ข่าวบริการวิชาการ

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม แก่บุคคลทั่วไป

23 ก.ค. 2566

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี จัดโครงการ "อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความวาม รุ่น 2" แก่บุคคลทั่วไป ณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี

วิทยากร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวรรณ สุวรรณ์ และ อาจารย์ ดร.สุกัญญา วงวาท อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี

โดยกิจกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อบูรณาการความรู้จากงานวิจัย การเรียนการสอน ให้เข้ากับการบริการวิชาการ

ซึ่งกิจกรรมภาคเช้า มีการบรรยายหัวข้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม และมีกิจรรมการการลงมือปฏิบัติทำผลิตภัณฑ์เส้นแก้ว และแปรรูปอาหารจากผลิตภัณฑ์เส้นแก้ว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

และกิจกรรมใในภาคบ่ายมีกิจกรรมการทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิวผสมสารสกัดจากธรรมชาติและมีการตรวจวัดสภาพผิวของผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้อย่างชัดเจน

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.prnewsthailand.com/view/72463 และเวบไซต์ในเครือ

 *************************************************************************************************************************************************** ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประเภทของการให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การวิจัย (ภาคเอกชน) การให้คำแนะนำทางวิชาการ/ที่ปรึกษาทางวิชาชีพ การทดสอบ ตรวจสอบ การค้น คว้า สำรวจ วิเคราะห์ ฯลฯ ผู้ที่สนใจขอรับบริการวิชาการ และวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ เวบไซต์ : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร (http://www.agro.kmutnb.ac.th/?page_id=1207) Facebook : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี โทรศัพท์ : 037-217300 ต่อ 7928, 7938, 7932, 7933, 7934 
                                                                                                                                                          update : 24/07/2566   

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. จัดโครงการพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางจำหน่ายชาชงสมุนไพร

26 พ.ค. - 7 มิ.ย. 2566

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี จัดโครงการ "พัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างช่องทางจำหน่ายชาชงสมุนไพร (กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) สำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนนทรีวิทยาคม" อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยผ่านเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบนโดยกิจกรรม มีดังต่อไปนี้วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มสมุนไพรจิงจูฉ่าย”ให้แก่ครู และนักเรียนนนทรีวิทยาคม ณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรีวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตร นำโดย ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรจิงจูฉ่ายอบแห้ง” ซึ่งผู้ที่เข้าอบรมเป็นครูต้นแบบจำนวน 3 คน และนักเรียนต้นแบบจำนวน 6 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียนนนทรีวิทยาคม จังหวัดปราจีนบุรี ภายในกิจกรรมได้มีการให้ความรู้ด้านการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรจิงจูฉ่ายอบแห้ง เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกสมุนไพร การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของสมุนไพรด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการวัดค่าความชื้น การวัดค่าสี การวัดค่าปริมาณน้ำอิสระ รวมทั้งการการวัดค่า pH ของน้ำชา และการหาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในน้ำชา นอกจากนี้ผู้ที่เข้ารับการอบรมยังได้ลงมือผลิตชาอบแห้งจิงจูฉ่ายผสมพืชสมุนไพรต่างๆ ภายใต้การสร้างฉลากสินค้าที่ถูกต้องอีกด้วยวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตร นำโดย ดร.โกศล น่วมบาง ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การจัดทำสื่อและช่องทางในการจำหน่ายสินค้าทางเกษตรเบื้องต้น” ซึ่งผู้ที่เข้าอบรมเป็นครูต้นแบบจำนวน 3 คน และนักเรียนต้นแบบจำนวน 6 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียนนนทรีวิทยาคม จังหวัดปราจีนบุรี ภายในกิจกรรมได้มีการให้ความรู้การจัดทำสื่อและช่องทางในการจำหน่ายสินค้าทางเกษตรเบื้องต้น ในหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ช่องทางตลาดและการจำหน่ายสินค้าเบื้องต้น การนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Infographic รวมไปถึงการสร้างสื่อเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและตรงเป้าหมายต่อกลุ่มลูกค้าวันที่ 7 มิถุนายน 2566 คณะอุตสาหกรรมเกษตร นำโดย ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกิจกรรมการทดสอบใช้สื่อการสอนออนไลน์ต้นแบบ ภายใต้“โครงการฝึกอบรมพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างช่องทางจำหน่ายชาชงสมุนไพร (กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) สำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยาคม” โดยมีครูพี่เลี้ยงต้นแบบจำนวน 3 ท่านจากโรงเรียนนนทรีวิทยาคม ได้แก่ ครูพีรธัท ยิ่งเจริญ (ครูพี่เลี้ยงประจำโรงเรียน) ครูธิดา พร้อมขุนทด และว่าที่ร้อยตรีหญิงศิริรัตน์ แผลกระโทก เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบการสอนในคาบเรียนรายวิชา “การงานอาชีพและวิชาการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจการค้าสมัยใหม่” ซึ่งมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เข้าร่วมทดสอบการเรียนการสอนผ่านสื่อการสอนออนไลน์จำนวน 21 คน โดยสื่อต้นแบบที่จัดขึ้นมีจำนวน 3 บทเรียนได้แก่ บทที่ 1 เรื่องการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมดื่มสมุนไพรจิงจูฉ่าย”บทที่2 เรื่องการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรจิงจูฉ่ายอบแห้ง และบทที่ 3 เรื่อง การจัดทำสื่อและช่องทางในการจำหน่ายสินค้าทางเกษตรเบื้องต้น” ซึ่งสื่อการสอนออนไลน์ทั้ง 3 บทเรียน ได้รับการผลิตและจัดทำขึ้นจากความร่วมมือระหว่างโรงเรียนนนทรีวิทยาคม และคณะอุตสาหกรรมเกษตร โดยนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมและตอบคำถามท้ายบทเรียนถูกต้องมากกว่าร้อยละ 70 ของคำถามในแต่ละบท จะได้ใบประกาศนียบัตรออนไลน์ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมทางอีเมลล์ที่สมัครโดยอัตโนมัติทันที

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ https://shorturl.asia/EhYeJ 

 *************************************************************************************************************************************************** ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประเภทของการให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การวิจัย (ภาคเอกชน) การให้คำแนะนำทางวิชาการ/ที่ปรึกษาทางวิชาชีพ การทดสอบ ตรวจสอบ การค้น คว้า สำรวจ วิเคราะห์ ฯลฯ ผู้ที่สนใจขอรับบริการวิชาการ และวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ เวบไซต์ : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร (http://www.agro.kmutnb.ac.th/?page_id=1207) Facebook : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี โทรศัพท์ : 037-217300 ต่อ 7928, 7938, 7932, 7933, 7934 
                                                                                                                                                          update : 12/06/2566   

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. เปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Non-Degree) สอนทำวุ้นมะพร้าวต่อยอดอาชีพ จำนวน 6 รุ่น/ปี


คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ตลอดจนการบริหารจัดการในการผลิต การจัดเก็บ การตลาด เป็นต้น มีศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม มีห้องปฏิบัติการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย รวมถึงมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานราชการ หรือเอกชนภายนอก 

ดังนั้นเป็นเพื่อเป็นการบริการวิชาการให้แก่ประชาชนทั่วไป และการประชาสัมพันธ์หลักสูตรของคณะที่มีการจัดการศึกษาแบบประกาศนียบัตร (Non-Degree) ทางภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตวุ้นน้ำมะพร้าวจากเชื้อจุลินทรีย์เบื้องต้นและการแปรรูป รุ่นที่ 1 แบบออนไลน์ (Google classroom หรือ กลุ่ม Facebook ปิด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และกลุ่มผู้สนใจ) เพื่อเพิ่มองค์ความรู้และทักษะใหม่ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไปในการผลิตวุ้นน้ำมะพร้าวจากเชื้อจุลินทรีย์ Acetobacter Xylinum โดยเมื่อแปรรูปแล้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ผลิตภัณฑ์นี้สามารถผลิตได้จากน้ำมะพร้าวเหลือทิ้งนำมาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย และผู้สนใจทั่วไปสามารถผลิตได้เองด้วยกระบวนการที่ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ทั้งนี้ผู้ที่สมัครเข้าอบรมเข้ากลุ่มศึกษาวีดีโอเนื้อหาภาคบรรยาย และวีดีโอสาธิตวิธีการผลิต โดยผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดให้ หรือสอบถามข้อสังสัย และเข้าทบทวนเนื้อหาในกลุ่มได้ตลอดระยะเวลาของหลักสูตร 1 เดือน

สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน 2565

เริ่มเรียน 1-30 พฤศจิกายน 2565 

นอกจากนี้ยังมี คอร์สออนไลน์อื่นๆ สามารถดูได้ที่ https://agro.kmutnb.ac.th/?page_id=5272 

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ทาง QR Code ทางโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

 ******************************************************************************************************************* ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประเภทของการให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การวิจัย (ภาคเอกชน) การให้คำแนะนำทางวิชาการ/ที่ปรึกษาทางวิชาชีพ การทดสอบ ตรวจสอบ การค้น คว้า สำรวจ วิเคราะห์ ฯลฯ ผู้ที่สนใจขอรับบริการวิชาการ และวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ เวบไซต์ : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร (http://www.agro.kmutnb.ac.th/?page_id=1207) Facebook : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี โทรศัพท์ : 037-217300 ต่อ 7928, 7938, 7932, 7933, 7934 
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :  https://www.prnewsthailand.com/view/61698                                                                                                                                                                                                                  https://www.thaipr.net/education/3228766                                                                                                                        update : 10/10/2565    

สกสว. ร่วมกับ วช. จัดงาน "มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (TRIUP Fair 2022)" คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี ร่วมจัดแสดงผลงาน


4 -6 เมษายน 2565
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงาน "มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย(TRIUP Fair 2022)" ณ สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพฯ ในการนี้ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.รัชนี เจริญ อาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร ที่ผลงานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการSMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 3 : การผลิตสมูทตี้ผงจากอิตาเลี่ยนเคลชนิดโปรไบโอติกสูง (กลุ่มที่ 10)" ที่ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้สนับสนุนทุนวิจัย ให้นำผลงานวิจัยจัดแสดงในงานดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับความสนใจในหลายภาคส่วน รวมทั้งมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์สูง เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลและผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ******************************************************************************************************************* ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประเภทของการให้บริการวิจัย และบริการวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ การวิจัย (ภาคเอกชน) การให้คำแนะนำทางวิชาการ/ที่ปรึกษาทางวิชาชีพ การทดสอบ ตรวจสอบ การค้น คว้า สำรวจ วิเคราะห์ ฯลฯ ผู้ที่สนใจขอรับบริการวิชาการ และวิจัย สามารถติดต่อได้ที่ เวบไซต์ : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร (http://www.agro.kmutnb.ac.th/?page_id=1207) Facebook : ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี โทรศัพท์ : 037-217300 ต่อ 7928, 7938, 7932, 7933, 7934 
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :  https://www.ข่าวประชาสัมพันธ์.com/education/view/54360                                        https://www.prnewsthailand.com/view/54360                                                                                                                                                                                                                                                                                                       update : 7/4/2565    

โครงการบริการวิชาการ ประเภทวิทยากร "โครงการเพิ่มผลิตภาพ สู่ SME 4.0"


18 มีนาคม 2564 
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี จัดโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่ SME 4.0  ให้กับวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ดงบัง  ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี  โดยมีวิทยากรคือ อ.ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  อ.สัญญา โพธิ์วงษ์ จากวิทยาลัยเทคนิคนครนายก และ อ.ชาญ จับฟั่น จากวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีเข้าไปบริการวิชาการให้ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตในขั้นตอนการลดความขมที่ผิวมะนาวจากเครื่องนวด เพื่อลดต้นทุนและลดระยะเวลาการขัดความขมออกจากผิวเปลือกมะนาวของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ดงบัง จังหวัดปราจีนบุรี ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน บ้านเนินยาง หมู่ 8 ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีทั้งนี้ได้ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอแก่นายสุทธิพงษ์ โกศลวิริยะกิจ ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เนื่องในโอกาสที่ท่านได้เดินทางมาตรวจราชการในจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งหลังจากที่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดความขมที่เปลือกมะนาวแล้ว จะมีการนำเอาผลมะนาวที่ได้ไปทำการดองเค็มเพื่อทำเป็นมะนาวดองส่งต่อให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรสำหรับใช้เป็นยารักษาอาการแก้เจ็บคอต่อไป

                                                                                                                                                                   update : 25/3/2564     

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี เป็นพี่เลี้ยงให้วิสาหกิจชุมชน


วันที่  1 กุมภาพันธ์ 2564
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.วิทยาเขตปราจีนบุรี โดยผศ.ดร. เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา  ดร. เปรมศักดิ์ พวงพลอย  ดร.โกศล น่วมบาง  อาจารย์มีชัย ลัดดี อาจารย์สุกัญญา วงวาท และอาจารย์ดารัตน์ เดชอำไพ  ร่วมมือกับนายจีรศักดิ์ เตียวตระกูล นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานปราจีนบุรี ให้คำปรึกษาแก่วิสาหกิจชุมชนอินทรีย์ดงบัง จังหวัดปราจีนบุรีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตมะนาวดอง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบทำเป็นยาสมุนไพร โดยให้คำปรึกษา แนะนำถึงวิธีการปรับปรุง เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตให้รวดเร็วและง่ายขึ้น  รวมถึงการบริหารจัดการของเสียให้เกิดประโยชน์  ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากมะนาวให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อใช้เป็นต้นแบบและแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจในเชิงพาณิชย์และเป็นอาชีพที่สามารถเสริมสร้างรายได้  สร้างความมั่นคงให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป 
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.thaipr.net/education/3025967?fbclid=IwAR0BANfd2gMQ5wkYIGIcSP6Y71cHuFn99A4uBy7_W28ax67H9lD5DYxW86A


                                                                                                                                                                                     update : 2/2/2564     

โครงการบริการวิชาการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป”


วันที่ 17 - 18  ธันวาคม 2563
       คณะอุตสาหกรรมเกษตร และศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเกียรติต้อนรับคณะผู้เข้ารับการฝึกอบรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กช.ศภ.9 กสอ. และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรม สอจ.ปราจีนบุรี ในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เครื่องมือเครื่องจักรเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป” กิจกรรมการเพิ่มทักษะบุคลากรผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Reskill) ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน (ITC ชุมชน) ประจำปีงบประมาณ 2564 ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2563 ณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี โดย คุณณิชารีย์ จตุรพิธพร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานเปิดงาน  และ ผศ.ดร.ปิยะรัชช์  กุลเมธี คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรฯ กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้ารับการฝึกอบรม 
      การฝึกอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในด้านเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ผ่านกลไกการให้บริการของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ITC และหน่วยงานเครือข่าย เช่น เครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย Spray Dryer  เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง Freeze Dryer  เครื่องทอดสุญญากาศ Vacuum Fryer  เป็นต้น         ทั้งนี้ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว จังหวัดละ 2 กลุ่ม รวมจำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมฯ ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง Mini ITC จังหวัด กับ ITC ภูมิภาค และสถาบันการศึกษา ร่วมดำเนินกิจกรรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากคณะอุตสาหกรรมเกษตรฯ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรต่างๆให้กับบุคลากรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้มีทักษะในการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันต่อไปได้เพิ่มทักษะการผลิตให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีการแปรรูป”
           ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร และศุนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 จะมีข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :

https://member.thaipr.net/manufacturing/2053237/


                                                                                                                                                                                     update : 18/12/2563     

โครงการบริการวิชาการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "โครงการพัฒนาเครือข่ายนักนวัตกรรมรุ่นเยาว์ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ครั้งที่ 1 " 


วันอังคารที่ 15 ธันวาคม 2563 เวลา 08.30 น.        คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "โครงการพัฒนาเครือข่ายนักนวัตกรรมรุ่นเยาว์ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร ครั้งที่ 1" โดยมีครูและนักเรียนเข้าร่วม ซึ่งประกอบไปด้วยโรงเรียนดังต่อไปนี้
1.โรงเรียนปราจีนกัลยาณี2.โรงเรียนอรัญประเทศ3.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี4.โรงเรียนกบินทร์วิทยา5.โรงเรียนสระแก้ว6.โรงเรียนนนทรีวิทยาคม7.โรงเรียนมารีวิทยา
       ณ ห้องเรียนบรรยาย ห้อง 417 ชั้น 4 อาคารคณะอุตสาหกรรมเกษตรจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของโครงการนี้1. เพื่อให้เกิดความรู้ด้านอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่และทราบทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรใน อนาคต2. เพื่อให้ทราบบทบาทของคณะอุตสาหกรรมเกษตรในการพัฒนากําลังคนด้านอุตสาหกรรมเกษตรของ ประเทศ3. เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนรุ่นใหม่ด้านอุตสาหกรรมเกษตรในภาคตะวันออกและจังหวัดใกล้เคียง4. เป็นประชาสัมพันธ์หลักสูตรและแนะนําคณะให้เป็นที่รู้จักแก่คุณครูและนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                                                                                                                                                                                     update : 16/12/2563     

โครงการบริการวิชาการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การฝึกทักษะปฏิบัติการแปรรูปอาหารด้วยระบบสะเต็มศึกษา" ครั้งที่ 1-3


วันที่ 1-3 ธ.ค..2563  
       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระศักดิ์ เสรีกุล รองอธิการบดีประจำวิทยาเขต มจพ. ปราจีนบุรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัชช์ กุลเมธี คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้มอบป้ายโรงเรียนเครือข่าย ให้กับ นายสุพล จันทะนามศรี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี         ในการนี้คณะอุตสาหกรรมเกษตร  ร่วมด้วยศูนยวิจัยอุตสาหกรรมเกษตรนำทีมโดย อาจารย์ มีชัย ลัดดี  และคณาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " การฝึกทักษะปฏิบัติการแปรรุปอาหารด้วยระบบสะเต็มศึกษา"  ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวนมากกว่า 800 คน ของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง จังหวัดปราจีนบุรี และได้กิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 ฐานการเรียนรู้ ดังนี้ฐานที่ : เรียนรู้กับอาหารและการจัดการฐานที่ : ประชาสัมพันธ์หลักสูตร และแนวทางการรับสมัครนักศึกษาฐานที่ : สนุกเรียนรู้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฐานที่ : สนุกเรียนรู้กับอาหารและโภชนาการ       เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติการแปรรูปอาหารด้วยระบบสะเต็มศึกษาให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลความพร้อมด้านอุปกรณื เครื่องมือแปรรูป เครื่องมือการวิเคราะห์คุรภาพ และศักยภาพของบุคลากรคณะอุตสาหกรรมเกษตร และสร้างความร่วมมือด้านดารพัฒนาทางวิชาการระหว่างคณะอุตสาหกรรมเกษตรและโรงเรียน
                                                                                                                                                                                     update : 4/12/2563     

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การประเมินคุณค่าทางโภชนาการอาหารจัดเลี้ยงผู้ต้องขังและการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูงและเรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี


เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2563 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี
นำทีมโดย อาจารย์ ดร.พัชรี ปราศจาก  อาจารย์ ดร.ภัควัฒน์ เดชชีวะ อาจารย์ ดร.วิเชียร ศรีวิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัชช์ กุลเมธี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา
ได้ออกไปให้บริการวิชาการ  เรื่อง "การประเมินคุณค่าทางโภชนาการอาหารจัดเลี้ยงผู้ต้องขังและการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูงและเรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี"  แก่ผู้ต้องขัง ณ ทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูง และเรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี
เพื่อฝึกอบรมพัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขัง ส่งเสริมอาชีพหลังพ้นโทษ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าของคนต่อชุมชน ลดปัญหาอาชญากรรม ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และส่งผลให้สังคมมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนทั้งนี้ยังได้มีการประเมินคุณค่าทางโภชนาการอาหารจัดเลี้ยงแก่ผู้ต้องขังอีกด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเตืมได้ที่ :
https://prthailand.net/36012/https://www.thaipr.net/general/1035761 
                                                                                                                                                                                     update : 3/12/2563     

บริการวิชาการด้านการขอใช้เครื่องมือ


วันที่ 18 พฤศจิกายน  2563 นำโดย อาจารย์มีชัย ลัดดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และนางสาวสายฝน สีกานนท์  นักวิทยาศาสตร์ประจำคณะฯ และศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ได้ให้ความอนุเคราะห์สาธิตและให้บริการการใช้เครื่องวัดเนื้อสัมผัสอาหาร ในโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบจากลิกนินในน้ำดำที่มีผลต่อความคงทนของเส้นกก  ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนปราจิณราษฎรอํารุง จำนวน 3 คน และครูที่ปรึกษา คือ ครูสราญ ยิ่งสุข และครูจรัญญา พรตภณาพร ครูที่ปรึกษาโครงงานฯ 
                                                                                                                                                                                 update : 18/11/2563     

โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องจักรกลาง หลักสูตร "นวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพรอบแห้ง"


เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี  ได้จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องจักรกลาง หลักสูตร "นวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพรอบแห้ง" ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหารภาคตะวันออกสู่อุตสาหกรรม 4.0
ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม อาคารโรงงานปฏิบัติการ  ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี
ในการนี้ คณาจารย์ จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.  2 ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา ภูงามเงิน และ อาจารย์ ดร.ภัควัฒน์ เดชชีวะ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม  
โดยบรรยายให้ความรู้ เรื่อง ทฤษฎีการอบแห้ง การพัฒนากระบวนการอบแห้ง และเทคนิคการทำแห้งด้วย Rotary tray dryer การวัดคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์การเสื่อมเสีย และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร และสมุนไพรอบแห้ง รวมถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอัดเม็ด
จะเห็นได้ว่า ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.ปราจีนบุรี มีบุคลากรที่มีความพร้อม และมีความรู้ความสามารถในการให้บริการวิชาการแก่สังคมได้เป็นอย่างดี

โครงการ พัฒนาผลิตภัณฑ์โลชันผิวขาวจากสารสกัดใบเม่าสำหรับวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร


เมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2563
คลินิกเทคโนโลยีราชมงคลสกลนคร  คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลอีสาน สกลนคร ร่วมกับ ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี
ร่วมดำเนินกิจกรรม "โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชันผิวขาวจากสารสกัดใบเม่าสำหรับวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นสกลนคร" 
ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปน้ำผลไม้โดนหัวช้าง อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร  
ในการนี้ คณาจารย์ จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มจพ.  2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกตินันท์ กิตติพงศ์พิทยา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายร่วมกับคณาจารย์จาก คณะทรัพยากรธรรมชาติ มทร.  
โดยบรรยายให้ความรู้เพื่อต่อยอดการวิจัยสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ด้านการสกัดสารสำคัญจากใบเท่า การผลิคโลชัน การคิดค้นสูตรโลชั่นจากสารสกัดหยาบใบเท่า และพืชสมุนไพรท้องถิ่น การตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัย และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการให้เกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในท้องถิ่น ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า

โครงการ ฝึกอบรมและสาธิตการใช้เครื่องมือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563


ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี ได้กำหนดกิจกรรมการฝึกอบรมและสาธิตการใช้เครื่องมือแก่บุคลากร และผู้ที่สนใจ รวมถึงนักศึกษาระดับชั้นต่างๆของคณะฯ ดังต่อไปนี้
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562

ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่องมือปรจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพระดับเซลล์ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์หัวกลับพร้อมชุดถ่ายภาพ, ตู้บ่ม CO2, ตู้ปลอดเชื้อ Biohazard Class II, ตู้แช่ -40 C , ตู้เย็น, เครื่องหมุนเหวี่ยงตกตะกอน (refigerater Centrifuge) โดยวิทยากรจากบริษัท เอสพีซี อาร์ที จำกัด
- วันที่ 8-9 มิถุนายน 2563 
ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่อง DSC (Differential Scanning Calorimetry)   โดยวิทยากรจากบริษัท เมทเลอร์ โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด
- วันที่ 11-12 มิถุนายน 2563
ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dryer) และกล้องสเตอริโอ (Stereo microscope) โดยวิทยากรจาก บริษัท แอนตัน พาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- วันที่ 15-16 มิถุนายน 2563
ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่อง Rheometer โดยวิทยากรจาก บริษัท แอนตัน พาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- วันที่  29 มิถุนายน 2563
ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่อง Spray Dryer และ Fluid bed granulator โดยวิทยากรจากบริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด 
- วันที่ 30 มิถุนายน 2563
ฝึกอบรมและสาธิตวิธีใช้เครื่องมือพื้นฐานต่างๆ อาทิ Vacuum dryer, Microcentrifuge, pH meter, Freezer, Moisture balance, Weight balance เป็นต้น โดยวิทยากรจากบริษัท เบคไทย จำกัด และ บริษัท เมทเลอร์ โทเลโด (ประเทศไทย) จำกัด 
4. โครงการ “Basic Concept of Thermal Processing and Other Techniques”
วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563 ระหว่างเวลา 09.00น. – 14.00 น.🏆ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนี เจริญ Ratchanee Charoen อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรีได้ให้บริการวิชาการโดยการบรรยายผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) ในหัวข้อเรื่อง “Basic Concept of Thermal Processing and Other Techniques” ให้กับนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน บริษัท กรูเมท์ พรีโม่ จำกัด (บริษัทในเครือ Bangkok air cattering) ที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหาร ให้บริการในกลุ่มธุรกิจ HORECA และสายการบิน Bangkok airways ✈️
3.  "โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาแปรรูปลูกชิ้นปลา ไส้กรอกปลา และลุกชิ้นกุ้ง"
📅20 มีนาคม 2563📅🧪🔬ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับคณาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนิน "โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาแปรรูปลูกชิ้นปลา ไส้กรอกปลา และลุกชิ้นกุ้ง " ให้กับสหกรณ์ประมงนิคมบ้านสร้างพัฒนาปราจีนบุรี จำกัด
🔬📖โดยดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงสูตรและกระบวนการผลิต และ จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี, ฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาแล้ว โดย อ.นาฏกาญจน์ จักรานุวัฒน์ และ อ.พัชรี คุณจันทร์สมบัติ 👩‍🏫📚📖เพื่อให้สมาชิกกลุ่มสหกรณ์ได้รับความรู้ และนำความรู้ที่ได้จากการให้คำแนะนำ ไปเป็นแนวทางในดำเนินงานเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการผลิตต่อไป👨‍🍳👩‍🍳
2. โครงการ "การถ่ายทอดความรู้การทำเจลล้างมือ และสเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ให้กับชุมชน"
เมื่อวันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เวลา 9.30 น. ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร จัดโครงการ “การถ่ายทอดความรู้การทำเจลล้างมือ และสเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ให้กับชุมชน” โดยคณาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้ถ่ายทอดความรู้และสาธิตการทำเจลล้างมือ ให้แก่ตัวแทน อสม.จากหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลเนินหอม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี  เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปเผยแพร่ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนของตนเอง และเพื่อให้ตระหนักถึงมาตรการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 
นับว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับชุมชนใกล้เคียง ในการมีส่วนร่วมในการกันป้องกันโรคระบาดไม่ให้แพร่กระจายในชุมชน
การทำเจล และสเปรย์แอลกอฮอล์ 70%

ข่าวบริการวิชาการ

1. โครงการ "การประเมินสถานการณ์การผลิตอาหารแปรรูปของผู้ประกอบการ OTOP เพื่อพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต"
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 นายนวพงษ์ ศรีชื่น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพืช สภาเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี และชมรมชาวไร่มันสำปะหลังจังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาดูวิธีการแปรรูปมันสำปะหลัง อันเนื่องมาจากความร่วมมือของ สภาเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี และ ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ณ บ้านหนองหอย ต.ศรีมหาโพธิ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 
โดยมี ดร. ภัควัฒน์ เดชชีวะ ผศ. ดร.จันทิมา ภูงามเงิน ดร. พัชรี ปราศจาก และนักศึกษา มาสาธิตวิธีการแปรรูปมันสำปะหลังที่ทางมหาวิทยาลัยฯได้ศึกษาค้นคว้าและวิจัย พันธุ์มัน 5 นาที พันธุ์พิรุณ 1 และ พันธุ์พิรุณ 2 ให้สามารถรับประทานได้โดยทำให้ปลอดสารไซยาไนด์ที่มีอยู่มากในมันสำปะหลัง ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ถูกวิธี ผลจากการแปรรูปแล้วรสชาติที่ได้ไม่ต่างจากมันฝรั่งทอด ไม่มีกลิ่นหืน สามารถปรุงและใส่รสชาติได้ตามต้องการ สามารถเก็บได้นานหนึ่งสัปดาห์ 
ถือว่าเป็นความสำเร็จอีกขั้นของความร่วมมือในการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีมากในท้องถิ่น เกษตรกรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตได้ โดยทางสภาเกษตรกรฯ และ ม.วิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ จะดำเนินการพัฒนาและเผยแพร่ผลงานสู่เกษตรกร ต่อไป 

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 62 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ให้แก่นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร 2 เรื่องด้วยกัน คือ 
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย พร้อมการใช้และดูแลเครื่องชั่งอย่างถูกวิธีโดย น.ส.ณัฏฐาพร เทียนดำ (นักวิทยาศาสตร์)
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีการตรวจสอบคุณภาพอาหารด้านจุลินทรีย์ด้วยวิธีการ Pour plate และ Spread plateโดย น.ส.สุภัตรา จอมทรักษ์ (นักวิทยาศาสตร์)
เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการใช้ห้องปฏิบัติการ และดูแลรักษาเครื่องชั่งอย่างถูกวิธี สามารถใช้ห้องปฏิบัติการได้อย่างมีความสุข ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดขณะทำปฏิบัติการ และเพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ และมีความพร้อมในการทำปฏิบัติการด้านจุลชีววิทยา และทำปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเรียนวิชาปัญหาพิเศษและจากสรุปผลการดำเนินโครงการ พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 36 คน สถานภาพนักศึกษา มีผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจหลังรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งหมด 19 คน แบ่งเป็น ชาย 2 คน หญิง 17 คน โดยผลประเมินพึงพอใจในภาพรวมของโครงการในภาพรวม โครงการที่ 1 เท่ากับ 4.5 = พึงพอใจมาก และโครงการที่ 2 เท่ากับ 4.4 = พึงพอใจมาก ตามลำดับ