

บรรเจิด สิงคะเนติ (2563 : 201-226) สรุปได้ว่าการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ตามเงื่อนไขดังนี้

1.คดีที่ฟ้องเป็นคดีข้อพิพาททางปกครองที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง

สำหรับขอบเขตอำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาข้อพิพาทในคดีปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อาจกแยกเกณฑ์ในการพิจารณา ๒ เกณฑ์ ดังกล่าวข้างต้นคือ

1. พิจารณาจากเกณฑ์ องค์กร ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้นิยามคำว่า หน่วยงานทางปกครอง ว่าหมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง จากการพิจารณา ให้นิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ความหมายขององค์กร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ กว้างกว่าตามมาตรา ๒๒๓ ของรัฐธรรมนูญ

หากพิจารณาเกณฑ์ องค์กร ตามแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง อาจสรุปแนวคำสั่งและคำพิพากษาศาลปกครองได้ดังนี้

(ก)   หน่วยงานทางปกครอง

(ข)    เจ้าหน้าที่ของรัฐ

พิจารณาจากเกณฑ์ การกระทำ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธรพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้การกระทำดังต่อไปนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง (๑) การกระทำที่มีลักษณะเป็นการกระทำฝ่ายเดียวไม่ว่าจะเป็นการออกกฎก็ดีหรือคำสั่งก็ดี หรือการกระทำอื่นใด (๒) การกระทำของเจ้าหน้าที่ที่เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (๓) การกระทำที่เป็นการละเมิดทางปกครอง และความรับผิดชอบอย่างอื่นของฝ่ายปกครอง และ (๔) การกระทำที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งการพิจารณาจากเกณฑ์ การกระทำ ที่จะอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองจะต้องเป็น การกระทำทางปกครอง

2.เงื่อนไขเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล

เมื่อคดีที่ฟ้องเป็นคดีข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับเขตอำนาจที่ต้องพิจารณา ๒ ประการคือ เขตอำนาจศาลในทางเนื้อหาและเขตอำนาจศาลในทางพื้นที่

1.  เขตอำนาจศาลในทางเนื้อหา หมายความว่า หากจะฟ้องคดีปกครองคดีใดคดีหนึ่งจะเริ่มฟ้องที่ศาลใด กล่าวคือ ศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด

2.  เขตอำนาจศาลในทางพื้นที่ เขตอำนาจที่เป็นกรณีที่ศาลระดับเดียวกันมีการแบ่งเขตพื้นที่ ดังนั้น ในกรณีนี้ย่อมไม่นำมาพิจารณาในกรณีที่มีเพียงศาลเดียวที่มีเขตอำนาจ

3.เงื่อนไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดี

       เงื่อนไขเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีหรือผู้มีสิทธิในการฟ้องคดี อาจแบ่งผู้มีสิทธิฟ้องคดีได้ ๒ กลุ่มคือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยผลของกฎหมายและผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามข้อเท็จจริง โดยแยกพิจารณาดังนี้

1.  ผู้มีสิทธิฟ้องคดีโดยผลของกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศลปกครอง ได้แก่ กรณีของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๓ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีสิทธิและหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา ๔๒

2.  ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามข้อเท็จจริง ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธ๊พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับเงื่อนไขของผู้ที่มีสิทธิฟ้องคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้นจะต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

4.เงื่อนไขความสามารถในการดำเนินคดีและการมีตัวแทนในคดี (มาตรา ๔๕ วรรคห้า)

       การดำเนินคดีปกครองก็เช่นเดียวกับคดีอื่นๆ กล่าวคือ ผู้ฟ้องคดีฟ้องเป็นผู้มีความสามารถในการดำเนินคดีได้ มาตรา ๔๕ วรรคห้า ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวว่า ในการดำเนินกระบวนพิจารณา คู่กรณีจะดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเองหรือจะมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกำหนดเพื่อฟ้องคดีหรือดำเนินการแทนได้

5.เงื่อนไขประเภทคำฟ้อง

       ตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้คำฟ้องคดีปกครองต้องใช้ถ้อยคำสุภาพและมีรายการ ดังต่อไปนี้

1.  ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี

2.  ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี

3.  การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว

4.  คำขอของผู้ฟ้องคดี

5.  ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี ถ้าเป็นการยื่นฟ้องคดีแทนผู้ฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ผู้ฟ้องคดีมาด้วย

6.เงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายครบขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว (มาตรา๖๒ วรรคสอง)

       ทั้งนี้ เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉาะการฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวและได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าวได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นหรือได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด

       เงื่อนไขนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่สำคัญ หากผู้ฟ้องคดีไม่ดำเนินการตามขั้นตอนนี้ก่อนฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลปกครองย่อมไม่รับฟ้องคดีดังกล่าวไว้พิจารณา

7.เรื่องที่ฟ้องจะต้องไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน

       เรื่องฟ้องซ้ำมิได้มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง ด้วยเหตุนี้ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ในตุลาการศาลปกครองสูงสุด ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ในข้อ ๙๗ ว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่กรณีเดียวกันฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน

8.เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง

       เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดี จำแนกตามลักษณะคดีแต่ละประเภท ดังนี้

1.  คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

2.  คดีฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย

3.  คดีฟ้องเกี่ยวกับการละเมิดทางปกครองหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย

4.  การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะและการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสถานะของบุคคล คดีประเภทนี้จะฟ้องเมื่อใดก็ได้

9.เงื่อนไขค่าธรรมเนียมศาล (มาตรา ๔๕ วรรคสี่)

       คดีปกครองบางประเภทการฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล กล่าวคือคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ส่วนคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) และ (๔) คือคดีละเมิดทางปกครองและคดีความรับผิดอย่างอื่น (มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ) และคดีสัญญาทางปกครอง (มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ) เป็นคดีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล โดยมาตรา ๔๕ วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงิน หรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) หรือ (๔) ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละสองจุดห้าของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองงแสนบาท

สำนักงานศาลปกครอง (2558:33-42) สรุปได้ว่าคดีที่ศาลปกครองมีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้น นอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดี ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสิทธิฟ้องคดี จะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสีย ในเรื่องที่จะนำ มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

1.. เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ผู้มีสิทธิฟ้องคดีจะต้องเป็น ผู้ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้มีสิทธิฟ้องคดี จะต้องเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ซึ่งได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้เสีย ในเรื่องที่จะนำ มาฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

2.ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย ตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว

3. จัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด

ในคำ ฟ้องจะต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำ หนดไว้ ดังต่อไปนี้

1.  ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี

2.  ระบุชื่อหน่วยงานทางปกครองที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่ง การฟ้องคดีเช่น กรมใด เทศบาลใด หรือระบุชื่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีเช่น อธิบดีกรมใด นายอำเภอใด โดยไม่ จำ เป็นต้องระบุชื่อบุคคล

3.  สรุปการกระทำ และข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี ตามสมควร

4.  ระบุคำ ขอของผู้ฟ้องคดีว่าต้องการให้ศาลแก้ไขหรือ เยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้อย่างไร

5.  ลงลายมือในการฟ้องคดี

4. ยื่นคำฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 5 อย่างไรก็ตาม คดีปกครองที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำ หนดเวลาการ ฟ้องคดีตามปกติแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็น ประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำ เป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณี มีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้

ประเด็นที่ 6 ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่

การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการฟ้องคดีซึ่ง การฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบ ทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความ รับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีจะต้องเสียค่าธรรมเนียม

นันทวัฒน์ บมานันท์. (2560 : 502) กล่าวโดยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองปัญหาที่เกิดขึ้น ก็คือ ใครจะเป็นผู้รับผิด ทั้งนี้เนื่องจากนิติบุดคลในกฎหมายมหาชน (les personnes morales de droit public) นั้น ไม่อาจทำการใด ๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่จะต้องทำโดยผ่านทางบุดคลธรรมดา (personnes physiques) มีสองแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้ในกรณีดังกล่าว แนวทางแรกคือ ถือเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ (agents) ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น และต้องชดใช้ ค่าเสียหายจากทรัพย์สินของตนเอง กับแนวทางที่สองคือ เป็นความรับผิดของฝ่ายปกครองที่ จะต้องรับผิดชอบความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งในระบบของฝรั่งเศส นั้นยอมรับทั้งแนวทางความรับผิดส่วนตัว (la responsabilite personnelle) และแนวทางความ รับผิดของฝ่ายปกครอง (la responsabilite de l'administration) การยอมรับแนวทางทั้งสอง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องความรับผิดชอบร่วมกัน (cumul de responsabilite) และปัญหาเรื่องการแบ่งความรับผิดชอบ (partage des responsabilite) ระหว่าง เจ้าหน้าที่กับหน่วยงานฝ่ายปกครอง

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2561: 226) กล่าวโดยการฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้มอบทรัพย์สินอื่นสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) หรือ (๔) ให้เสียค่าธรรมเนียมดาล ตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้" ซึ่งหมายความว่าการฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสีย ค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกฎหรือดำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ตาล สั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสีค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใด

ธีระ สิงหพันธุ์. (2562 :  126) กล่าวโดยการฟ้องคดีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา ๔๕ วรรค คู่กรณีใดยื่นคำขอต่อตาลโดยอ้างว่าไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล หรือโดย สถานะของผู้ขอถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ถ้าศาลเห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา หรือในกรณีอุทธรณ์ซึ่งศาลเห็นว่ามี เหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ได้ แล้วแต่กรณี และศาลได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุตามคำขอ จริงก็ให้ตาลอนุญาตให้คู่กรณีนั้นดำเนินคดี โดยยกเวันค่าธรรมเนียมตาลทั้งหมดหรือเฉพา: บางส่วนได้ ดำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้เป็นที่สุด

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 6 ในกรณีที่ศาลปกครองพิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีชนะคดีศาลปกครองจะมีคำ สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดหรือบางส่วนตามส่วนของการชนะคดี  ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง

ชั้นต้น ผู้อุทธรณ์จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับการฟ้องคดีในศาลปกครองชั้นต้น อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ฟ้องคดีไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือถ้าไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ศาลปกครองอาจอนุญาตให้ดำ เนินคดีโดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือเฉพาะบางส่วนก็ได้


ประเด็นที่ 7 ยื่นคำฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ที่ใด

ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และ ศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ชั้นต้นที่มีเขตอำนาจ ซึ่งกฎหมายกำ หนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดี มีภูมิลำ เนาหรือที่มูลคดีเกิด

         แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

จิรนิติ หะวานนท์. (2560 : 90) กล่าวโดยเขตอำนาจศาล มีเขตด้วยจะสั่งการนอกเขตไม่ได้ คล้ายๆ อำนาจของศาล เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการได้ในเขตจังหวัดที่ตนเองรับผิดชอบ

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2561 : 101) กล่าวโดยศาลปกครองกลาง (๑) ให้จัดตั้งศาลปกครองกลางขึ้นโดยมีที่ตั้งในกรุงเทพมหานครหรือในจังหวัดใกล้เดียง โดยมีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร (มาตรา ๘ วรรคสอง) (๒) ศาลปกครองกลางจะเปิดทำการเมื่อใด ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากำหนดวันเปิดทำการ (มาตรา ๘ วรรคหก)                                                                         (๓) ขณะนี้ศาลปกครองกลางเปิดทำการแล้วตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ มีอาคารที่ทำการ ชั่วคราวอยู่ที่อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น ๓๗ เลขที่ ๑๙๕ ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร                                                                                                                                                    (๔) ในระหว่างที่ศาลปกครองในภูมิภาคยังมิได้มีเขตอำนาจในท้องที่ใด ให้ตาลปกครอง กลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย (มาตรา ๘ วรรคสาม)

นันทวัฒน์ บมานันท์ (2560 : 101) กล่าวโดยส่วนราชการของจังหวัดออกเป็น ๒ องค์กร คือ (๑) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัด ของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด                                                                                                                                   (๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของ กระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับ ผิดชอบแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔

กล่าวโดยสรุป ประเด็นที่ 7 การฟ้องคดีปกครองต้องยื่นฟ้องศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาลนั้นคำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธีผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 ของ รัฐธรรมนูญ และมาตรา 42 พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนฟ้องคดีปกครองต้องดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อน หรือความเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการนั้นเสียก่อนการชำระค่าธรรมเนียมศาล

 

      สรุปทั้ง 7 ประเด็น ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีฐานะเทียบเท่าศาลยุติธรรม

หน่วยงานทางปกครองที่อาจะถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ 7 ประเภท

       1) หน่วยราชการที่เป็นราชการส่วนกลาง

       2) หน่วยงานราชการที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค

       3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

       4) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

       5) หน่วยงานของรัฐที่มิได้เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหรือที่เรียกกันว่าองค์การมหาชน

       6) หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ

       7) หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองต้องเป็นกรณีตามมาตรา 9 แห่งบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

คดีประเภทที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามกฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในอำนาจของศาลและคดีที่ไม่ใช่คดีปกครอง โดยมี 3 คดี เป็นประเภทที่กฎหมายบัญญัติมิให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร การดำเนินการของตุลาการและคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ

การฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง เป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว จัดทำคำฟ้องตามที่กฎหมายกำหนด และยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด

การเสียค่าธรรมเนียมศาลถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญซึ่งผู้ฟ้องคดีมีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้นต้องดูในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2562 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการอำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง

ยื่นคำฟ้องคดีปกครองได้ที่ศาลปกครองที่มูลคดีเกิดขึ้นตามภูมิลำเนาต้องทำเป็นหนังสือมีรายงานตามที่กำหนดวันเวลาสถานที่และยื่นโดยถูกวิธีตามกฎหมาย

เอกสารอ้างอิง

จังหวัดเชียงใหม่ (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://shorturl.asia/FVQ5O( E ). 25 มกราคม 2567