หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผล แบบสมรรถนะ แทนการท่องจำเนื้อหา เพียงเพื่อนำมาสอบ เดิม วัดผลจากการจำความรู้ แต่ฐานสมรรถนะ วัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน ที่นำมาใช้แทนที่หลักสูตรในปัจจุบัน ฐานคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) 1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) การเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ (Well-being) ทั้งในด้านสุขภาพ ความฉลาดรู้ สังคมและอารมณ์อย่างสมดุล รอบด้านและเป็นองค์รวม โดยยึดหลักความเสมอภาค 3. พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการสร้างประโยชน์ต่อสังคม 4. พัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาการ คำอธิบายแผนภาพ (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไว้ 5 ประการ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต นิยามและองค์ประกอบของ 5 สมรรถนะที่เด็กไทยควรมีในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ วัดผลจากสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ > คลิก 1. สมรรถนะการจัดการตนเอง 2. สมรรถนะการสื่อสาร 3. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม 4. สมรรถนะการคิดขั้นสูง และ 5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สมรรถนะทั้ง 5 ด้าน จะได้รับการพัฒนาผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area) 5 ด้าน เพื่อบูรณาการหัวข้อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสดงความสามารถผ่านมุมมองต่าง ๆ ได้แก่ 1. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต 2. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม 3. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ 4. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 5. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสังคมและความเป็นมนุษย์ ทั้งสมรรถนะและขอบข่ายการเรียนรู้ถูกออกแบบและพัฒนาบนรากฐานสุขภาวะ (WelL being Foundation) 4 ด้าน ซึ่งสถานศึกษาจะต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม และกลไกการบริหารสถานศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ 1. รากฐานด้านสุขภาพกายและจิต 2. รากฐานด้านสังคมและ อารมณ์ 3. รากฐานด้านความฉลาดรู้ (Literacy, Numeracy, Digital Literacy) 4. รากฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะและรากฐานสำคัญ ผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ มาตรฐานการศึกษาของชาติในรูปแบบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. การเป็นผู้เรียนรู้ 2. การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 3. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ในการศึกษาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ได้กำหนดระดับความสามารถของผู้เรียน ซึ่งเป็นพฤติกรรมเชิงคุณลักษณะ ส่วนบุคคลที่แสดงออกให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ รวมทั้งพฤติกรรมการทำงานในบทบาทและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ โดยได้แบ่งระดับความสามารถของผู้เรียนเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับเริ่มต้น ระดับกำลังพัฒนา ระดับสามารถ และระดับเหนือความคาดหวัง - มุ่งสู่การจัดการศึกษาบนฐานสมรรถนะสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผอ.สวก.สพฐ.) > คลิก - รวม link การศึกษาฐานสมรรถนะ โดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณีและคณะ ในการการประชุมปฏิบัติการพัฒนาศึกษานิเทศก์ภายใต้โครงการจัดทำแนวทางการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติไปปรับใช้กับการจัดการศึกษาในสถานศึกษานำร่องให้เหมาะสมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (ม.20(4)) วันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่ EP1 การศึกษาฐานสมรรถนะ > คลิก | โครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียน
ระดับประถมศึกษาตอนต้น
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โครงการวิจัยดังกล่าว มีผลงานที่เป็นผลผลิต รวมทั้งสิ้น 2 ชุดดังนี้
1. รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นสำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน > คลิก
2. เอกสารประกอบ จำนวน 12 เล่ม ได้แก่
เล่มที่ 1 ประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน > คลิก
เล่มที่ 2 กระบวนการกำหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-๓) และวรรณคดีเกี่ยวข้องกับสมรรถนะ > คลิก
เล่มที่ 3 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับหลักการสำคัญ ๖ ประการ > คลิก
เล่มที่ 4 กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-๓) > คลิก
เล่มที่ 5 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน > คลิก
เล่มที่ 6 คู่มือ การนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน > คลิก
เล่มที่ 7 ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนยุคใหม่ > คลิก
เล่มที่ 8 สื่อ สิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์โครงการ > คลิก
เล่มที่ 9 รายงานแนวคิด แนวทาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพันธกิจ สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ (Competency-Based Curriculum and Instruction) > คลิก
เล่มที่ 10 บทสรุปรายงานแนวคิด แนวทาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และพันธกิจสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ Competency-Based Curriculum and Instruction) > คลิก
เล่มที่ 11 เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา > คลิก ฉบับ e-Book > คลิก
เล่มที่ 12 การปฏิรูปเพื่อการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก > คลิก
เอกสาร / บทความ
![]() ![]() ![]() ![]() - สมรรถนะที่ 1 การคิดและการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ > คลิก - สมรรถนะที่ 2 สมรรถนะทางวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์ และการแสดงตัวตน > คลิก - สมรรถนะที่ 3 การดูแลตนเองและการจัดการชีวิตประจำวัน > คลิก - สมรรถนะที่ 4 ทักษะการสื่อสารรอบด้าน > คลิก เอกสาร / คู่มือการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพี้นฐานพุทธศักราช 2551
การประเมินสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 5 ด้าน 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตน เองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้ อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
@ เรียนรู้ฐานสมรรถนะ by Wiriya Eduzones > คลิก
@ Inskru -พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน > คลิก |