เป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน ปี 2554-2556

 

 

เป้าหมายยุทธศาสตร์ (เป้าหมายหลัก)

     สมาชิกของเครือข่ายกองทุนพี่ช่วยน้องและเพื่อน "ใฝ่ดี มีจิตสาธารณะ ใฝ่รู้ มีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิด และประกอบสัมมาชีพได้"

 

พื้นที่เป้าหมาย

     20 ชุมชน (หมู่บ้าน) 2 ตำบล อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ดังนี้

     ตำบลสุขเดือนห้า 14 ชุมชน (ทั้งตำบล)

     (1) บ้านหนองยางตก  (2) บ้านหนองยาง  (3) บ้านวังคาไห (4) บ้านหนองเด่น (5) บ้านวังคอไห (6) บ้านสุขเดือนห้า

(7) บ้านพุลำมะลอก (8)  บ้านบ่อม่วง (9) บ้านหนองปล้อง (10) บ้านห้วยสอง (11) บ้านเนินสูง  (12) บ้านห้วยคันไถ

(13) บ้านหนองโปร่ง และ (14) บ้านพุสมหวัง

     ตำบลกะบกเตี้ย (บางส่วน)

     (15) บ้านทุ่งโพธิ์ (หมู่ที่ 1)  (16) บ้านหนองกระดาน (หมู่ที่ 2)  (17) บ้านหนองลาด (หมู่ที่ 8)  (18) บ้านซับปลากระป๋อง

(หมู่ที่ 9)  (19) บ้านบุ่งฝาง (หมู่ที่ 10)  และ (20) บ้านหนองแกผักพฤกษ์ (หมู่ที่ 11)

ภาคีในการขับเคลื่อน "บวร" (บ้าน – วัด – โรงเรียน)

     ภาคีหลัก (บุคคล/องค์กรในพื้นที่)

     1. วัด 4 แห่ง  ได้แก่

     (1) วัดหนองยาง (2) วัดสุขเดือนห้า (3) วัดวังคอไห (4) วัดหนองกระดาน

     2. โรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่

     (1) โรงเรียนบ้านหนองยาง (2) โรงเรียนบ้านวังคอไห (3) โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์ (4) โรงเรียนบ้่านสุขเดือนห้า

     3. ผู้นำเยาวชนและผู้นำชุมชนใน 20 ชุมชน

     ภาคีหนุนเสริม (บุคคล/องค์กรภายนอกพื้นที่)

     1. มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน

     2. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท

     3. วิทยาลัยการอาชีพเนินขาม

ยุทธวิธี (แนวทางการดำเนินงาน)

     1. สำรวจ "1 อาชีพหลัก" และ "1 อาชีพในฝัน" ของชุมชน และสืบค้นผู้ที่ประสบความสำเร็จในสัมมาชีพเหล่านั้น

ในที่นี้เรียกว่า "ครูติดแผ่นดิน" เพราะควรเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องให้ถ่ายทอดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ

และใช้สถานที่ที่ "ครูติดแผ่นดิน" ประกอบอาชีพเป็น "แหล่งเรียนรู้ติดแผ่นดิน" ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญา

และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

     2. โรงเรียนจัดหลักสูตรท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับ "อาชีพหลัก" และ "อาชีพในฝัน" โดยเน้นการบูรณาการหลักคิดและหลักวิชาเข้ากับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษากับการเลี้ยงชีพ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์

และวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนคิดอย่างมีเหตุผล จึงคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ (มีปัญญา) ตัดสินใจศึกษาต่อได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการเสริมสร้าง "ภูมิคุ้มกัน" ให้แก่เด็กและเยาวชน พร้อมๆ กับการเสริมสร้าง "คุณค่า" ให้แก่โรงเรียน

     3. สืบค้นเยาวชนที่ "ใฝ่ดี" และมี "ความต้องการ" จะประกอบ "อาชีพหลัก" หรือ "อาชีพในฝัน" ในชุมชนของตนเอง จากนั้นหนุนเสริมเยาวชนเหล่านั้นให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพนั้น

     4. สืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นจัดทำ "สื่อสร้างสรรค์"

เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของเด็กและเยาวชน ตลอดจนความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนท้องถิ่น

     5. เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้นำชุมชน "ครูติดแผ่นดิน" ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งหนุนเสริม

การพัฒนาคุณภาพของ "แหล่งเรียนรู้ติดแผ่นดิน"

     6. จัดเวที "ลานบุญ ลานปัญญา" และ "ค่ายพี่ช่วยน้อง" เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความคิด ความรู้ ประสบการณ์

อีกทั้งมุ่งปรับเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ วิธีคิด วิธีให้คุณค่าของเด็ก เยาวชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

     7. เสริมสร้างการมีส่วนร่วม โดยประสานความร่วมมือกับบุคลากรและองค์กร ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ที่มีหลักปฏิบัติ

และเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น

29 พฤศจิกายน 2553

 

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง