อ้างอิงจาก : หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของ สสวท. 1. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี จุดประสงค์ของบทเรียน 4.1 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการเลือกใช้เทคโนโลยี เมื่อศึกษาย้อนไปในอดีตจะพบว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง รูปทรง กลไกการทำงาน วิธีการใช้งาน วัสดุ และวิธีการผลิต เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเกิดจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัญหา ความต้องการ ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น จนเกิดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นการเลือกใช้หรือการพัฒนาเทคโนโลยีต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี การจัดการปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม จากหัวข้อต่อไปนี้ 4.1.1 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย เทกลางแจ้ง เมื่อมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น จึงมีการนำขยะมูลฝอยไปกำจัดโดยการเทกองรวมกันไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อให้ขยะมูลฝอยเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ
ขยะมูลฝอยส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคจึงมีการนำขยะมูลฝอยมาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลักวิชาการ เช่น การปูพื้นบ่อขยะด้วยพลาสติกกันซึม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำหรือปนเปื้อนลงในดิน การวางท่อระบายแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ที่อยู่ในบ่อขยะ
หมักทำปุ๋ย ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ของเหลือจากการเกษตร)เพิ่มมากขึ้น พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบ จึงใช้ความรู้เรื่องการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยนำขยะอินทรีย์มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็นปุยเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน
เตาเผาในชุมชน เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอยแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
แต่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการผาไหม้มากขึ้น จึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็กสามารถจัดการขยะมูลฝอยปริมาณไม่มากได้เป็นอย่างดี
มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อนจากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดเป็นแนวคิด "เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน"
การเลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอย จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอย
จะพบว่าเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยมีหลายประเภท ซึ่งการกำจัดขยะมูลฝอยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอันดับแรก
และในการเลือกใช้เทคโนโลยีใดจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
4.1.2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ เป็นการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบหลัก มีลักษณะใกล้เคียงกับบึงในธรรมชาติ หลักการทำงาน สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้นหิน โดยได้รับออกชิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา
โรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณมากได้ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์มากขึ้น จึงมีการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้เครื่องเติมอากาศ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องเติมอากาศให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้รวดเร็วกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง เมื่อน้ำเสียมีปริมาณสารอินทรีย์สูงมากขึ้น ใช้เวลาในการบำบัดนาน จึงมีการเติมแบคทีเรียซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย พร้อมกับมีการเติมอากาศ ซึ่งเป็นการผสมให้น้ำเสียและจุลินทรีย์ที่อยู่ในถังเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ให้เร็วขึ้น
ใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียน้อยลง ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโดแอกกูเลชัน (Coagulation) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วไม่สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็ก (อนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-1 นาโนเมตร) จึงนำหลักการของกระบวนการโคแอกกูเลชันซึ่งเป็นกระบวนการประสานคอลลอยด์มาใช้ในการบำบัด โดยการเติมสารช่วยให้เกิดการตกตะกอน เช่น สารส้ม ลงไปในน้ำเสียทำให้สารแขวนลอยขนาดเล็กจับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน จนมีน้ำหนักมากและสามารถตกตะกอนลงมาได้อย่างรวดเร็ว
ในกรณีที่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดยังมีค่าสารอินทรีย์สูงต้องส่งไปบำบัดต่อด้วย 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น ระบบนำบัดน้ำเสียแบบการแลกเปลี่ยนประจุ โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งมีโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำเสีย จึงมีการพัฒนาระบบให้สามารถบำบัดโลหะหนักได้โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างโลหะหนัก ในน้ำเสียกับตัวกลางหรือเรซินโดยโลหะหนักจะแลกเปลี่ยนประจุกับเรซินแล้วถูกเรซินจับไว้ ทำให้น้ำเสียที่ผ่านระบบไม่มีสารปนเปื้อนของโลหะหนักเหลืออยู่
เกร็ดน่ารู้ ::> น้ำเสีย คือ น้ำที่มีสารใดๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่ต้องการปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้สมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย เช่น นำ้มัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ กระบวนการทำงาน (process)1. น้ำเสียไหลเข้าสู่บ่อเติมอากาศ 2. เติมออกซิเจนลงไปในน้ำด้วยเครื่องเติมอากาศ ทำให้เกิดการผสมของตะกอนจุลินทรีย์ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และน้ำเสีย 3. ส่งน้ำเสียจากบ่อเติมอากาศไปที่บ่อบ่มเพื่อตกตะกอน 4. ส่งน้ำที่แยกตะกอนจากบ่อบ่มไปที่บ่อเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ผลผลิต (ouput) |