เทศน์มหาชาติ

         การเทศน์มหาชาติ เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และ  วันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง

         วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย

ผู้แต่ง  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

            กวีสำนักวัดถนนกวีวัดสังขจาย(พระเทพโมลี (กลิ่น)

            (เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ลักษณะคำประพันธ์ ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้านจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา

            เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก เรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์

ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี

            ประเพณีงานบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ อันเป็นประเพณีอันเก่าแก่ที่มีเรื่องราวเล่าขาน และปฏิบัติสืบทอดมาแต่โบราณ ยังธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงามของชาวอีสาน อย่างเช่น จังหวัดร้อยเอ็ดหรือสาเกตนครอันยิ่งใหญ่ในอดีต ได้จัดงานบุญผะเหวดให้เป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดทุกๆ ปี