กฎหมายปกครอง

(1)จรรยพร ตรีเมฆ  (2)เจษฎาพร สมศรีจันทร์  (3)ศรัณย์พร สีสว่าง  (4)สุนิสา ฮึกขุนทด

นักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

(1)640112801134@bru.ac.th  (2)640112801136@bru.ac.th  (3)640112801157@bru.ac.th  (4)640112801161@bru.ac.th 

14 กุมภาพันธ์ 2567

ศาลปกครองเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองในประเทศไทย เริ่มมีตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในสมัยแรก อํานาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดีปกครองรวมอยู่ที่พระมหากษัตริย์และฝ่ายปกครอง ต่อมาได้ เปลี่ยนมาอยู่ที่ฝ่ายตุลาการหรือศาลยุติธรรมเป็นหลัก แต่ในขณะนั้น รูปแบบของศาลไทยยังอยู่ในระบบศาลเดี่ยว คือ มีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรหลัก ทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง รวมถึงคดีปกครองด้วย ในบทความนี้จะ ได้กล่าวถึงศาลปกครองคืออะไร หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาล ปกครองและคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ รวมถึงการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียม ศาลหรือไม่และเราสามารถยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด ดังนี้

1. ศาลปกครองคืออะไร

ศาลปกครอง มีนักวิชาการให้ความหมายโดยสรุป ดังนี้

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:156) ให้ความหมายศาลปกครองว่า เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเอกเทศจาก ศาลยุติธรรม มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ปัจจุบัน ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบที่เรียกว่า"ศาล คู่" ประกอบด้วย "ศาลยุติธรรม" ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจในการ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีอื่นๆ ที่ ไม่อยู่ในอํานาจของศาลอื่น และ "ศาลปกครอง" ซึ่งเป็นศาลที่มีอํานาจในการพิจารณา พิพากษา "คดีปกครอง"

ชูชัย งามวสุลักษณ์ (2546:3) ให้ความหมายศาลปกครองว่า ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะ อันไม่อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น ใประเทศไทยนั้น ได้มีการดําเนินการและพัฒนามาเป็นเวลานาน

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม116, 2542 :4) , มาตรา 9 ได้บัญญัติไว้ว่า ศาลปกครอง คือ ศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีอํานาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกิน สมควร การกระทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดี พิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง"

กล่าวโดยสรุป ศาลปกครอง หมายถึง ศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่กฎหมาย บัญญัติอัน ได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทําทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแล ของรัฐบาลกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน

2.หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ได้แก่คดีปกครองที่เกิดจากการใช้อํานาจโดยมิชอบ ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชน ฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทาง ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐด้วยกันเอง ดังนั้น คู่กรณีที่พิพาทในคดีปกครองอาจมีได้ในหลายกรณี โดยสรุปได้ดังนี้

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:159) หน่วยงานทางปกครองใดบ้างที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาล ปกครองมีอํานาจพิพากษาคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครอง ในกรณีเป็นข้อพิพาททางปกครอง ดังนนั้หน่วยงานทางปกครองที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้มีอยู่๗ประเภทคือ

      1. หน่วยราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรม

      2. หน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อําเภอ ตําบล

      3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. เมืองพัทยา 

     4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 

     5. องค์การมหาชน

     6. หน่วยงานเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง

     7. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครองไม่รวมถึงรัฐสภา ศาล และคณะกรรมการ การเลือกตั้ง

ณัฐวุฒิ สุขแสวง (2561 : ออนไลน์ ) การฟ้องคดีหน่วยงานทางปกครอง ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทาง ปกครอง หรือให้ดําเนินกิจการทางปกครอง หรือจะใช้สิทธิทางศาลปกครองเพื่อฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐได้นั้น มิได้ หมายความว่า ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย กรณียื่นเรื่องร้องเรียนการ ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อ ศาลปกครองเสมอไป

คดีนี้ผู้ฟ้องยื่นฟ้ององค์การบริหารส่วนตําบล ธ. กรณีผู้ฟ้องขอให้ นายกองค์การบริหารส่วนตําบล ธ. ตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง จํานวน 3 โครงการ เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยว่าการจัดจ้างไม่โปร่ งใสและส่อไป ในทางทุจริต กล่าวคือ การกําหนดระยะเวลาในการขายเอกสารประกวดราคา ไม่เป็นไปตามระเบียบ กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ปัจจุบันหน่วยงานของรัฐทุกแห่งใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

สํานักงานศาลปกครอง ( 2557 : 13-16 ) ได้อธิบายว่า หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจถูก ฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้นั่น ได้แก่

1. หน่วยราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม

2. หน่วยราชการส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด อําเภอ

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต.

4. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

5. องค์การมหาชน

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครอง

7. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง เช่น สภาทนายความเจ้าหน้าที่ของรัฐทที่อาจถูกฟ้องได้แก่ ข้าราชการพนักงานลูกจ้างในหน่วยงานทางปกครองคณะกรรมการ ที่มีอํานาจออกคําสั่ง รวมถึงบุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกํากับดูแลของหน่วยงานเหล่านั้น

กล่าวโดยสรุป หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้แก่

1. หน่วยราชการส่วนกลางเช่นกระทรวงทบวงกรม 

2.หน่วยราชการส่วนภูมิภาคเช่นจังหวัดอําเภอตําบล

3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต.

4. รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 

5. องค์การมหาชน

6. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สํานักงานศาลปกครอง 

7. หน่วยงานที่ได้รับ มอบหมายให้ใช้อํานาจทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ในหน่วยงานดังกล่าว ข้างต้น

3. คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้

การฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ แต่การดําเนินคดีในศาลปกครองมีขั้นตอน วิธีการตลอดจนบทบาทของ คู่กรณีและของศาลมีความแตกต่างไปจากการดําเนินคดีในศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ กล่าวคือ การดําเนินคดีในศาลปกครองในกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี (ใช้เอกสารเป็นหลัก) ส่วนการดําเนินคดีในศาลยุติธรรมใช้กระบวนการพิจารณาแบบกล่าวหาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง (ในการเบิก ความของพยานบุคคลเป็นหลัก) ดังนั้น ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจึงจําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและเพื่อจะนําไปสู่การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้อย่างถูกต้อง

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:165) คดีที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ 6 ประเภท ดังนี้

1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกกฎ คําสั่ง หรือใช้อํานาจทาง ปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กําหนด

3.คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหนา้ที่ ของรัฐ

4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

5.คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้ บุคคลกระทําการหรือละเว้นกระทำการ

6. คดีที่มีกฎหมายกําหนดให้อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

ณัฐวุฒิ สุขแสวง (2561 : ออนไลน์ ) ในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ศาลปกครองจะรับคดีไว้พิจารณาก็ เฉพาะคดีที่อยู่ใน เขตอํานาจของศาลปกครองตามประเภทคดีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เท่านั้น

1. คดีเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น กรณีการเลือกตั้งการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ

2. คดีเกี่ยวกับการพัสดุและสัญญาทางปกครอง เช่น กรณีการจัดซื้อจัดจ้าง การทําสัญญาจ้างเหมาบริการ ของหน่วยงานรัฐ

3. คดีเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการระงับเหตุเดือดร้อนรําคาญ

4. คดีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สวัสดิการ และการประกอบวิชาชีพ

5. คดีเกี่ยวกับที่ดิน

6. คดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการกระทําละเมิด

7. คดีเกี่ยวกับกิจการคมนาคม โทรคมนาคม วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การฟ้องคดีต่อศาลปกครองนั้น ซึ่งคดีเหล่านี้เป็นตัวอย่างคดีที่ศาลปกครองได้รับฟ้องมาไว้พิจารณาตั้งแต่ เปิดทําการเมื่อปี 2544

สํานักงานศาลปกครอง ( 2557 : 19-26 ) ได้อธิบายคดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ว่า คดี ปกครองที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ได้แก่ คดีเพิกถอนคําสั่งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับที่ดิน , คดีฟ้องหน่วยงานที่ดินละเลยต่อหน้าที่, คดีเพิกถอนคําสั่งคณะกรรมการการเช่านา และคดีเพิกถอนคําสั่งไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน คดี ปกครองที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่ง ได้แก่ คดีพิพาทเกี่ยวกับงานทะเบียนของกรมขนส่งทางบก และคดี พิพาทเกี่ยวกับการกําหนดเส้นทางและอัตราค่าโดยสาร คดีปกครองอื่นๆ ยังครอบคลุมเรื่องการควบคุมอาคาร และผังเมือง, การจัดสรรที่ดิน, การบริหารบุคคล, สวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่ฟ้องให้เพิก ถอนคําสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานราชการต่างๆ

กล่าวโดยสรุป คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ ดังนี้ คดีปกครองที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้มี 6 ประเภท ได้แก่ คดีเกี่ยวกับการออกกฎหรือใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่รัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีเกี่ยวกับการ ละเลยต่อหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รฐัคดีเกี่ยวกับการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองคดีที่กฎหมายกําหนดให้ฟ้องและคดีที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลปกครอง

4. คดีประเภทใดที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

โดยปกติ คดีที่เอกชนจะฟ้องต่อศาลปกครองนั้นได้แก่ คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน เนื่องจากการกระทําทางปกครองหรือการใช้อํานาจทางปกครอง ซึ่งในระยะแรกที่ศาล ปกครองกลางเพิ่งเปิดทําการ ประชาชนอาจจะยังไม่ทราบได้แน่ชัดว่าเรื่องใดสามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ และ เรื่องใดที่ฟ้องต่อศาลปกครองไม่ได้ ดังนั้นจึงมีคดีจํานวนหนึ่งที่ศาลปกครองกลาง ไม่อาจรับคําฟ้องไว้พิจารณาได้ แม้จะเป็นกรณีที่น่าเห็นใจสักเพียงใดก็ตาม ซึ่งอาจสร้างความสงสัยและความคับข้องใจแก่ผู้ฟ้องคดีอยู่บ้าง

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2547:168) คดีประเกทใดบ้างที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองคดีที่ไม่อยู่ในอํานาจ ของศาลปกครองนั้น ได้แก่ คดี ๖ ประเภทดังต่อไปนี้

1.คดีที่มีคู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีลักษณะเป็นคดีปกครองแต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ บัญญัติยกเว้นไว้ ไม่ให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง

2. คดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ เช่นพระราชกําหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ บัญญัติว่า มิให้นํากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองมาใช้บังคบั แก่ การดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) และการออก ระเบียบหรือข้อบังดับคําสั่ง คําวินิจฉัยการอนุญาต และการกระทําอื่นใดของคณะกรรมการ และคณะกรรมการ บริหารอันเกี่ยวกับการบริหารสินทรัพย์ด้วยคุณภาพตามพระราชกําหนดนี้

3.คดีที่ดูกรณีมีใช่หน่วยงานทางปกครองหรอืเจา้หน้าที่ของรฐั เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์,ชมรมอาสาสมัคร สาธารณสุขจังหวัด , รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทหรือบริษัทมหาชนจํากัดเช่น ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) บริษัท ทําอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จํากัด

4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่การกระทําที่พิพาทดังกล่าวเป็นการ กระทําส่วนตัว มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือดดีที่พิพาทมิใช่คดีปกครอง

5. คดีที่มิใช่คดีปกครอง เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา ซึ่งอยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมหรือการดําเนิน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา

6. คดีที่ฟ้องขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือลงโทษทางอาญาแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งการลงโทษทาง วินัยเป็นเรื่องที่อยู่ในอํานาจของผู้บังคับบัญชาหรือการลงโทษทางอาญาเป็นอํานาจของตาลยุติธรม ไม่อยู่ในอํานาจ ของศาลปกครอง

สํานักงานศาลปกครอง ( 2557 : 30 ) ได้อธิบายว่า คดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองอาจจัดแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ คดีปกครองทีกฎหมายกําหนดไม่ให้อยู่ในอํานาจของศาลปกครองและคดีที่มิใช่คดีปกครอง โดยมี ทั้งหมด 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1. คดีปกครองที่กฎหมายยกเว้นไว้ เช่น คดีเกี่ยวกับวินัยทหาร คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษอื่นๆ 

2. คดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองโดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับ บสท.

3. คดีที่คู่กรณีไม่ใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

4. คดีที่คู่กรณีเป็นหน่วยงานทางปกครองฯ แต่ไม่ได้ใช้อํานาจทางปกครองหรือดําเนินกิจการปกครอง

5. คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม 

6. คดีที่ขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญา

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม116, 2542 :5) คดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 วรรค 2 

1. การดําเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร 

2. การดําเนินการของคณะกรรมการตุลาการกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ 

3. คดีที่อยู่ในอํานาจ ของศาลชํานัญพิเศษ ได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัว,ศาลแรงงาน,ศาลภาษีอากร,ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ

กล่าวโดยสรุป คดีที่ไม่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองได้ดังนี้ 

1. คดีที่เกี่ยวกับวินัยทหาร 

2. คดีที่เกี่ยวกับตุลาการศาลยุติธรรม 

3. คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลชํานัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาล ภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 

4. คดีที่มีกฎหมายตัดอํานาจศาลปกครองไว้ โดยเฉพาะ เช่น คดีเกี่ยวกับ บสท. 

5. คดีที่คู่กรณีไม่ใช่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

6. คดีที่คู่กรณี เป็นหน่วยงานทางปกครองฯ แต่ไม่ได้ใช้อํานาจทางปกครองหรือดําเนินกิจการทางปกครอง 

7. คดีแพ่งหรือ คดีอาญาที่อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรม 

8. คดีที่ขอให้ศาลปกครองลงโทษทางวินัยหรือทางอาญา

5.ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใดบ้าง

ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลกีเลยี่งได้อันเนื่องจาก การกระทําหรือการงดเว้นการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเก่ยีวกับ สัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ สามารถดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ แต่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนด

สํานักงานศาลปกครอง ( 2557 : 35-36 ) คดีที่ศาลปกครองมีอํานาจรับไว้พิจารณาพิพากษาได้นั้น นอกจากจะต้องเป็นคดีปกครองแล้ว ยังจะต้องปรากฏด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ ฟ้องคดีครบถ้วนแล้ว ดังนี้

1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

2. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งคัดค้านที่กฎหมายกําหนดไว้ก่อน เว้นแต่บางกรณีที่สามารถฟ้อง โดยตรงได้

3. ต้องทําคําฟ้องตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนด เช่น ระบุคู่กรณี ข้อเท็จจริง คําขอ เป็นต้น

4. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของคดี เช่น 90 วัน, 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ ศาลอาจรับคดีที่ฟ้องเกินกําหนดมาพิจารณาได้ หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

พฤกษ์ เดชาเกร็ด (2550 : ออนไลน์) เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครอง การฟ้องคดีปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กําหนดระยะเวลาการฟ้องคดีต่อ ศาลปกครองไว้ 4 กรณี คือ

1. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ. 2542

2. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542

3. การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542

4. การฟ้องคดีตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542การฟ้องคดีที่มีเหตุจําเป็นอื่น เช่น กรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือต่อผู้ถูกฟ้องคดีขอให้ดําเนินการตามอํานาจ หน้าที่แล้วมีเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีติดต่อและรับว่าจะดําเนินการแก้ไขเยียวยาให้กับผู้ฟ้องคดีมาโดยตลอด ทํา ให้เชื่อว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะดําเนินการให้อันเป็นผลให้ผู้ฟ้องคดียื่นเรื่องร้องทุกข์เลยกําหนดเวลา จึงเป็นกรณีจําเป็นที่ ต้องรับไว้พิจารณาตามมาตรา52วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดปี กครอง พ.ศ. 2542

วรวุธ มีจิตต์(2557:ออนไลน์)1.เงื่อนไขการการออกคําบังคับได้(ตามมาตรา72แห่งพระราชบญัญัติ จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)ซึ่งแยกได้ 2 กรณี คือ

(ก.) ต้องเป็นคําขอที่ศาลออกคําบังคับให้ได้เช่น ขอให้ดําเนินการทางวินัย ในกรณีนี้ศาลไม่อาจ กําหนดคําบังคับได้

(ข.) ต้องเป็นกรณีที่มีความจําเป็นต้องมีคําบังคับของศาลจึงจะเยียวยาความเดือดร้อนได้

2.ได้มีการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายครบขั้นตอนแล้ว (ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542) ในกรณีที่การออกคําสั่งทางปกครอง ใด กฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับความเดือดร้อน เสียหาย มีสิทธิอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ ซึ่งก่อนฟ้องต้องดําเนินการ อุทธรณ์หรือร้องทุกข์ก่อน

3.ต้องเป็นคําฟ้องที่สมบูรณ์มีเนื้อหาครบถ้วน ซึ่งระบุในมาตรา 45

กล่าวโดยสรุป ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ดังนี้

1. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการกระทําของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ

2. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการโต้แย้งคัดค้านที่กฎหมายกําหนดไว้ก่อน เว้นแต่บางกรณีที่สามารถฟ้อง โดยตรงได้

3. ต้องทําคําฟ้องตามรูปแบบและรายละเอียดที่กําหนด เช่น ระบุคู่กรณี ข้อเท็จจริง คําขอ เป็นต้น 

4. ต้องยื่นฟ้องภายในระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของคดีนอกจากนี้ ศาลอาจรับคดีที่ฟ้องเกินกําหนดมาพิจารณาได้

6. ฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่

ค่าธรรมเนียมการยื่นฟ้องของศาลปกครองเป็นค่าใช้จ่ายที่ศาลกําหนดสําหรับการยื่นเอกสารทางกฎหมาย และการเริ่มดําเนินคดีทางปกครอง โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมเหล่านี้จะต้องชําระโดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ และ ได้รับการออกแบบเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคดี จํานวนค่าธรรมเนียมใน การยื่นฟ้องอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของคดี เขตอํานาจศาล และศาลเฉพาะที่เกี่ยวข้อง และการฟ้องคดี ต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่นั้น สรุปได้ดังนี้

ชาญชัย เเเสวงศักดิ์ (2545:176) ได้อธิบายถึงการฟ้องคดีปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ ว่า ฟ้องคดีปกครองนั้น กฎหมายวางหลักไว้ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เช่น ฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งเพิก ถอนกฎหรือคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องคดีขอให้สั่งห้ามการกระทําทางปกครองที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ฟ้องคดีขอให้ศาล สั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด ผู้ ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลแต่อย่างใดแต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีขอให้ศาลสั่งให้มีการใช้เงินหรือส่งมอบ ทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในอัตราร้อยละ๒.๕ ของ ทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้ชําระเป็นเงินสดหรือเป็นแคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือดร้าฟธนาคาร โดยสั่งจ่ายในนาม "เงินค่าธรรมเนียมและเงิน ค่าปรับของสํานักงานศาลปกครอง.... (ระบุชื่อสํานักงานศาล ปกครองที่ไปยื่นฟ้อง เช่น สํานักงานศาลปกครองกลาง สํานักงานศาลปกครองเชียงใหม่)

ฐิติพรป่านไหม(2559:1)“การเสียค่าธรรมเนียมศาล”ก็ถือเป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สาํคญัซงึ่ ผู้ฟ้องคดี มีภาระหน้าที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ส่วนจะมีหลักเกณฑ์อย่างไรนั้น และพระราชบัญญัติจัดต้ังศาล ปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการที่จะอํานวยความสะดวกในการ เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองหรือไม่ อย่างไร บทความนี้จะทําให้ท่านรู้และเข้าใจ และฟ้องคดี ต่อศาล ปกครองได้อย่างถูกต้อง

โดยปกติการฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่หากเป็น การฟ้องคดีเพื่อ ขอให้ศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองใช้เงินอันสืบเนื่องจาก คดีพิพาทเกี่ยวกับการ กระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจ ตามกฎหมาย หรือจากกฎคําสั่งทางปกครอง หรือคําสั่งอื่นหรือจากการละเลยต่อ หน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรหรือคดีพิพาทเกี่ยวกับสญั ญาทางปกครองตามมาตรา๙วรรคหนึ่ง(๓)และ(๔) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ คู่กรณีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามทุนทรัพย์ในอัตราร้อยละ ๒.๕ ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา ๔๕ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒)

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 45-46) ได้อธิบายว่าการฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล นั่นมีกรณีต่อไปนี้ โดยสรุปได้ดังนี้

1. กรณีฟ้องให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครอง, ห้ามการกระทําทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, หรือบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

2. กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อย ละ 2 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

3. หากผู้ฟ้องคดีชนะคดี ศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้ผู้ฟ้องบางส่วนหรือทั้งหมด

4. หากผู้ฟ้องไม่มีเงินเพียงพอในการเสียค่าธรรมเนียม ศาลอาจผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

กล่าวโดยสรุป การฟ้องคดีต่อศาลปกครองต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. กรณีฟ้องให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครอง ห้ามการกระทําทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล

2. กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อย ละ 2 ของทุนทรัพย์แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

3. หากผู้ฟ้องคดีชนะคดี ศาลจะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้ผู้ฟ้องบางส่วนหรือทั้งหมด

4. หากผู้ฟ้องไม่มีเงินเพียงพอในการเสียค่าธรรมเนียม ศาลอาจผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีต้องศึกษาหลักเกณฑ์การเสียค่าธรรมเนียมศาลให้เข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจฟ้องคดีต่อไป

7.ยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ที่ใด

ศาลปกครองเป็นศาลเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครองและข้อพิพาทระหว่าง บุคคลหรือองค์กรกับหน่วยงานของรัฐ เป็นเวทีที่กําหนดสําหรับการยื่นฟ้องคดีต่อคําตัดสินของฝ่ายบริหาร การ กระทํา หรือการละเว้นที่อาจละเมิดสิทธิหรือผลประโยชน์ของบุคคลหรือนิติบุคคล และสามารถยื่นคําฟ้องคดี ปกครองได้ที่สถานที่ดังต่อไปนี้ โดยสรุปได้ดังนี้

ชาญชัย แสวงศักดิ์ (2545 : 176) ศาลปกครองมีชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่วไปจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอํานาจซึ่งกฎหมายกําหนดให้ยื่นฟ้องต่อ ศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลําเนาหรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระ ราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่น ฟ้องต่อศาลปกครอง สูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

วิธีการยืนคําฟ้อง ผู้ฟ้องคดีอาจยื่นคําฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของทางปกครอง ณ ที่ทําการของศาล ปกครองที่มีเขตอํานาจ หรือจะยื่นคําฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 กําหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศรวม 5 แห่ง และหลังจากศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลางเปิดทําการเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ แล้ว ได้มีการเปิดทํา การศาลปกครองภูมิภาคไปแล้ว ๗ แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปกครอนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุโลก ศาลปกครองระยอง ศาลปกครองนครศรีธรรมราช

อําพน เจริญวินทร์ (2550: ออนไลน์ )การยื่นคําฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นคําฟ้องต่อ ศาลปกครองชั้นต้นที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลําเนาหรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในส่วนภูมิภาคสําหรับคําฟ้องอาจยื่นต่อศาลได้สองศาลหรือหลายศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลําเนาของผู้ฟ้องคดี เพราะสถานที่ที่มูลคดีเกิด หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อหา ถ้ามูลคดีมีความเกี่ยวเนื่องกัน ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดก็ได้ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องเขตศาลโดยที่ศาลปกครองหนึ่ง พิพากษาว่า คดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอยู่ในเขตอํานาจศาลปกครองอื่น กฎหมายให้ศาลปกครองนั้นส่งคําฟ้อง ไปยังศาลปกครองที่มีเขตอํานาจเพื่อพิจารณา ถ้าศาลปกครองชั้นต้นมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องเขตอํานาจศาล กฎหมายได้กําหนดให้ศาลปกครองที่รับคําฟ้องไว้หลังสุดเสนอความเห็นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อมีคําสั่งในเรื่อง เขตอํานาจศาลทั้งนี้ การฟ้องคดปี กครองที่มูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสัญชาติไทย และ ไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในราชอาณาจักร ผู้ฟ้องคดีต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง

การยื่นคําฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยที่ศาลปกครองสูงสุดมีแห่งเดียว ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศาลปกครองสูงสุดจึงมีเขตอํานาจทั่วราชอาณาจักร การยื่นคําฟ้องคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าผู้ ฟ้องคดีจะมีภูมิลําเนาในจังหวัดใด มูลคดีจะเกิดในจังหวัดใดก็ตามก็ต้องยื่นคําฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งตั้งอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร

สํานักงานศาลปกครอง (2557 : 49-52) สถานที่ยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ สามารถยื่นฟ้องได้ที่สถานที่ ต่อไปนี้ ศาลปกครองมี 2 ชั้นศาล คือศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีปกครองโดยทั่ว ไป จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นที่มีเขตอํานาจซึ่งกฎหมายกําหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องคดีมีภมูิลําเนา หรือที่มูลคดีเกิด แต่ถ้าเป็นการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออก โดยคณะรัฐมนตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดโดยตรงไม่ต้องยื่นฟ้อง ต่อศาลปกครองชั้นต้นก่อน

วิธีการยื่นคําฟ้อง ผู้ฟ้องคดีสามารถเลือกยื่นคําฟ้องได้ 2 วิธีคือ

1. ยื่นคําฟ้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง ณ ที่ทําการของศาลปกครองที่มีเขตอํานาจ หรือ

2. ยื่นคําฟ้องโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สถานที่ยื่นคําฟ้อง

1. ศาลปกครองสูงสุด - ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่

2. ศาลปกครองชั้นต้น 11 แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองกลาง, ศาลปกครองเชียงใหม่, ศาลปกครองสงขลา, ศาลปกครองนครราชสีมา, ศาลปกครองขอนแก่น, ศาลปกครองพิษณุโลก, ศาลปกครองระยอง, ศาลปกครอง นครศรีธรรมราช, ศาลปกครองอุดรธานี, ศาลปกครองอุบลราชธานี, ศาลปกครองเพชรบุรี

ซึ่งแต่ละแห่งจะมีเขตอํานาจครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด สามารถยื่นฟ้องได้ที่ศาลในเขตที่ตนมีภูมิลําเนา หรือที่เกิดเหตุ

กล่าวโดยสรุป สถานที่ยื่นคําฟ้องคดีปกครองได้ดังนี้

1. ศาลปกครองชั้นต้น - ได้แก่ ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองในภูมิภาคอีก 10 แห่ง ยื่นได้ที่ศาลที่ตน มีภูมิลําเนาหรือที่เกิดเหตุ

2. ศาลปกครองสูงสุด - ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ยื่นได้โดยตรงสําหรับคดีที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ กฎหมายลําดับรอง

วิธีการยื่น ได้แก่ ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศาล หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

สรุป

1. ศาลปกครอง หมายถึง ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้ศาลปกครองเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ซึ่งเป็น อิสระจากศาลยุติธรรม “ระบบศาลเดี่ยว”

2.หน่วยงานบริหารมีข้อพิพาทกับหน่วยงานธุรการฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งหรืออาจเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเองศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล อบต. และอบจ.

3. คดีปกครองที่อาจยื่นต่อศาลปกครองได้มี 6 ประเภท ได้แก่

1. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคําสั่งทางปกครอง 

2. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทําละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น 

3. ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง 

4. ข้อ โต้แย้งเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 

5. ข้อโต้แย้งพิพาทเกี่ยวกับเรื่องวินัยการเงินการคลัง ของรัฐ 

6. ข้อโต้แย้งอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

4. คดีปกครองที่ศาลปกครองไม่มีอํานาจพิจารณามี 6 ประเภท ได้แก่ คดีตามมาตรา 9 วรรคสอง, คดีที่ กฎหมายตัดอํานาจศาลปกครอง, คดีที่คู่กรณีไม่ใช่หน่วยงานรัฐ, คดีที่ไม่ใช่การใช้อํานาจทางปกครอง, คดีแพ่ง/ อาญา, คดีที่อยู่ในอํานาจศาลยุติธรรม

5. เงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้แก่ ต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี, ต้องแก้ไขความเดือดร้อนตาม ขั้นตอนก่อน, ต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายหรือมีส่วนได้เสีย

6. การฟ้องคดีปกครองไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้ฟ้องคดีถูกสั่งให้ชําระเงินหรือส่ง มอบทรัพย์สิน ผู้ฟ้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามบัญชีท้ายประมวลวิธีการพิจารณาคดี ในกรณีที่ศาลปกครอง พิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีชนะคดี

7. ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด วิธีการยื่นฟ้อง ได้แก่ ยื่นต่อ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง และส่งทางไปรษณีย์

เอกสารอ้างอิง

ผู้จัดทำ