วิสัยทัศน์
“มุ่งมั่นให้บริการ เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้เกิดความตระหนักรู้ในตนเอง
และพัฒนานักเรียนให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
บนพื้นฐานของความพอเพียง”
ความเป็นมาของวิชาแนะแนว
ในปีพุทธศักราช 2551 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกิจกรรมแนะแนว ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อีกทั้งยังระบุว่ากิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นจะต้องครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านส่วนตัวและสังคม เพื่อพัฒนาให้นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น สามารถวางแผนด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคมได้ สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์ของวิชาแนะแนว
1.เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักรักและเคารพคนอื่น เห็นคุณค่าในตนเอง
2.เพื่อให้นักเรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
การบริการของงานแนะแนว
1.บริการสารสนเทศ
- ศึกษาข้อมูลข่าวสารจากบอร์ดประชาสัมพันธ์ของงานแนะแนว
- ให้บริการคอมพิวเตอร์ Internet เพื่อการสืบค้น และ Print งานเอกสารต่างๆ
- ให้บริการ ยืม – คืน หนังสือ คู่มือ เอกสารแนะแนวการศึกษาต่อ อาชีพ ส่วนตัวและสังคม
2.การให้คำปรึกษา
-ให้คำปรึกษาแบบกลุ่มและแบบรายกรณีโดยตรงกับอาจารย์แนะแนวหรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3.การจัดวางตัวบุคคล
-ทุนต่างๆ ทุนต่อเนื่อง ทุนมูลนิธิต่างๆ นักเรียนสามารถติดต่อแจ้งความประสงค์
กับอาจารย์แนะแนว
-ทุนกำเนิดโรงเรียน ให้นักเรียนยื่นกรอกแบบฟอร์มในเทอมที่ 1 ของปีการศึกษานั้นๆ
ประโยชน์ที่ได้รับจากงานแนะแนว
ประโยชน์ที่เกิดกับนักเรียน
1) นักเรียนมีแนวทางจัดการกับความเครียดหรือปัญหาของตนเองอย่างเหมาะสม
2) นักเรียนมีความตระหนักรู้ในตนเอง มีความรัก มีความเข้าใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
3) นักเรียนมีทักษะในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค
ประโยชน์ที่เกิดกับครู
1) ได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี หลักการกระบวนการ และทักษะในการให้การปรึกษา
เชิงจิตวิทยา
2) สามารถจัดการกับปัญหาหรือความเครียดของนักเรียนให้หมดไปหรือบรรเทาเบาบางลงได้
3) แสดงถึงประสิทธิภาพของครูแนะแนวในการทำงานเชิงรุก
ประโยชน์ที่เกิดกับผู้ปกครอง/ ชุมชน
1) รับรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรม ทัศนคติ และความคิดของนักเรียน
2) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นของบุตรหลาน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม รวมถึงศักยภาพและความสนใจที่มีความเป็นปัจเจกบุคคล
3) มีแนวทางในการส่งเสริมพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ที่เกิดกับโรงเรียน
1) งานแนะแนวของโรงเรียน ในด้านบริการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยาสามารถดำเนินการได้อย่าง
เป็นรูปธรรม เต็มรูปแบบ เน้นยุทธศาสตร์เชิงรุก
2) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ตอบสนองนโยบายในการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
3) สามารถเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ ได้