สาระสำคัญของกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 2. ยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 3. การประกันคุณภาพการศึกษา ยังคงหมายถึงการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนว่าสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล 4. บทบาทของโรงเรียน 4.1 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา 4.2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4.3 ดำเนินการตามแผนที่กำหนด 4.4 จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 4.5 ติดตามผลการดำเนินการ 4.6 จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเป็นประจำทุกปี 5. บทบาทของหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา 5.1 ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา 5.2 จัดส่งรายงานของสถานศึกษาพร้อมประเด็นที่ต้องการ ให้มีการประเมินจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษาแห่งนั้น ได้แก่ สมศ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินคุณภาพภายนอก 5.3 ติดตามผลการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 6. บทบาทของ สมศ. 6.1 จัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.ดำเนินการประเมินและติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6.2 จัดส่งรายงานผลการประเมินและการติดตามตรวจสอบให้แก่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
|