เผยแพร่ผลงานวิชาการ
รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
รูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ผู้วิจัย นายสุชาติ
วุฒิมานพ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2563 หน่วยงานต้นสังกัด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) วัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 2) พัฒนารูปแบบการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 3) ทดลองใช้การใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 4) ประเมินและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย รวมจำนวน 252 คน ประกอบด้วย นักเรียน 98 คน ผู้ปกครอง 98 คน ครูจำนวน 42 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ฉบับที่ 2 แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ฉบับที่ 4 แบบประเมินทักษะการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และ ฉบับที่ 6 แบบประเมินและยืนยันประสิทธิผลของรูปแบบของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 2.2
ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
(
3.ผลการทดลองใช้การใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดังนี้ 3.1 ความพึงพอใจต่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศ
สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 3.2 ผลการประเมินทักษะการใช้สารสนเทศ
สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.ผลการประเมินและยืนยันประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้สารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ดังนี้ 4.1 ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.2 ผลการประเมินและยืนยันประสิทธิผลรูปแบบ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( ข้อเสนอแนะ |
กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบลงมือกระทำ (Active learning) เพื่อพัฒนาพร้อมกระบวนการด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ดาวน์โหลดเอกสาร กิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบลงมือกระทำ (Active learning) เพื่อพัฒนาพร้อมกระบวนการด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ |
การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานศึกษา : การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อผู้ศึกษา : กชกร ปรีสงค์ หน่วยงาน : โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัด : สำนักการศึกษาเมืองพัทยา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีที่ศึกษา : 2561
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4)เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 5)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ...."ดาวน์โหลดอ่านรายละเอียดทั้งหมด"..... |
รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานศึกษา : รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อผู้ศึกษา :
กชกร ปรีสงค์ หน่วยงาน : โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัด : สำนักการศึกษาเมืองพัทยา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปีที่ศึกษา : 2561
บทคัดย่อ การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ...."ดาวน์โหลดอ่านรายละเอียดทั้งหมด"..... |
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้วิจัย สายใจ คุณบัวลา
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน หลังเรียนไม่ต่ำกว่าระดับดี และ 4) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมนำเสนอข้อมูล 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for dependent samples ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.02/83.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติงาน เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก ( =3.37, S.D.= 0.52)
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.58, S.D.= 0.55) |
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน |