รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

โพสต์23 ม.ค. 2565 07:10โดยadmin schoolpattaya2   [ อัปเดต 23 ม.ค. 2565 07:11 ]
รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย   นายสุชาติ วุฒิมานพ
          ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
ปีการศึกษา          ปีการศึกษา 2563
หน่วยงานต้นสังกัด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development  :  R&D)  วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 2) พัฒนารูปแบบการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 3) ทดลองใช้การใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 4) ประเมินและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย รวมจำนวน 252 คน ประกอบด้วย นักเรียน 98 คน ผู้ปกครอง 98 คน ครูจำนวน  42 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่  ฉบับที่ 1 แบบสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ฉบับที่ 4 แบบประเมินทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และ ฉบับที่ 6 แบบประเมินและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนา

        ผลการวิจัย พบว่า
        1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่าสภาพปัจจุบัน โดยรวม อยู่ในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 38.10 ความต้องการพัฒนา โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 78.57
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดังนี้
                2.1 ผลการพัฒนารูปแบบ มีโครงสร้าง 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 หลักการ (Principle) ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ (Objective) ส่วนที่ 3 สาระสำคัญ (Summary) ส่วนที่ 4 กระบวนการ (Process) และส่วนที่ 5 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ (Effectiveness Evaluation)  

                        2.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.79)
3.ผลการทดลองใช้การใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดังนี้
               3.1 ความพึงพอใจต่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66)
          3.2 ผลการประเมินทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.77)     
        4.ผลการประเมินและยืนยันประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดังนี้
                            
4.1 ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.85)
                     
4.2 ผลการประเมินและยืนยันประสิทธิผลรูปแบบ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.74)

       ข้อเสนอแนะ
           1.  ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น
           2. ควรสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ขยายสู่กลุ่มผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
           3. ควรพัฒนาฐานการเรียนรู้ เครือข่าย สื่อ สัญญาณและระบบสืบค้นข้อมูลออนไลน์ในโรงเรียนสำหรับส่งเสริมระบบการเรียนการสอนในสถานการณ์ปัจจุบัน