ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  ของครูธราภรณ์  เครือเมฆ

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

 1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน  23  ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาภาษาอังกฤษ   จำนวน  21     ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ลูกเสือ เนตรนารีจำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมนุม ภาษาอังกฤษจำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน   3  ชั่วโมง/สัปดาห์

      การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

      งานสำมะโนนักเรียน  จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

            กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

      การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน

ดำรงตำแหน่งครู ไม่มีวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)


ประเด็นท้าทาย  เรื่อง แก้ไขปัญหาทักษะการอ่านคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ทักษะการอ่าน เป็นทักษะที่สำคัญของผู้เรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทักษะที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียน  จากการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศรายวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลสวี

(บ้านนาโพธิ์) พบว่า  ผู้เรียนมีปัญหาในเรื่องของทักษะการอ่าน  โดยเฉพาะการอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษหรือข้อความต่างๆ ผู้เรียนยังขาดความเข้าใจในบทความหมายของคำศัพท์หรือเรื่องนั้นๆ และจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผู้เรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ทักษะที่เป็นปัญหามากที่สุดได้แก่ ทักษะการอ่าน เพราะผู้เรียนอ่านเนื้อหาไม่เข้าใจ ไม่สามารถวิเคราะห์และตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ ในสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะนำแบบฝึกหัดอ่านออกเขียนได้ 4 stepและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามมาตรฐานการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้น    

ฐานพุทธศักราช 2560

2.2 ออกแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมแบบฝึกอ่านออกเขียนได้ 4 step

2.3 ประเมินผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนเรียนเรื่องการอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ

2.4 ดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้

2.5ประเมินผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรื่องการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษและประเมินเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียนและวิเคราะห์สรุปผล 


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1  ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2ร้อยละ 80 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75

3.1.2 ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกอ่านออกเขียนได้ใน 4 step

3.2 เชิงคุณภาพ

         3.2.1 ผู้เรียนมีทักษะการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ เกิดความสุขในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง



การจัดการเรียนการสอนด้วยชุดแบบฝึก 4 step

ปัญหา คือ นักเรียนมีปัญหาในเรื่องของทักษะการอ่าน  โดยเฉพาะการอ่านออกเสียงคำศัพท์พื้นฐานภาษาอังกฤษ

การจัดการเรียนการสอนด้วยชุดแบบฝึก 4 step

แก้ปัญหาโดย  ใช้สื่อแบบฝึกหัดอ่านออกเขียนได้ 4 step ในการสอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความสนุก ตื่นเต้น และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

เอกสารหลักฐาน และ คลิปการจัดการเรียนรู้

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
ประจำปีงบประมาณ 2565

ข้อตกลงในการพัฒนางาน-pa-อังกฤษ-ธราภรณ์.pdf
681_ประกาศจำนวนชั่วโมง.pdf

ประกาศจำนวนชั่วโมง 


คลิปการจัดการเรียนรู้ วิชา ภาษาอังกฤษ